19 ส.ค. 2022 เวลา 01:05 • หุ้น & เศรษฐกิจ
แชร์วิธีการบริหารจัดการเงินของอาชีพ
Full-Time Trader ด้วยแอป MAKE by KBank
เนยคิดว่าเรื่องการใช้เงินเป็นอะไรที่สำคัญมากๆ
สำหรับอาชีพที่มีรายได้ไม่แน่นอนค่ะ
การที่เทรดหุ้นบ่อยๆ มันจะมาความเสี่ยงที่มากขึ้นตามไปด้วย
เลยต้องพยายามวางแผนบริหารจัดการเงินของตัวเองให้ดี
และต้องหาตัวช่วยดีๆ ที่ทำให้เราทำตามเป้าหมายได้สำเร็จค่ะ
ตัวช่วยจัดการเงินที่เนยใช้ก็คือ MAKE by KBank
สิ่งที่อยากจะมาแชร์ในวันนี้ เป็นสิ่งที่เนยใช้วางแผนการเงินของตัวเอง
เผื่อว่าจะเป็นไอเดียให้กับคนที่สนใจนะคะ ไม่ต้องเป๊ะตามนี้ค่ะ
ลองปรับให้เข้ากับตัวเรา เพราะแต่ละคนมีเงื่อนไขทางการเงิน, ค่าใช้จ่าย และมีเป้าหมายที่ต่างกัน
1. แบ่งบัญชีตามเป้าหมาย
เนยใช้ฟีเจอร์ Cloud Pocket สร้างกระเป๋าย่อย เพื่อแยกเงินในบัญชีเดียวกันเก็บไว้เป็นส่วนๆ ค่ะ หลักๆ จะแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ ค่าใช้จ่าย, พอร์ตลงทุน และเงินออม
- ค่าใช้จ่าย
เมื่อก่อนเนยจะเอามารวมไว้ในกระเป๋าย่อยอันเดียว ที่ชื่อว่า เงินเดือน
แล้วค่อยมาย้อนดูว่า อันไหนเป็นค่าใช้จ่ายที่จำเป็น อันไหนเป็นค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือย
หรือบางทีถ้าเดือนนั้นเหลือเงิน ก็จะเอาไปเติมพอร์ตลงทุนต่อค่ะ
(เดี๋ยวเรื่องค่าใช้จ่ายจะอธิบายต่อในหัวข้อที่ 2 นะคะ)
- พอร์ตลงทุน
ส่วนตัวเนยมีพอร์ตหุ้นอยู่ 3 พอร์ตคือ
พอร์ตระยะสั้น, พอร์ตระยะกลาง และพอร์ตระยะยาว
ซึ่งตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะไม่ถอนเงินออกจากพอร์ตระยะยาวเด็ดขาด
จะรอรับเงินปันผลอย่างเดียว
ก็เลยสร้างกระเป๋าย่อยไว้แค่ 2 อันสำหรับถอนเงินออกมาค่ะ
ชื่อว่า พอร์ตระยะสั้นและพอร์ตระยะกลาง
พอได้กำไรจากการเทรดหุ้นระยะสั้น
เนยก็ถอนออกมาใส่กระเป๋าที่ชื่อว่าพอร์ตระยะสั้นไว้ แล้วค่อยแบ่งตามสัดส่วน
พอได้กำไรจากการเทรดหุ้นระยะสั้น
เนยก็ถอนออกมาใส่กระเป๋าที่ชื่อว่าพอร์ตระยะสั้นไว้
แล้วค่อยแบ่งตามสัดส่วน
บางคนอ่านมาถึงตรงนี้อาจจะงง
ว่าทำไมต้องเอากำไรหุ้นมาแบ่งเป็นสัดส่วน
ก็เพราะเนยทำอาชีพเทรดเดอร์ค่ะ
กำไรที่ได้มันเป็นเหมือนรายได้ของเรา
ถ้าจะเปรียบเทียบเห็นภาพก็คือ เหมือนเราได้เงินเดือนมาก้อนนึง
เราก็เอามาพักไว้ก่อน แล้วค่อยแบ่งสัดส่วนว่าจะเอาไปใช้จ่ายอะไรบ้างค่ะ
พอได้กำไรจากการเทรดหุ้นระยะกลาง
เนยก็ถอนออกมาใส่กระเป๋าที่ชื่อว่าพอร์ตระยะกลางไว้
แล้วค่อยๆ สะสมไปเรื่อยๆ เพื่อรอถอนออกไปซื้อหุ้นที่จะถือระยะยาว
- เงินออม
เนยสร้างกระเป๋าย่อยไว้ 2 อันค่ะชื่อว่า เงินเผื่อฉุกเฉินกับประกันชีวิต
ซึ่งเงินส่วนนี้เนยหักออกมาจากรายได้พิเศษของตัวเองค่ะ
ในยุคแบบนี้ การหารายได้ทางเดียวมันไม่พอจริงๆ
เลยพยายามเอาความสามารถที่ตัวเองมี ไปเปลี่ยนเป็นมูลค่าค่ะ
(เดี๋ยวเรื่องเงินออมจะอธิบายต่อในหัวข้อที่ 3 นะคะ)
2. วางแผนควบคุมรายจ่ายให้ดี
เมื่อกี้เนยบอกว่า ค่าใช้จ่ายเนยจะเอามารวมไว้ในกระเป๋าย่อยอันเดียว
แล้วค่อยมาแยกใช่มั้ยคะ
ตอนนี้ไม่ต้องทำแบบนั้นแล้วค่ะ
เพราะมีฟีเจอร์ใหม่ที่ชื่อว่า Expense Summary
ที่จะสรุปและแยกสัดส่วนค่าใช้จ่ายของเราให้อัตโนมัติเลย
แถมกดซ่อนรายการที่เราไม่อยากเอามารวมได้ค่ะ
อย่างเช่นเดือนนี้ เนยไม่ได้ออกไปไหน
เงินเดือนเหลือก็เอาไปเติมพอร์ตลงทุนค่ะ
แต่เนยอยากจะรู้ว่าในเดือนนี้เราใช้จ่ายจริงๆ ที่ไม่รวมลงทุนไปเท่าไหร่
ก็แค่กดซ่อนรายการ ระบบก็จะโชว์ตัวเลขค่าใช้จ่ายเฉพาะที่เราเลือกออกมา
จากนั้นก็ค่อยมาดูว่าค่าใช้จ่ายจำเป็นและค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยมีอะไรบ้าง
เราสามารถลดตรงไหนได้มั้ย โดยเฉพาะการลดค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยลง
พอเรารู้ตัวเลขที่แน่นอนแล้ว ครั้งหน้าได้เงินเดือนมา ก็หักเงินออมหรือเงินลงทุนออกไปก่อน
แล้วเหลือเฉพาะเงินที่เอาไว้เป็นค่าใช้จ่ายของเรา
การออมก่อนใช้แบบนี้ จะทำให้เรามีวินัยในการออมการลงทุนมากขึ้นค่ะ
3. มีเงินออมสำรองไว้เผื่อฉุกเฉิน
เนยได้ไอเดียมาจากเว็บของตลาดหลักทรัพย์ฯ ค่ะ
เงินฉุกเฉินของแต่ละคนอาจจะมีไม่เท่ากันนะคะ ลองเช็คเงื่อนไขได้เลยค่ะ
สำหรับใครที่เก็บเงินออมไว้ในแอป MAKE by KBank
จะได้ดอกเบี้ยสูงสุด 1.5%* เลยค่ะ
ถ้าวงเงิน ไม่เกิน 100,000 บาท เราจะได้ดอกเบี้ยเงินฝาก 1.50% ต่อปี
ส่วนที่เกิน 100,000 บาทขึ้นไป จะได้ดอกเบี้ยเงินฝาก 0.50% ต่อปีนะคะ
4. ทบทวนการใช้เงินของเราทุก 6 เดือนหรือ 1 ปี
ส่วนนี้สำคัญมากๆ เลยค่ะ พอเวลาผ่านไป เป้าหมายเราอาจจะเปลี่ยน
หรือเราอาจจะมีรายได้/รายจ่ายที่เปลี่ยนแปลง
ก็เลยอยากจะให้ปรับแผนการจัดการเงินให้เข้ากับตัวเรามากที่สุด
โดยที่ไม่กดดันและไม่หละหลวมจนเกินไปค่ะ
สำหรับใครที่จำไม่ได้ว่า เรามีรายได้หรือรายจ่ายอะไรบ้าง
ก็ไม่ต้องกังวลไปนะคะ
เพราะ มีฟีเจอร์ Chat Banking
ที่บันทึกประวัติรายการการทำธุรกรรมในรูปแบบแชท (Chat)
เวลาที่เราโอนเงิน ก็สามารถเขียนรายละเอียดเป็นข้อความพร้อมกับแนบรูปภาพ
เพื่อให้ง่ายต่อการย้อนดูภายหลัง ไม่ต้องเซฟแล้วกลับไปหาให้วุ่นวาย
หรือเวลาที่ใครโอนมา ก็จะขึ้นมาในแชทระหว่างเรากับเพื่อน จะย้อนดูเมื่อไหร่ก็ได้ค่ะ
สำหรับใครที่อยากมีตัวช่วยดีๆ แบบนี้ก็ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน MAKE by KBank
โดยใช้แอป K PLUS ในการยืนยันตัวตนได้เลยค่ะ
ดาวน์โหลด MAKE by KBank จาก Link : https://kbank.co/3vElV4c
หรือจะพิมพ์ว่า MAKE by KBank ใน Play Store/ App Store ก็ได้เหมือนกันค่ะ
โฆษณา