22 ส.ค. 2022 เวลา 00:23 • หุ้น & เศรษฐกิจ
การลงทุน SSF หรือ RMF ตามอายุ
มักจะมีคำแนะนำว่า ถ้าอายุน้อยๆ ให้เน้นลงทุน SSF พออายุ 45 ปี ขึ้นไป เน้นลงทุน RMF ทำไมเป็นแบบนั้น มาอ่านกัน...
SSF, RMF นำมาใช้ลดหย่อนภาษีได้ และมีให้เลือกหลากหลายสินทรัพย์ลงทุนทั้งคู่ แต่จะมีเงื่อนไขการถือครองและวิธีการนับปีที่มีความต่างกันอย่างชัดเจน
SSF ต้องถือครอง 10 ปี นับแบบวันชนวัน ปีชนปี ของเงินแต่ละก้อนที่ซื้อลงทุน ตัวอย่างการนับเป็นแบบนี้...
ถ้าซื้อ SSF 2 ครั้ง ปี 65 คือ 30 ม.ค., 30 พ.ค. 65 จะนับเงินแต่ก้อนที่ซื้อที่จะครบเงื่อนไขการถือครอง คือ
ที่ซื้อเมื่อ 30 ม.ค. 65 ขายได้ 31 ม.ค. 75
ที่ซื้อเมื่อ 30 พ.ค. 65 ขายได้ 31 พ.ค. 75
RMF ขายคืนได้ อายุตั้งแต่ 55 ปี และถือครองมาไม่น้อยกว่า 5 ปี โดยเป็นการนับแบบวันชนวัน ปีชนปี และมองทั้งชุดครบ 5 ปี โดยดูวัน ที่ซื้อลงทุนครั้งแรกเป็นสำคัญ
ถ้ามีอายุครบ 55 ปี วันที่ 1 ม.ค. 65
เริ่มลงทุน RMF ครั้งแรก วันที่ 1 ธ.ค. 59
และลงทุนต่อเนื่องมาทุกปี ในปี 2559, 2560, 2561, 2562, 2563, 2564
จะขายคืน RMF ทุกก้อนที่ซื้อมา ได้ตั้งแต่ 2 ม.ค. 65 เพราะถือครบ 5 ปี โดยนับจากวันที่ซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก (1 ธ.ค. 59) เป็นหลัก
เนื่องจากเงื่อนไขการถือครองที่มีความต่างกันชัดเจนของ SSF และ RMF หลายคนจึงมองว่า ถ้าอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป ควรเลือกลงทุนเป็น RMF เพราะระยะเวลาที่ต้องถือครองเพื่อครบเงื่อนไขนั้นจะสั้นกว่า โดยเฉพาะเงินก้อนหลังๆ ที่ใส่เข้าไป ตอนอายุใกล้ๆ จะ 55 ปี ระยะถือครองจะสั้นลง แต่นอกจากเรื่องระยะเวลาการถือครองแล้ว ก็อย่าลืมพิจารณาเงื่อนไขอื่น ๆ ของ SSF และ RMF ด้วยนะ
SSF ซื้อได้สูงสุด ไม่เกิน 30% ของรายได้ และไม่เกิน 200,000 บ. ส่วน RMF ไม่เกิน 30%ของรายได้
และเมื่อรวม SSF/ RMF/ เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ/ PVD/ กบข./ เงินสะสมเข้ากองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน,/ เงินสะสมเข้ากองทุนการออมแห่งชาติ(กอช.) แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บ. ในปีภาษีเดียวกัน
SSF ไม่ต้องลงทุนทุกปี ส่วน RMF ต้องลงทุนทุกปี ขาดได้ไม่เกิน 1 ปีติดต่อกันแต่ตรงนี้ก็ flexible มากขึ้น เพราะไม่มีกำหนดการซื้อขั้นต่ำในการลดหย่อนภาษีแล้ว
ถ้าอายุน้อย ที่ทำงานไม่มี PVD กบข. อาจพิจารณา RMF ไว้บ้าง เพื่อเป้าหมายเกษียณ
RMF นั้นไม่ได้จำกัดอายุของคนซื้อนะว่า ถ้าอายุใกล้ 55 ปี หรือ เกิน 55 ปีไปแล้วจะซื้อ RMF เพื่อลดหย่อนภาษีไม่ได้ สามารถซื้อได้ไม่มีปัญหาอะไร ถ้ายังได้ประโยชน์จากการลดหย่อนภาษีด้วย RMF เพียงแต่ถ้าจะขายคืนต้อง “อายุ 55 ปีขึ้นไป และ ลงทุนมาแล้วอย่างน้อย 5 ปี” ครบทั้ง 2 เงื่อนไขนี้
ยังไงก็ควรพิจารณาเงื่อนไขอื่นๆ ด้วยนอกจากเรื่องระยะเวลาการถือครอง และเลือกที่เหมาะกับแผนการเงินของเรานะ
#หมอยุ่งอยากมีเวลา #กองทุนรวม #SSF #RMF #ภาษี #คิดภาษี #ลดหย่อนภาษี #กองทุนรวมเพื่อการออม #กองทุนประหยัดภาษี #ลงทุนกองทุนรวม #ประหยัดภาษี #กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ #supersavingfund #retirementfund #retirementmutualfund #mutualfunds
โฆษณา