14 ก.ย. 2022 เวลา 04:42 • ปรัชญา
อย่าดูแต่วันที่เขามี ดูวันที่เขาสร้าง
หลายคนมองคนที่ร่ำรวย ประสบความสำเร็จแล้วรู้สึกอิจฉา และนึกฝันว่าอยากอยู่ในตำแหน่งนั้น ชีวิตคงสบาย อยากทำอะไรก็ทำ อยากมีอะไรก็มี ไม่ลำบาก ไม่เหนื่อย มีชีวิตสบายๆที่น่าหลงใหล
แต่อย่าลืมว่า คนที่ประสบความสำเร็จเหล่านี้ เขาได้ผ่านอะไรมาบ้าง และเขาผ่านสมรภูมิชีวิตมามากแค่ไหนกว่าจะมาถึงจุดๆนี้ ไม่มีอะไรได้มาง่ายๆ
ไม่มีอะไรได้มาง่ายๆ
Elon Musk เจ้าของ Tesla และ Space X เศรษฐีตัวท๊อปของโลก ทำงานสัปดาห์ละ 80-100 ชั่วโมง ถ้าคิดว่าทำงานทุกวัน เจ็ดวัน เขาทำงานถึงวันละ 12-15 ชั่วโมง เขายอมเสียสละเวลาส่วนตัว ความบันเทิง เพื่อเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่
แจ็ค หม่า ผู้ก่อตั้ง Alibaba เศรษฐีอีกคนของโลก ถูกปฏิเสธจากการเข้ามหาวิทยาลัยและถูกปฏิเสธการสมัครงานถึง 30 ครั้ง จากอาชีพครูสู่นักบริหารระดับโลก เขาต่อสู้กับคำสบประมาทมากมาย และโอกาสที่ไม่เคยได้
คริสเตียนโน่ โรนัลโด้ นักฟุตบอลชื่อดังได้ค่าเหนื่อยจากการลงเตะสัปดาห์ละ 500,000 ปอนด์ หรือประมาณ 22ล้านบาทต่อสัปดาห์ แต่เขาเข้าสนามซ้อมตลอดเวลา ฝึกฝนร่างกายอย่างหนัก มีวินัยในการใช้ชีวิตอย่างมากจั้งแต่เริ่มอาชีพนี้ตอนยังเด็กๆ
บารัก โอบามา อดีตประธานาธิบดีผิวสีของสหรัฐอเมริกา มีชีวิตวัยเด็กที่แสนลำบาก ถูกเลี้ยงดูมาด้วยแม่คนเดียว ไม่มีเงินจ่ายแม้กระทั่งค่าดำรงชีพพื้นฐาน
โทมัส อันวา เอดิสัน ผู้ผลิตหลอดไฟฟ้าและเปลี่ยนชีวิตของคนทั่วโลก เคยล้มเหลวจากการทดสอบมาถึง 1,000 ครั้ง แต่ความล้มเหลวไม่เคยหยุดเขาได้ และครั้งที่ 1001 เขาสามารถคิดค้นหลอดไฟได้
J.K. Rowling แม่บ้านผู้เขียนเรื่อง Harry Potter ที่โด่งดังไปทั่วโลก เขาเผชิญกับจุดที่ต่ำสุดของชีวิต ไม่มีเงิน หย่าและเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว อีกทั้งเรื่องราวที่เขียนถูกปฏิเสธจากหลายสำนักพิมพ์มาก่อนที่จะประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่
ถ้าเรามองแค่จุดที่เขายืนตอนนี้แล้วอิจฉาหรือหวังว่าตัวเองจะยืนอยู่บนจุดนั้นบ้าง เราก็จะเป็นแค่คนอีกหนึ่งคนที่ฝันกลางวัน แต่ถ้าลองมองเส้นทางชีวิตของพวกเขาและเรียนรู้ นำมาเป็นแรงบันดาลใจ ยอมเสียสละบางอย่างเพื่อเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่กว่า โอกาสที่เราจะไปถึงจุดนั้นบ้างก็ใช่ว่าจะไม่มี
สิ่งที่มีเหมือนกันของคนที่ประสบความสำเร็จ คือ “ความเป็นนักสู้”
ความล้มเหลว ไม่ใช่สิ่งที่ขัดขวางหรือดึงเขา แต่เป็นแรงผลักดันให้เขาสู้หนักขึ้น
ทุกครั้งที่พวกเขาล้ม เขาจะลุกและวิ่งต่อไป
ถ้าเขายอมแพ้ใน “วันนั้น” ก็ไม่มีเขาคนนี้ใน “วันนี้”
โฆษณา