10 ส.ค. 2022 เวลา 03:50 • ธุรกิจ
ทำไม Made in Germany ถึงการันตีคุณภาพ
ถ้าพูดถึงเยอรมนี เราจะนึกถึงอะไร ?
ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในยุโรป
เป็นประเทศที่มีสโมสรฟุตบอลชื่อดังมากมาย
เป็นประเทศที่ขึ้นชื่อเรื่องเบียร์และไส้กรอกรสชาติเยี่ยม
9
แต่รู้ไหมว่า อีกหนึ่งเรื่องที่เยอรมนีได้รับการยอมรับไปทั่วโลก คือเป็นประเทศที่ผลิตสินค้าและบริการคุณภาพเยี่ยม
เรียกได้ว่า พอเห็นคำว่า “Made in Germany” คนส่วนใหญ่ ก็แทบจะยกนิ้วโป้งให้
2
แล้วทำไม สินค้าจาก Made in Germany ถึงได้รับการยอมรับจากคนทั้งโลก
BrandCase จะสรุปเคสนี้ให้ฟัง แบบเข้าใจง่าย ๆ
- Leica แบรนด์กล้องและเลนส์กล้องระดับตำนาน
- Adidas ผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าและอุปกรณ์กีฬาชื่อดัง
- Mercedes-Benz และ BMW แบรนด์รถยนต์ระดับ Hi-class ที่หลายคนคุ้นเคย
- SAP ซอฟต์แวร์ชื่อดังที่ช่วยจัดการข้อมูลของธุรกิจ
2
นี่เป็นเพียงตัวอย่างของ Made in Germany ที่มีชื่อเสียงระดับโลกเท่านั้น
แต่รู้ไหมว่า ในอดีตนั้น สินค้าจากเยอรมนีไม่ได้รับการยอมรับมากเท่ากับในปัจจุบัน
เพราะถ้าย้อนกลับไปในช่วงสมัยศตวรรษที่ 19
ในปี 1876 มีการจัดงานแสดงสินค้าชื่อดังอย่าง World Expo ที่เมืองฟิลาเดลเฟีย รัฐเพนซิลเวเนีย สหรัฐอเมริกา
ในงานนั้น ก็มีสินค้าจากเยอรมนี ไปวางขายอยู่ด้วย
แต่ปรากฏว่า ผู้คนที่ซื้อสินค้าจากเยอรมนีไปใช้ บ่นเป็นเสียงเดียวกันว่า เป็นสินค้าที่ “Cheap and Bad” หรือก็คือ สินค้า “ราคาถูก คุณภาพแย่”
ที่เป็นแบบนี้เพราะว่า ในสมัยก่อนนั้น
ค่าจ้างแรงงานในประเทศเยอรมนีต่ำมาก ขณะที่การผลิตสินค้าส่วนใหญ่ จะใช้วิธีการลอกเลียนแบบสินค้าจากประเทศที่มีชื่อเสียงมาก อย่างเช่น อังกฤษ
2
เนื่องจากในตอนนั้น อังกฤษมีความก้าวหน้าในการผลิตสินค้ามาก จากการที่มีการปฏิวัติอุตสาหกรรมก่อนประเทศอื่น
2
เยอรมนีไม่เพียงแต่ลอกเลียนแบบเท่านั้น
แต่สินค้าจากเยอรมนี ยังถูกนำไปวางขายในอังกฤษ แล้วตั้งชื่อให้ดูเป็นอังกฤษ
เช่น บริษัทผู้ผลิตมีดและกรรไกร สัญชาติเยอรมันรายหนึ่ง ใช้คำว่า “Sheffield made” ซึ่ง Sheffield ก็คือเมืองหนึ่ง ในประเทศอังกฤษ
เรื่องนี้ สร้างความไม่พอใจให้กับบริษัทหลายแห่งในอังกฤษ ทำให้รัฐบาลในตอนนั้นต้องออกกฎหมายที่ชื่อว่า “Merchandise Marks Act” ในปี 1887
โดยระบุว่าสินค้าจากเยอรมนี ที่นําเข้ามาจําหน่ายในสหราชอาณาจักร จะต้องประทับตราสัญลักษณ์ Made in Germany ให้เห็นอย่างชัดเจน
แต่เรื่องนี้กลับกลายเป็นส่งผลดีในระยะยาว ของสินค้าที่มาจากเยอรมนี
เพราะหลังจากนั้น เยอรมนีก็ค่อย ๆ ให้ความสำคัญ กับการสร้างบุคลากรในภาคการผลิตให้มีคุณภาพ ตั้งแต่ระดับช่างฝีมือ ไปจนถึงระดับผู้บริหาร
7
รัฐบาลมีการลงทุนในด้านการศึกษา และองค์ความรู้ต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นให้คนเยอรมันนำไปต่อยอด เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ
2
ผสมผสานกับการที่รัฐบาล สนับสนุนเม็ดเงินให้แก่งานวิจัย ให้แก่ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา เพื่อต่อยอดนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้นเรื่อย ๆ
1
โดยเฉพาะหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่เยอรมนีหันมาพัฒนาการศึกษา และการวิจัยมากยิ่งขึ้น สถาบันการศึกษาชั้นสูง
2
เช่น มหาวิทยาลัยที่เน้นภาคปฏิบัติ หรือ University of Applied Sciences ซึ่งในภาษาเยอรมันเรียกกันว่า “Fachhochschule”
4
Fachhochschule เป็นสถาบันการศึกษาที่มุ่งเน้นการสอน และการศึกษาในระดับวิชาชีพ หรือในประเทศไทยจะคุ้นเคยกับคำว่า สายอาชีพ หรือ อาชีวศึกษา
1
โดยจะมีการพัฒนาระบบการศึกษา ผ่านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม กับภาคอุตสาหกรรมของเอกชนอย่างใกล้ชิด
เพื่อให้มั่นใจว่าการเรียนที่เน้นการปฏิบัติ และการลงมือทำจริง ๆ ผ่าน Fachhochschule จะสามารถพัฒนาแรงงานในสายวิชาชีพนั้น ให้ตรงกับตลาดแรงงานได้
เช่น คนเยอรมันที่สนใจเรื่องกลไกเครื่องจักร หรือวิศวกรรมศาสตร์ ก็สามารถเลือกเรียนสายอาชีพได้เลย แล้วก็มีโอกาสได้ทำงานจริง ๆ เพื่อเรียนรู้งานกับบริษัทชื่อดัง
จึงไม่แปลกที่เราจะเห็น รถยนต์สัญชาติเยอรมัน สร้างขึ้นโดยวิศวกรมืออาชีพระดับสูง ซึ่งเรียนเกี่ยวกับเครื่องยนต์ และกลไกต่าง ๆ จากสายอาชีพ มาตั้งแต่ก่อนเข้ามหาวิทยาลัย
อีกประเด็นที่น่าสนใจคือ รัฐบาลของเยอรมนี ให้ความสําคัญกับเรื่องการวิจัยมาก
3
รู้ไหมว่า ในปี 1996 งบประมาณในการวิจัยต่อ GDP ของเยอรมนี อยู่ที่ 2.14% คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1.9 ล้านล้านบาท
2
ขณะที่ปี 2020 งบประมาณส่วนนี้ เพิ่มมาอยู่ที่ 3.14% คิดเป็นมูลค่าประมาณ 4.4 ล้านล้านบาท
1
ซึ่งสัดส่วนนี้ ถือว่าสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก เลยทีเดียว
สรุปแล้ว
- ความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาและภาคเอกชน
- การให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ที่เกิดจากการปฏิบัติจริง
- การลงทุนในด้านการวิจัยอย่างเข้มข้น
2
ทําให้เยอรมนีเป็นประเทศที่สามารถคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้เสมอมา
และสิ่งเหล่านั้นก็มีความโดดเด่นเรื่องคุณภาพขั้นสุดยอด
จนทำให้ “Made in Germany”
กลายเป็นคำการันตีคุณภาพของสินค้าและบริการ ที่ได้รับการยอมรับ จากทั่วโลก..
1
โฆษณา