19 ส.ค. 2022 เวลา 05:11 • หุ้น & เศรษฐกิจ
Keep Calm แล้วไปต่อกับพอร์ตลงทุน ‘ไต้หวัน’
กลายเป็นประเด็นร้อนในภูมิภาคเอเชียอีกครั้งกับสถานการณ์ความตึงเครียดในไต้หวัน เมื่อการเดินทางเยือนเกาะไต้หวันของประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 3 สิงหาคมที่ผ่านมา ได้รับการต้อนรับขับสู้เป็นอย่างดีจากประธานาธิบดีไช่ อิงเหวิน ของไต้หวัน อันนำมาสู่สถานการณ์ Taiwan Tension
เมื่อเป็นเช่นนี้ นักลงทุนจึงเริ่มกังวลว่า พอร์ตลงทุนในตลาดไต้หวันจะเป็นอย่างไรต่อไป น่าเป็นห่วงมากน้อยแค่ไหน จะไปต่อดีไหม.. วันนี้เรามีคำตอบมาให้ทุกคน โดยจะพาไปเจาะลึกพอร์ตลงทุนของ BBLAM ใน 3 กองทุนหลัก และเพื่อเป็นการเพิ่มความสบายใจให้กับนักลงทุน เรายังมีมุมมองจาก 3 ผู้จัดการกองทุนพันธมิตรถึงกรณี Taiwan Tension มาแบ่งปันกันอีกด้วย และเชื่อว่าจะช่วยให้นักลงทุนผ่อนคลายจากภาวะตึงเครียดนี้ลงได้
เปิดอินไซด์ 3 กองทุน ที่มีการลงทุนในตลาดหุ้นไต้หวัน (ข้อมูล ณ วันที่ 29 กรกฎาคม 2565)
1.กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นจีน หรือ B-CHINE-EQ ซึ่งหนึ่งในกองทุนที่ลงทุนในหุ้นไต้หวัน ได้แก่ AGI - Allianz All China Equity มีสัดส่วนลงทุนประมาณ 1%
ถึงจบไม่เร็ว แต่กระทบไม่มาก : มุมมองของผู้จัดการกองทุนจาก Allianz Global Investors (AGI) ซึ่งบริหารกองทุน B-CHINE-EQ ให้มุมมองว่า ประเด็นความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ กับจีนนั้น ‘ไม่ใช่เรื่องใหม่’ และไต้หวันเป็นเพียงหนึ่งในประเด็นความขัดแย้งเท่านั้น แม้ AGI ประเมินว่า ความขัดแย้งดังกล่าวจะไม่จบลงในระยะเวลาอันสั้น แต่ก็ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการลงทุนมากนัก เพราะ 2 เรื่องใหญ่ที่จีนกำลังให้ความสำคัญ คือ
1) การประชุมสภาจีน หรือ National Congress โดยคาดว่าประธานาธิบดีสี จิ้นผิง จะได้รับเลือกกลับเข้าสู่ตำแหน่งเป็นครั้งที่ 3 และ
2) การกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ ซึ่งปัจจัยความขัดแย้งดังกล่าวยิ่งสนับสนุนให้จีนต้องเร่งพัฒนาอุตสาหกรรมและโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ เพื่อให้มีการพึ่งพาตัวเองให้ได้มากที่สุด (Self-Sufficiency) ซึ่งกองทุน AGI เน้นลงทุนในบริษัทที่เกี่ยวเนื่องกับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในจีนเป็นหลักอยู่แล้ว เช่น กลุ่ม 5G เซมิคอนดักเตอร์ และพลังงานทดแทน
2.กองทุนเปิดบัวหลวงโกลบอลอินโนเวชั่นและเทคโนโลยี หรือ B-INNOTECH มีสัดส่วนลงทุนในหุ้นไต้หวัน 2%
ไต้หวันยังยืนหนึ่งผู้ผลิตชิป : มุมมองของผู้จัดการกองทุนจาก Fidelity Funds ซึ่งเป็นผู้บริหารกองทุน หลักที่ B-INNOTECH ลงทุน มองว่า ไม่ได้กังวลต่อประเด็น Taiwan Tension มากนัก และยังให้ความสำคัญกับปัจจัยพื้นฐานของบริษัทที่ลงทุนเป็นหลัก โดยเน้นลงทุนหุ้นพื้นฐานแข็งแกร่งในกลุ่มผู้ผลิตชิปและเซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งไต้หวันยังคงเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกรายใหญ่ของโลก
นอกจากนี้ ผู้จัดการกองทุนยังอาศัยจังหวะตลาดผันผวนเป็นโอกาสเข้าลงทุนเพิ่มอีกด้วย รวมทั้งยังไม่จำเป็นต้องปรับพอร์ตลงทุนแต่อย่างใด เพราะได้กระจายการลงทุนและความเสี่ยงในหุ้นทั่วโลกอยู่แล้ว
3.กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นเอเชีย หรือ B-ASIA มีสัดส่วนลงทุนในหุ้นไต้หวัน 12.4%
บรรยากาศเริ่มผ่อนคลาย : มุมมองของผู้จัดการกองทุนจาก Invesco Funds ซึ่งเป็นผู้บริหารกองทุนหลักที่ B-ASIA ลงทุน เห็นว่า Taiwan Tension เป็นปัจจัยกดดันตลาดระยะสั้นเท่านั้น และจะคลี่คลายลงในที่สุด ซึ่งทั้งสหรัฐฯ และจีนพุ่งโฟกัสไปที่การแก้ปัญหาเศรษฐกิจภายในประเทศเป็นอันดับแรก ขณะที่บรรยากาศการลงทุนเริ่มมีทิศทางผ่อนคลายลงแล้ว
เห็นแบบนี้แล้ว นักลงทุนคงสบายใจได้ระดับหนึ่งว่าพอร์ตที่มีการลงทุนในหุ้นไต้หวัน ‘ยังสบายดี’ และยังมีโอกาสลงทุนรออยู่เสมอ ที่สำคัญมีผู้จัดการกองทุนมืออาชีพคอยช่วยบริหารและดูแลความเสี่ยงตามสถานการณ์.. ทำใจร่ม ๆ แล้วไปกันต่อ
ข้อมูลกองทุนเพิ่มเติม
คำเตือน: การลงทุนมิใช่การฝากเงินและมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจ ไม่ได้รับเงินลงทุนคืนเต็มจำนวนเมื่อไถ่ถอน (ไม่คุ้มครองเงินต้น) / ผู้ ลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า ข้อมูลสำคัญ นโยบายการลงทุน
เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนการ ตัดสินใจลงทุน / กองทุนที่มีการลงทุนในต่างประเทศมิได้มีนโยบาย ป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด ทั้งนี้ อยู่ในดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน ดังนั้น ผู้ลงทุนอาจขาดทุน หรือได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจากการลงทุนในกองทุนดังกล่าว หรืออาจได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
#BCHINEEQ #BINNOTECH #BASIA #กองทุนรวม #ลงทุน #ลงทุนในกองทุนรวม #ไต้หวัน #จีน #สหรัฐอเมริกา
โฆษณา