24 ส.ค. 2022 เวลา 02:35 • ธุรกิจ
ทำไมโรงงานจึงควรป้องกันเครื่องจักรเสียหายด้วยการบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์
หนึ่งในกิจกรรมของ TPM ว่าด้วยเรื่องการบำรุงรักษานั้นมี Planned Maintenance ที่ใช้กันอยู่ โดยจะมุ่งเน้นการทำ Zero Breakdown แบบการบำรุงรักษาเชิงประสิทธิผล (Productive Maintenance) เป็นเป้าหมายสำคัญหรือพูดให้เข้าใจง่ายๆ หมายถึง การบำรุงรักษาที่ประหยัดที่สุดและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตจนตลอดอายุการใช้งานของเครื่องจักร
โดยใช้แนวคิดที่ว่า การควบคุมเครื่องจักรไม่เพียงแต่เป็นการควบคุมหลังจากการได้ติดตั้งเครื่องจักรเท่านั้น เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพการผลิตสูงสุดนั้น จำเป็นต้องควบคุมในทุกๆ ขั้นตอนตั้งแต่การสำรวจก่อนสร้างหรือซื้อเครื่องจักร การออกแบบ การผลิตเครื่องจักรและติดตั้ง
สิ่งที่ควรรู้เบื้องต้นนั้น การบำรุงรักษาแบ่งด้วยกัน 2 แบบ ได้แก่ บำรุงรักษาตามแผนงาน (Planned Maintenance) และการบำรุงรักษาที่ไม่อยู่ในแผนงาน (Unplanned Maintenance) ซึ่งการบริหารจัดการนั้นแตกต่างกันอย่างมาก หากมองลงในรายละเอียดนั้นก็สามารถแบ่งได้ 3 ช่วงของการจัดการเครื่องจักร (Equipment Management)
• การจัดการเครื่องจักรก่อนติดตั้ง
• การจัดการเครื่องจักรในระหว่างการใช้งาน
• การจัดการเครื่องจักรหลังการเลิกใช้งาน
ทำไมถึงควรบริหารเวลาบำรุงรักษาเครื่องจักร
ในโรงงานนั้นให้ความสำคัญกับช่วงการจัดการเครื่องจักรในระหว่างการใช้งานเป็นอย่างมาก เพราะเครื่องจักร 1 เครื่องนั้นมีค่าเสื่อมขั้นต่ำ 5 ปี เพราะฉะนั้นเครื่องจักรต้องใช้งานได้อย่างคุ้มค่า ยิ่งเครื่องจักรมีค่าระยะเวลาเดินเครื่องจักรยาวนานขึ้น (MTBF) และใช้เวลาในการซ่อมเครื่องจักรสั้นลง (MTTR) ยิ่งทำให้เราใช้เครื่องจักรได้อย่างคุ้มค่า
แต่สิ่งที่ยากกว่าคือการป้องกันไม่ให้เครื่องชำรุดหรือเสียหาย เพราะเครื่องจักรนั้นพูดไม่ได้ สิ่งที่แสดงออกได้อย่างเดียวคือการหยุดหรือขัดข้อง ซึ่งคุณเองก็ไม่อยากให้มันเกิดขึ้น ดังนั้นการบำรุงรักษาตามแผนงานมีบทบาทสำคัญอย่างมาก โดยมีรูปแบบตามนี้
PM : Preventive Maintenance (บำรุงรักษาเชิงป้องกัน) : ในการบำรุงรักษาเครื่องจักรจะต้องปฎิบัติตามเงื่อนไขการใช้งานพื้นฐานของเครื่องจักร หมายความว่า เครื่องจักรต้องเดินเครื่องได้ตามปกติ
DM : Daily Maintenance (การบำรุงรักษาประจำวัน) : เป็นการบำรุงรักษาเครื่องจักรประจำวัน เช่น การหล่อลื่น , การขันแน่น , การปรับแต่ง , การตรวจสอบ และการเปลี่ยนชิ้นส่วนต่างๆ เพื่อตรวจวัดความเสื่อมสภาพ
BM : Breakdown Maintenance (บำรุงรักษาหลังเกิดขัดข้อง) : เป็นการซ่อมเมื่อเครื่องจักรเสีย โดยไม่มีการวางแผนล่วงหน้าและมักจะทำให้ค่าใช้จ่ายสูง
TBM: Time Based Maintenance (บำรุงรักษาตามคาบเวลา): เป็นการบำรุงรักษาที่ดำเนินการเป็นรอบเวลาที่กำหนดตามคาบเวลา
CBM : Condition Based Maintenance (บำรุงรักษาจากการทำนายสภาพ) : เป็นการบำรุงรักษารูปแบบกำหนดต่อสภาพพยากรณ์การเสื่อมสภาพของชิ้นส่วนเครื่องจักร โดยใช้เทคนิคการวินิจฉัยเครื่อง แล้วทำการคาดคะเนแนวโน้มตามความเป็นไปของการเสื่อมสภาพ
PdM : Predictive Maintenance (การบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์) : เป็นการบำรุงรักษาที่ใช้วิธีการหรือเทคนิคใหม่ๆ โดยใช้เครื่องมือวัดต่างๆ เพื่อติดตามสภาพเครื่องจักร และใช้ข้อมูลนั้นเพื่อการวางแผนในการซ่อมบำรุง
Predictive Maintenance คือ
การบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์หรือ Predictive Maintenance ( PdM ) เป็นการบำรุงรักษาที่ว่าด้วยการใช้เทคนิคใหม่ๆ หรือใช้เครื่องมือวัดต่างๆ เพื่อติดตามสภาพเครื่องจักรและใช้ข้อมูลนั้นวางแผนในการซ่อมบำรุง เพื่อใช้ในการคาดคะเนหรือทำนายอัตราการเสื่อมของเครื่องจักรจากผลการวัด ทำนาย พยากรณ์อาการชำรุดในปัจจุบันเพื่อสามารถจัดวางแผนและทำการบำรุงรักษาในอนาคต
กิจกรรมนี้จะดำเนินการควบคู่ไปกับการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน เน้นการประเมินสภาพการใช้งานตามของอุปกรณ์และเครื่องจักร โดยเน้นการติดตั้งอุปกรณ์ในการตรวจจับความผิดปกติต่างๆ ของสภาพความชำรุดของเครื่องจักร ผลของการพยากรณ์นั้นทำให้สามารถดำเนินการเปลี่ยนชิ้นส่วนก่อนการขัดข้อง หรือเรียกว่า การบำรุงรักษาตามคาบเวลา (Condition base maintenance : ทำการวินิจฉัย ถ้าใช้ไม่ได้ก็เปลี่ยน)
กิจกรรมนี้เป็นงานของข้อมูลทางเทคนิคและประวัติของเครื่องจักรเพื่อหาวิธีป้องกัน งานวิเคราะห์ที่ต้องใช้ตัวเลขจากการตรวจสอบตามกำหนด เพื่อหาข้อบ่งชี้สภาพของเครื่องจักรจากการตรวจสอบสภาพ (Condition monitoring ) ซึ่งตัวชี้วัดที่ใช้ในการตัดสินใจกำหนดกิจกรรมข้างหน้า คือ ความเชื่อถือได้ของเครื่องจักร (Reliability) หากความเชื่อถือต่ำกว่ากำหนดนั้น หมายถึงเครื่องจักรเสียบ่อยแสดงถึงปัญหายังฝักรากลึกอยู่ การคาดการณ์และป้องกันเครื่องจักรเสีย
ด้วยการบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์จึงมีความสำคัญอย่างมากเพื่อลดงาน Daily maintenance และ Preventive maintenance
Predictive Maintenance มีวิธีการทำงานอย่างไร
การบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ที่ดีนั้น ควรจะสามารถคาดคะเนและวางแผนได้ล่วงหน้าเป็นเวลานานก่อนเครื่องจักรจะเสีย เพื่อลดโอกาสความน่าจะเป็นในการเกิดความเสียหายของเครื่องจักร และการประเมินนั้นต้องใช้เครื่องมือ ซึ่งเครื่องมือนั้นมีหลากหลาย เช่น แบบหูฟัง(Stethoscope) , สโตรโบสโคป(Strobe light), การตรวจสอบโดย Supersonic wave, การวัดอุณหภูมิ, การวิเคราะห์น้ำมัน, เครื่องมือวิเคราะห์ความสั่นสะเทือน เป็นต้น ( https://bit.ly/3AveDnI )
การใช้เครื่องมือตรวจสุขภาพเครื่องจักรเพื่อความถูกต้องในการวิเคราะห์ อาการผิดปกติของเครื่องจักรและทำนายอายุใช้งาน ยกตัวอย่างในการวิเคราะห์การสั่นสะเทือนนั้นมีจุดสำคัญที่ต้องทำการวัดอยู่หลายจุด แต่สำหรับชิ้นส่วนของเครื่อง, แหล่งที่มา และสัญญาณความสั่นสะเทือนมี อยู่ได้ 3 แหล่งใหญ่ๆ คือ จากการเยื้องศูนย์ระหว่างชิ้นส่วนเครื่องจักร, จากการเสียสมดุลของมวลและจากการหลุดหลวม โดยปกติจะนิยมวัดค่าในแนวราบมากกว่าแนวตั้ง
ตามมาด้วยขั้นตอนการสร้างระบบการบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ อีก 4 ขั้นตอน คือ
1. การใช้เทคโนโลยี เครื่องมือการตรวจวิเคราะห์ (แนะนำเครื่องมือตรวจวิเคราะห์)
2. สร้างระบบ Work Flow การบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์
3. การคัดเลือกเครื่องจักรและชิ้นส่วนประกอบในการทำการบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์และขยายผลการบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ให้มากขึ้น
4. พัฒนาเทคโนโลยีและเครื่องมือการตรวจวิเคราะห์
ใครที่กำลังมองหาเครื่องมือ หรือเซ็นเซอร์เพื่อใช้ตรวจสอบสภาพเครื่องจักร ผมขอแนะนำเครื่องมือตรวจวิเคราะห์ จากแบรนด์มูราตะ (Murata) ที่ช่วยสร้างระบบการบำรุงรักษาตามคาบเวลา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการพยากรณ์อายุเครื่องจักรจากสภาพเครื่องจักร โดยมูราตะมีผลิตภัณฑ์สินค้าที่สามารถช่วยทำ Condition base maintenance ได้ เรียกว่า ระบบตรวจจับแบบไร้สาย (Wireless Sensing Solution)
ทำไมจึงควรใช้เซ็นเซอร์ไร้สายตรวจสอบสภาพเครื่องจักร
ด้วยเซ็นเซอร์แบบไร้สายเป็นทางเลือกเริ่มต้นสำหรับการบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ เพราะระบบเซ็นเซอร์แบบไร้สายจะ ช่วยในการคาดคะเนอัตราการเสื่อมของเครื่องจักรโดยการเก็บข้อมูลในปัจจุบันมาวินิจฉัยเครื่องจักร ทำให้สามารถทำนายการชำรุดและอายุการใช้งาน เพื่อวางแผนการบำรุงรักษาเครื่องจักรในอนาคต
ติดตั้งง่าย จ่ายครั้งเดียวจบ คุณสามารถทำการติดตั้งระบบให้เสร็จสมบูรณ์ได้เพียงแค่วางเซนเซอร์ไร้สายเข้ากับเครื่องจักรที่คุณต้องการตรวจสอบ โดยระบบได้รับการออกแบบมาเพื่อทำงานในสภาพแวดล้อมที่อันตราย เช่น โรงงานถลุงเหล็ก
โดยใช้คลื่นความถี่วิทยุที่มีประสิทธิภาพในย่าน Sub-GHz รวมถึงการใช้ตัวขยายสัญญาณ เซนเซอร์และเกตเวย์ของมูราตะเป็นการซื้อครั้งเดียว และมาพร้อมกับฟรีแอปพลิเคชันสำหรับระบบปฏิบัติการ Windows เพื่อการแสดงผลลัพธ์อย่างง่าย รวมถึงการบันทึกข้อมูลโดยไม่ต้องเสียค่าบริการรายเดือนหรือเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
ระยะการใช้งานไกล ไม่ต้องกังวลเรื่องสัญญาณ
สามารถขยายขอบเขตการใช้งานได้ และมีความยืดหยุ่น เซนเซอร์ไร้สายหลากหลายประเภทของมูราตะนั้น สามารถเชื่อมต่อกับเกตเวย์ตัวเดียวกันและใช้งานได้ภายในระบบเดียว สิ่งนี้ช่วยให้คุณมีความยืดหยุ่นในการเลือกเซนเซอร์ที่เหมาะสมเพื่อตอบสนองความต้องการของคุณ นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มเซนเซอร์ลงในระบบที่มีอยู่ในภายหลังได้ตามความต้องการและยังสามารถพัฒนาระบบการแสดงผล หรือการบำรุงรักษาของคุณเองได้โดยใช้ API
ติดตามการใช้งานจริงได้ที่ #วิศวกรเค้นประสิทธิภาพ
หากใครสนใจหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่
• คุณชนาธิป (วิศวกร) Tel. 081-132-4462, email: chanathip.santhikarn@murata.com
• คุณภาณุพงศ์ สิริกมลศิลป์ Tel. 080-142-0057, email: panupong.sirikamonsil@murata.com
• Line Official : @thaimurata หรือ https://bit.ly/3A5IGli
โฆษณา