19 ส.ค. 2022 เวลา 02:39 • การเมือง
บั้นปลายอองซานซูจี
โดย
นิติภูมิธณัฐ
มิ่งรุจิราลัย
เสาร์ 20 สิงหาคม 2565 เวลา 6.30-17.30 น. ณ เมตตาธรรมสถาน ซ.วิภาวดี 60 กทม. มีพิธีอธิษฐานน้ำสรงฉัตรทองคำ และหลอมชนวนทองคำ ซ่อมบำรุงฉัตรทองคำ ในโครงการซ่อมบำรุงและทำความสะอาดฉัตรทองคำ พระมหาโพธิเจดีย์พุทธคยา ครบรอบ 9 ปี พ.ศ.2565
อาทิตย์ 21 สิงหาคม 2565 มีทอดผ้าป่าสามัคคี 3,200 กอง กองละ 750 บาท เพื่อซื้อที่ดิน 8 ไร่ สร้างวัดบ้านด่าน-ตาไทย ต.สองชั้น อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์
โดยมีนายธัชกร หัตถาธยากูล ผวจ.บุรีรัมย์ และ ร.ต.อ.ดร.นิติภูมิธณัฐ มิ่งรุจิราลัย เป็นประธานอุปถัมภ์ร่วม ท่านที่จะซื้อที่ดินสร้างวัดร่วมบุญได้ที่พระธวิชชา อุนัยบัน (ครูบาตึ๋ง) ธนาคารกรุงไทย เลขที่บัญชี 308-3-03672-8
เดิมนางซูจีถูกศาลพม่าตัดสินจำคุก 11 ปี โดยถูกขังเดี่ยวในคุกกรุงเนปีดอ เมืองหลวงสาธาณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา
จันทร์ที่ผ่านมา 15 สิงหาคม 2022 ศาลสั่งจำคุกนางซูจีเพิ่มอีก 6 ปี ข้อหานำเงินมูลนิธิดอว์ขิ่นจีไปสร้างบ้านและเช่าที่ดินของรัฐบาลในราคาที่ได้ส่วนลด
นี่คือชะตากรรมของบุตรคนสุดท้องของนายพลอองซาน ซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่งเอกราชพม่า และได้รับความนับถือศรัทธาจากประชาชนอย่างที่ไม่เคยมีวีรบุรุษคนใดในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของพม่าจะเทียบได้
3
ไม่เคยมีใครคิดว่าทหารพม่าจะกระทำย่ำยีต่อบุตรีของนายพลอองซานผู้ก่อตั้งกองทัพพม่าอย่างนี้
2
สมัยก่อน ทหารลงโทษนางซูจีเพียงกักบริเวณที่บ้านโดยไม่ให้พบปะกับใคร แต่ก็ไม่ใช่ส่งไปอยู่ในคุกอย่างในปัจจุบัน ทหารพม่าในยุคของสภาฟื้นฟูกฎหมายและความสงบเรียบร้อยของรัฐ (สลอร์ก) ยังให้เกียรติบุตรีผู้ก่อตั้งกองทัพด้วยการอนุญาตให้สามีและบุตรชายเข้าเยี่ยมเธอได้
2
ค.ศ.1992 พลตรีขิ่นยุ่น ผู้บัญชาการดีดีเอสไอหรือสำนักงานบริการข่าวกรองเพื่อความมั่นคงแห่งชาติ ผู้ที่มีอำนาจแท้จริงรองจากนายพลเนวิน ก็ยังให้เกียรติด้วยการส่งคนไปเจรจากับนางอองซานซูจี โดยมีเงื่อนไขว่า ถ้ายอมเดินทางออกนอกประเทศ เธอก็จะได้รับอิสรภาพ
1
นางซูจีปฏิเสธเงื่อนไขของพลตรีขิ่นยุ่น เพราะเธอเชื่อมั่นว่าตราบใดที่เธอยังอยู่ในแผ่นดินพม่า ความหวังว่าพม่าจะได้เป็นประชาธิปไตยก็ยังมีอยู่ต่อไป
2
30 ปีที่แล้ว นางซูจีพูดว่า ถ้าทหารจับกุมตน การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยจะสำเร็จไปครึ่งหนึ่ง ถ้าทหารพม่าฆ่าตน พม่าจะเป็นประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์ กุมภาพันธ์ ค.ศ.1993 ผู้ที่เคยได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ 8 คน เดินทางมาชุมนุมกันที่กรุงเทพฯ เรียกร้องให้รัฐบาลทหารพม่าปล่อยตัวนางซูจี
2
แม้ว่าในขณะนั้นบรรดาผู้นำจากประเทศทั้งหลายในโลกใบนี้ตะโกนก้องร้องบอกให้พม่าปล่อยตัว แต่ทหารพม่าก็ไม่แคร์
1
กระทั่ง ค.ศ.1995 หลังจากโดนคว่ำบาตรอย่างหนัก ภาพลักษณ์ของพม่าล้มคว่ำคะมำหงาย ประชาชนคนทั้งพม่ากำลังจะอดตาย รัฐบาลทหารพม่าจำเป็นต้องปรับปรุงภาพลักษณ์เพื่อปูทางสำหรับการเปิดประเทศและออกไปติดต่อกับโลกภายนอก จึงตัดสินใจยกเลิกการกักบริเวณนางซูจีเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 1995
วันจันทร์ที่ผ่านมา ทันทีที่มีข่าวว่านางซูจีโดนตัดสินจำคุกเพิ่ม นางโนลีน เฮย์เซอร์ ผู้แทนพิเศษว่าด้วยกิจการพม่าของเลขาธิการสหประชาชาติชาวสิงคโปร์ ก็ประกาศว่าจะเดินทางไปเยือนพม่า ไปพบกับผู้นำประเทศและรัฐมนตรีอาวุโสมากมายหลายคน รัฐบาลทหารพม่าไม่อนุญาตให้ใครหรือแม้แต่ผู้แทนจากกลุ่มภูมิภาคอาเซียนเข้าพบนางซูจี
ปัจจุบัน ฝ่ายทหารปฏิบัติการจิตวิทยาด้วยการเรียกนางซูจีอย่างซ้ำๆ ย้ำๆ ว่า นักโทษหญิงคดีทุจริต บางทีก็มีการเรียกนางซูจีว่านักโทษที่รับสินบนและละเมิดการเลือกตั้ง
นางซูจีถือกำเนิดเกิดมาเมื่อ 19 มิถุนายน 1945 ปัจจุบันทุกวันนี้เธอมีอายุ 77 ปี มีแนวโน้มว่าทหารพม่าอาจจะให้เธอใช้ชีวิตบั้นปลายในคุกตลอดไป
2
ทหารพม่าไม่แคร์ว่าโลกจะมองพวกตนอย่างไรยังไง
1
น่าเสียดายพัฒนาการด้านต่างๆ ของพม่าในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา กำลังไปได้สวย.
โฆษณา