17 ส.ค. 2022 เวลา 04:45 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
เซลลูโลสจากแบคทีเรียที่ถูกเสริมแรงด้วยหางน้ำยางและน้ำยางธรรมชาติสดเพื่อปรับปรุงสมบัติเชิงกล เคมีและไดอิเล็กทริก
ในปัจจุบันการนำไบโอพอลิเมอร์มาใช้ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากความใส่ใจในสิ่งแวดล้อมที่มากขึ้น ดังนั้นความต้องการใช้งานพอลิเมอร์จากธรรมชาติมาใช้แทนพอลิเมอร์จากซากฟอสซิลหรือน้ำมัน
ซึ่งไบโอพอลิเมอร์จากเซลลูโลส ที่ได้มาจากแบคทีเรีย ได้นำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย แต่เซลลูโลสจากแบคทีเรียยังมีข้อจำกัดในด้านสมบัติการดึงยืด ทางทีมวิจัย RTEC ได้ศึกษาและวิจัยเรื่อง เซลลูโลสจากแบคทีเรียที่ถูกเสริมแรงด้วยหางน้ำยางและน้ำยางธรรมชาติสดเพื่อปรับปรุงสมบัติเชิงกล เคมีและไดอิเล็กทริก เพื่อพัฒนาสมบัติดังกล่าว แผ่นฟิล์มที่พัฒนาขึ้นสามารถไปใช้ประโยชน์ในด้านอิเล็กทรอนิกส์ได้
งานวิจัยนี้เป็นความร่วมมือกันระหว่าง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย National Taiwan University ประเทศไต้หวัน และศูนย์วิจัยเทคโนโลยียาง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดย ดร. อดุลย์ นิ่มไพบูลย์
ผลการวิจัยพบว่า สมบัติเชิงกลของแผ่นฟิล์มเซลลูโลสจากแบคทีเรียเพิ่มขึ้นเมื่อเสริมแรงด้วยหางน้ำยางและน้ำยางสด แผ่นฟิล์มที่ได้สามารถย่อยสลายได้ 50% -100% ภายใน 4-6 สัปดาห์ นอกจากนั้นยังพบสมบัติที่น่าสนใจ เมื่อแผ่นฟิล์มเซลลูโลสจากแบคทีเรียถูกเสริมแรงด้วยหางน้ำยาง ค่า dielectric constant และ dielectric loss เพิ่มขึ้น โดยสมบัติที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถนำแผ่นฟิล์มเซลลูโลสจากแบคทีเรียที่ถูกเสริมแรงด้วยหางน้ำยางไปใช้ประโยชน์ในด้านอิเล็กทรอนิกส์ได้
โฆษณา