10 ส.ค. 2022 เวลา 07:05 • ความคิดเห็น
เวลาเล่าเรื่องงานวิจัยของตัวเองให้คนอื่นฟังทำอย่างไรบ้าง
ความสัมพันธ์ระหว่างผู้พูดและผู้ฟัง
อันดับแรก ผู้ฟังคือใคร หากเป็นบุคคลทั่วไปที่ไม่มีความรู้เฉพาะทางก็จะต้องใช้ภาษาที่ง่าย ยกตัวอย่างให้ใกล้ตัวกับผู้ฟังมากที่สุด แต่ว่าอยู่ในกลุ่มเฉพาะทางเดียวกับเรา
เราก็สามารถที่จะใช้คำและเนื้อหาเฉพาะทางได้
จากตอนที่แล้วเราได้คุยกันถึงเรื่องออกแบบสื่อเพื่อจะสื่อสารกับคนในวัยต่างๆโดยที่เราเน้นไปที่กลุ่มผู้ใหญ่ในการกำหนดเป้าหมายในการพิจารณากลุ่มเป้าหมายการเลือกประเภทสื่อและการปรับความซับซ้อนของเนื้อหาเพื่อที่จะให้เหมาะกับกลุ่มเป้าหมายด้วย
เมื่อเราพูดถึงกลุ่มผู้ใหญ่ก็มีผู้ใหญ่หลายรุ่นก็แล้วแต่ว่าผู้ฟังนะเนี่ยเกิดในช่วงปีไหน
ภาระและธรรมชาติการเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็น ผู้ใหญ่ตอนต้น ผู้ใหญ่ตอนกลาง ผู้สูงอายุ
ธรรมชาติการเรียนรู้ของผู้ใหญ่เนี่ยก็ถือว่าแตกต่างจากการเรียนรู้ของเด็กโดยสิ้นเชิงดังนั้นเราต้องดึงความแตกต่างและสิ่งที่ผู้ใหญ่มีมากกว่าเด็กนะมาใช้ประกอบเพื่อให้การเรียนรู้ของผู้ใหญ่มีความสมบูรณ์และเหมาะกับช่วงวัย
อุปสรรคในการเรียนรู้ของผู้ใหญ่7 ข้อหลักๆประสบการณ์เดิมที่เป็นกรอบทำให้ได้เรียนรู้สิ่งใหม่การขาดความเชื่อมั่นในตนเองบางครั้งอาจจะคิดว่าฉันโตแล้วสมองไม่ไวเหมือนตอนเด็กๆขาดแรงจูงใจในการเรียนครับ
เพราะคิดว่าการเรียนเป็นเรื่องของการสอบหรือโรงเรียนมหาวิทยาลัยเท่านั้น แต่ปัจจุบันนี้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต การเรียนรู้ไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นในห้องเรียนอย่างเดียว
นอกจากนั้นก็อาจจะเป็นการกลัวต่อการเปลี่ยนแปลงว่ากลัวว่าจะต้องมาเปลี่ยนความคิดเปลี่ยนคติอะไรหลายๆอย่าง กลัวต่อการล้มเหลวครับก็คล้ายๆกับการขาดความเชื่อมั่นในตัวเองว่าเรียนไปแล้วคิดว่าทำได้แต่ว่าถ้าเกิดทำไม่ได้แล้วจะเรียนต่อไปไหมหรือว่าจะยกเลิกไปเลยดี
ประการที่6 ก็คือเชื่อว่าผู้ใหญ่ไม่สามารถเรียนได้
ก็คือติดว่าการเรียนมันเลยวัยแล้วไม่ได้อยู่ในมหาวิทยาลัยแล้วไม่อยู่ในโรงเรียนแล้วคงไม่สามารถกลับไปเรียนได้แล้ว
ข้อที่ ก็คือขาดความสนใจอาจจะสนใจในเรื่องอื่นเห็นภาระและบทบาทในการรับผิดชอบของตัวเองสำคัญมากกว่าแล้วยังไม่สามารถจัดเวลาในการเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่ครับ
ช่วยผู้ใหญ่เปิดใจและเรียนรู้ได้อย่างไรคือการให้ความไว้วางใจและการนับถือยกย่องจากผู้เรียนครับเพราะว่าในสังคมไทยก็ยังเป็นสังคมที่เคารพอาวุโสผู้ใหญ่เองก็มีความรู้มีทักษะในแบบของเขาครับ
ดังนั้นเราจะไม่สามารถมาทำตัวเหมือนครูที่สอนหนังสือนักเรียนได้อีกต่อ แต่เป็นในเชิงว่าผู้ใหญ่ก็สามารถรับผิดชอบดูแลบางอย่างได้สิ่งที่ผู้ใหญ่รู้ก็ไม่ใช่เรื่องที่ผิดก็ให้เกียรติแก่ผู้เรียน
ประการที่สองก็คือมีความจริงใจต่อผู้เรียนค่ะศึกษาความห่วงใยความเข้าใจแก่กันเข้าไปหานะความเคารพผู้ใหญ่เองก็จะรักความห่วงใยที่เราส่งให้ และจะเปิดใจให้ครับ
ประการสุดท้ายคือการให้ความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจผู้เรียนได้มันไม่ใช่การสื่อสารทางเดียวแน่นอนผู้ใหญ่ก็มีความรู้ประสบการณ์อย่างที่อยากจะพูดในขณะที่เรียนเราก็ต้องเข้าใจ
หลายๆครั้งท่านก็มีอุปสรรคในการเรียนรู้เช่นสภาพทางกายภาพอาจจะไม่คล่องแคล่วว่องไวอาจจะมองเห็นไม่ชัดอาจจะหูไม่ค่อยได้ยินหรืออาจจะไม่ถนัดวิทยาศาสตร์เลยเราก็ต้องเข้าใจความแตกต่างตรงนี้เพื่อประโยชน์ให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจในสิ่งที่เราต้องการศึกษาได้ง่ายๆเลยครับ
ประกอบกับธรรมชาติการเรียนรู้ของผู้ใหญ่เราจำเป็นที่จะต้องปรับมโนทัศน์ของผู้เรียนที่เป็นผู้ใหญ่ครับผู้รับสารที่เป็นผู้ใหญ่ให้เปิดใจและเรียนรู้และรับฟังเราได้ง่ายยิ่งขึ้น
ไม่ว่าจะเป็นใช้บรรยากาศการเรียนรู้ที่เหมาะสมประชาสัมพันธ์ใช้กิจกรรมการเรียนรู้และสถานที่ที่ดึงดูดใจเมื่อบรรยากาศดีใจก็จะเปิดออกครับ
มีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆเช่นถ้าเกิดว่าผู้ที่เราต้องการสื่อสารด้วยท่านอาจจะไม่ได้ยินเราอาจจะต้องออกเสียงให้ชัดขึ้นพูดให้ช้าลงพยายามเลือกคำง่ายๆเชื่อมโยงกับประสบการณ์ที่ท่านมี
สิ่งอำนวยความสะดวกเหล่านี้ในจะช่วยให้ผู้ฟังของเรายังไม่รู้สึกว่าด้อยความสามารถหรือสูญเสียความเป็นตัวเองครับ
นอกจากนั้นเราต้องวิเคราะห์ความต้องการของกลุ่มเป้าหมายที่เราต้องการจะสื่อสารด้วยว่า
สิ่งที่เขาต้องการจะเรียนรู้กับสิ่งที่เราต้องการจะสื่อสารไปในทิศทางเดียวกันหรือไม่ อย่าลืมว่าในการสอนเราไม่ใช่ผู้ชี้นำผู้เรียนในการสื่อสารกับผู้ใหญ่ เราเป็นผู้ที่สนับสนุนในเชิงข้อมูลและอุปกรณ์ต่างๆครับ
ดังนั้นผู้ที่สื่อสารและผู้รับสารก็จะต้องร่วมมือกันจะต้องมีการวางแผนและแบ่งปันไอเดียต่างๆแบ่งปันความคิดเห็นต่างๆร่วมกันเพื่อให้การสื่อสารเป็นไปได้อย่างราบรื่นครับ
และสุดท้ายค่ะอย่าลืมประเมินผลก่อนและหลังการสื่อสารนั้นๆ การเรียนรู้สิ่งใหม่ย่อมจะต้องสร้างความแตกต่างในตัวผู้รับสาร ดังนั้นถ้าเราได้ประเมินเราก็จะสามารถรู้ว่า ผู้ฟังของเรารับรู้อะไรมากขึ้นและสิ่งไหนที่ยังขาดอยู่
เหตุการณ์ในแต่ละยุค ทำให้ผู้ฟังที่เกิดในยุคนั้นแตกต่างกัน ในยุคไซเรนและเบบี้บูมเมอร์ มีความเคร่งครัดระเบียบแบบแผนมีกฎเกณฑ์ต่างๆดังนั้นเองเราต้องเข้าใจว่าผู้ฟังในกลุ่มนี้ก็อาจจะไม่ค่อยยอมเปลี่ยนแปลงเท่าไหร่และจำเป็นที่จะต้องหาข้อมูลที่เชื่อถือได้หนักแน่นมา
ในยุคต่อมา Generation x และGeneration Y ยืดหยุ่นมากขึ้น
โดยที่Generation x ตรงข้ามกับยุคก่อนหน้านั้นเลยครับคือไม่ชอบแบบแผนชอบความรู้ชอบความรวดเร็วชอบอิสระดังนั้นเองสิ่งที่จะเข้าถึงคนกลุ่มนี้ได้แต่ต้องไม่ซับซ้อนครับโดยเฉพาะเรื่องเทคโนโลยีเข้าใจง่ายๆเลยครับ
ส่วน Generation Y ก็มีความเป็นมิตร เข้ากับพ่อแม่ได้เข้าสังคมได้ ดังนั้นก็จะเปิดใจได้ง่ายแต่ความท้าทายก็คือเป็นคนเบื่อง่ายด้วย ดังนั้นก็อาจจะต้องมีรูปแบบการสื่อสารที่หลากหลายตื่นเต้นดึงดูดความสนใจ
ส่วน2 รุ่นสุดท้ายค่ะGeneration Z ก็คือผู้ที่เกิดในช่วงปี2540 ก็เป็นผู้ที่เกิดมาพร้อมเทคโนโลยี ต้องการความชัดเจนในการทำงานแต่ก็จะมีลักษณะมีความเป็นเอกเทศค่ะชอบปลีกตัว ไม่ชอบเรื่องที่ซับซ้อน ดังนั้นหลายๆเรื่อง ก็อาจจะต้องปรับเนื้อหาให้เหมาะสมครับ
และคนกลุ่มสุดท้ายก็คือ Generation C ก็คือเป็นกลุ่มคนที่ออนไลน์ตลอดเวลา ชอบการติดต่อสื่อสาร ซึ่งก็ไม่ได้ขึ้นอยู่ว่าต้องเกิดในช่วงปีไหนแต่ว่าเป็นคนที่ใช้เทคโนโลยีเป็นครับ
หลายๆครั้งก็จะแชร์เร็วเกินไปโดยที่ไม่ได้ทบทวนหรือตรวจสอบความถูกต้องก่อนครับคนเหล่านี้ก็จะเป็นกำลังสำคัญในการใช้เส้นทางสื่อสารทางอินเตอร์เน็ตเพื่อจะส่งต่อความเข้าใจที่ถูกต้องไปสู่สังคมครับ
จบไปแล้วกับการพิจารณากลุ่มผู้ฟังในรุ่นต่างๆมันมีความหลากหลายและน่าสนใจมากๆเลย
ก็หวังว่าทุกท่านก็จะได้ข้อคิดบางอย่างค่ะเริ่มสังเกตคนรอบตัวเขามีลักษณะอย่างนั้นอย่างนี้เพื่อปรับกลยุทธ์ในการสื่อสารให้เหมาะสมมากยิ่งขึ้นครับ
โฆษณา