18 ส.ค. 2022 เวลา 01:46 • สุขภาพ
ผู้ติดเชื้อสายพันธุ์ BA.2.75 ในไทยพบแล้ว ความรุนแรงการแพร่เร็ว
พบในประเทศไทยแล้ว! กับผู้ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ BA.2.75 เชื้อสายพันธุ์ที่มีแนวโน้มในการติดเชื้อและแพร่กระจายเร็วมากกว่าเชื้อสายพันธุ์อื่นๆที่เคยพบถึง 200%
อีกทั้งการพัฒนาของเชื้อสายพันธุ์ BA.2.75 นี้มีแนวโน้มที่จะจับกับตัวรับของร่างกายอย่าง Angiotensin-Converting Enzyme 2 (ACE2) ได้มากกว่าเชื้อสายพันธุ์ BA.5 และ BA.5 ที่เคยเกิดขึ้น และอาจก่อให้เกิดภาวะเชื้อดื้อต่อภูมิคุ้มกันได้
ยังคงไม่หยุดพัฒนากับเชื้อไวรัสตัวร้ายอย่าง SARS-CoV-2 (COVID-19) สายพันธุ์ Omicron ที่เกิดการกลายพันธุ์ของสายพันธุ์ย่อยใหม่ นั้นก็คือสายพันธุ์ BA.2.75 โดยมีการพบครั้งแรกที่ประเทศอินเดีย เมื่อช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา และมีการพบเชื้อและเกิดการแพร่กระจายไปประเทศอื่นๆอย่างรวดเร็ว ทำให้มีนักวิจัยหลายสถาบันเกิดความหวั่นใจกับการกลายพันธุ์ของเชื้อโควิด-19 ในครั้งนี้กันเป็นอย่างมาก
เชื้อสายพันธุ์ BA.2.75 คืออะไร?
เชื้อสายพันธุ์ BA.2.75 (The Super Contagious Omicron Subvariant) หรือชื่อที่ไม่เป็นทางการคือ Centaurus (เซนทอรัส) คือ เชื้อไวรัส SARS-CoV-2 หรือ COVID-19 โดยเชื้อสายพันธุ์ BA.2.75 เป็นเชื้อที่เกิดมาจากการกลายพันธุ์ของเชื้อสายพันธุ์ย่อย ของเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ Omicron ผลจากการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมของเชื้อสายพันธุ์ BA.2.75
พบว่ามีการกลายพันธุ์ต่างจากเชื้อแรกเริ่มของเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 (สายพันธุ์อู่ฮัน) มากกว่า 100 ตำแหน่ง นับเป็นการกลายพันธุ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุดในประวัติการณ์ และนักวิจัยหลายท่านทั่วโลกมีความกังวลอย่างมากกับการกลายพันธุ์ของเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ที่เกิดขึ้น และมีการคาดการณ์ว่า การกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 แปรผันตรงกับจำนวนผู้ติดเชื้อ นั้นก็คือหากเชื้อไวรัสมีการกลายพันธุ์ไปมากเท่าไหร่ก็จะส่งผลทำให้อัตราการแพร่ระบาดของเชื้อยิ่งมากขึ้นเท่านั้น
เชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ BA.2.75 อันตรายกว่าเดิมหรือไม่?
จากการแถลงการณ์ผ่านคลิปวิดีโอ ณ วันที่ 9 กรกฎาคมที่ผ่านมา ของ Soumya Swaminathan, MBBS, MD หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ขององค์การอนามัยโลก WHO ได้กล่าวไว้ว่า “ยังเร็วเกินไปที่จะทราบว่าตัวแปรย่อยนี้มีคุณสมบัติของการบุกรุกภูมิคุ้มกันเพิ่มเติม หรือที่จริงแล้วมีความรุนแรงทางคลินิกมากกว่า”
และในวันที่ 15 กรกฎาคม คณะวิจัยของประเทศญี่ปุ่นได้มีการเผยแพร่ผลการวิจัยใน bioRxiv เกี่ยวกับเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 สายพันธุ์ย่อย BA.2.75 ว่า “จากผลการศึกษาพบว่าเชื้อสายพันธุ์ BA.2.75 มีลักษณะดื้อต่อยาแอนติบอดี (COVID-19 Antibody Cocktail) ที่ใช้ในการรักษาหลายชนิด แต่ก็ยังมียาแอนติบอดีบางชนิดที่สามารถออกฤทธิ์ในการรักษาได้ตามปกตินั้นก็คือ Regdanvimab, Sotrovimab, Tixagevimab”
และในขณะเดียวกัน Cao YR จากมหาวิทยาลัยปักกิ่งเผยถึงผลการศึกษาเชื้อสายพันธุ์ใหม่นี่ว่า เชื้อไวรัสสายพันธุ์ BA.2.75 มีแนวโน้มที่จะจับกับตัวรับของร่างกายอย่าง Angiotensin-Converting Enzyme 2 (ACE2) ได้มากกว่าสายพันธุ์อื่นๆ และมีแนวโน้มที่จะมีภาวะดื้อต่อภูมิคุ้มกัน
โดยศึกษาจากระดับภูมิคุ้มกันระหว่างติดเชื้อของผู้ที่ฉีดวัคซีน พบว่า เชื้อสายพันธุ์ย่อย BA.2.75 มีภาวะดื้อต่อภูมิคุ้มกันมากกว่าเชื้อสายพันธุ์ BA.2.12.1 แต่อาจน้อยกว่าสายพันธุ์ BA.5 และ BA.4 แต่ในทางกลับกันหากผู้ติดเชื้อเคยติดเชื้อติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ Delta มาก่อน จะส่งผลทำให้เชื้อสายพันธ์ BA.2.75 มีภาวะดื้อต่อภูมิคุ้มกันมากกว่า ผู้ที่เคยติดโควิด-19 สายพันธุ์ Omicron BA.1 และ BA.2
เมื่อติดเชื้อสายพันธุ์ BA.2.75 แล้ว สามารถรู้ได้อย่างไร?
เมื่อตรวพบเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 หรือ COVID-19 แล้ว ผู้ติดเชื้อสามารถทราบสายพันธุ์ของเชื้อไวรัสได้จากการตรวจ MassArray Genotyping หรือ Low-Cost Mini-Sequencing ที่โรงพยาบาล เพื่อตรวจสอบสายพันธุ์ของเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 โดยผลจะทราบหลังจากตรวจภายใน 48 ชั่วโมง
การตรวจ MassArray Genotyping หรือ Low-Cost Mini-Sequencing เป็นการตรวจเพื่อระบุสายพันธุ์ของเชื้อไวรัสที่ได้รับ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการรักษาที่ถูกต้องและแม่นยำของแพทย์
สถานณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 หรือเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ยังคงมีการแพร่กระจายอย่างต่อเนื่อง และสามารถติดเชื้อได้อย่างรวดเร็วโดยที่เราไม่รู้ตัว ดังนั้นการป้องกันตัวเองเบื้องต้นอย่างการสวมแมส ล้างมือด้วยแอลกอฮอล์ รักษาระยะห่างกับผู้อื่น ลดการสัมผัสหรืออยู่ในบริเวณพื้นที่เสี่ยง เพื่อสุขภาพที่ปลอดภัยและลดการแพร่กระจายเชื้อสู่วงกว้าง
โฆษณา