7 ก.ย. 2022 เวลา 08:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
📌 "นับ 1 ให้ถึงล้าน" ซีรีส์ที่จะทำให้คุณวางแผนการเงินได้ไม่ยากด้วยตัวคุณเอง กลับมาพบกันอีกครั้งกับซีรีส์ที่ 3 ตอน วางแผนภาษี สำคัญยังไง?
เชื่อมั๊ยครับว่า หลายคนที่ลงทุนลดหย่อนภาษี ยังไม่ทราบว่าที่เราลงทุนกันไปนั้นลดหย่อนอย่างไร หรือมีตัวแปรอะไรเกี่ยวข้องบ้าง หลายคนลงทุนไปตามคำบอกกล่าวหรือตามเพื่อนฝูง วันนี้ผมอยากชวนคุณมาลองวางแผนภาษีง่ายๆ ด้วยตัวคุณเองครับ🙂
👉 อ่านต่อ คลิก >> https://link.kkpfg.com/96aAb
☑ ติดตามบทความก่อนหน้าได้ที่ :
ซีรีส์ 3 : รายได้หลักล้านกับการลดหย่อนภาษี
📍 ตอนที่ 1 : คำนวณภาษีง่ายกว่าที่คิด
อ่านต่อ คลิก >> https://link.kkpfg.com/UHw0Y
เริ่มกันจากรูปนี้ครับ คุณคิดว่า…ใครควรต้องวางแผนภาษี? นาย A นาย B หรือ นาย C
หรือทั้ง 3 คนไม่จำเป็นต้องวางแผนภาษี หรือควรต้องวางแผนภาษีทั้ง 3 คน เรามาดูรายละเอียดไปพร้อมกันครับ
โดยนาย A , B และ C ได้รับเงินเดือนเดือนละ 60,000 บาท, 100,000 บาท และ 200,000 บาท ตามลำดับ และกำหนดเงื่อนไขตามหมายเหตุด้านล่าง จากการคำนวณภาษีพบว่า
- นาย A เสียภาษีที่ฐานสูงสุด 20% คิดเป็นภาษีที่ต้องจ่าย 66,000 บาท (ประมาณเงินเดือน 1 เดือน)
- นาย B เสียภาษีที่ฐานสูงสุด 25% คิดเป็นภาษีที่ต้องจ่าย 207,750 บาท (ประมาณเงินเดือน 2เดือน)
- นาย C เสียภาษีที่ฐานสูงสุด 30% คิดเป็นภาษีที่ต้องจ่าย 638,300 บาท (ประมาณเงินเดือน 3เดือน)
จะเห็นว่าทั้ง 3 คนเสียภาษีเท่ากับทำงานฟรีๆ โดยไม่ได้รับเงินเดือนไป 1 เดือน 2 เดือน และ 3 เดือนตามลำดับ ซึ่งถ้าดูจากจำนวนเงินเดือนของทั้ง 3 คน ถือว่าไม่น้อยเลยนะครับ
จากคำถามที่เกริ่นไว้ข้างต้น ผมคิดว่า ทั้ง 3 คนควรวางแผนภาษี!! แล้วคุณละครับ? เสียภาษีเท่ากับเงินเดือนกี่เดือน?
จะเห็นนะครับว่า…การศึกษาเรื่องวางแผนภาษีเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็น เพราะจะช่วยให้คุณประหยัดภาษีไปได้มากเลยทีเดียวครับ
จากสมการภาษีที่เราคุ้นเคยคือ
เงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษี - ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ
จากนั้น นำเงินได้สุทธิที่คำนวณได้มาคูณกับอัตราภาษี ก็จะทราบจำนวนภาษีที่ต้องเสีย
วันนี้ผมจะขอพูดถึง 2 ตัวแรกในสมการนี้กัน คือ เงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษีและค่าใช้จ่ายครับ
เงินได้พึงประเมินแบ่งได้เป็น 8 ประเภท ตามอาชีพที่แตกต่างกัน มีความยากง่ายหรือมีต้นทุนที่แตกต่างกัน
จึงมีการแบ่งเงินได้ออกเป็นกลุ่มๆ ตามความเหมาะสม เพื่อให้เกิดวิธีการคำนวณภาษีที่มีความเป็นธรรมแก่ผู้ประกอบอาชีพแต่ละอาชีพมากที่สุด
ซึ่งเงินได้พึงประเมินที่เราคุ้นเคยกันก็เช่น
- 40(1) เงินเดือน สำหรับมนุษย์เงินเดือน
- 40(2) เงินค่าจ้างทั่วไป สำหรับฟรีแลนซ์ต่างๆ
- 40(4) เงินได้จากการลงทุนต่างๆ เช่น ดอกเบี้ย เงินปันผล
- 40(6) เงินได้จากวิชาชีพอิสระ เช่น วิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลป์ หรือการบัญชีต่างๆ เป็นต้น
การแบ่งประเภทของเงินได้พึงประเมินเหล่านี้ ก็เพื่อให้สัมพันธ์ไปกับการคำนวณค่าใช้จ่ายซึ่งเป็นต้นทุนของอาชีพที่แตกต่างกันออกไปนั่นเอง และการยื่นจ่ายภาษีก็จะใช้ฟอร์มที่แตกต่างกันออกไป
สำหรับบุคคลธรรมดาผู้มีเงินได้ประเภท 40(1) – (8) จะใช้ภ.ง.ด.90 แต่หากเป็นมนุษย์เงินเดือนที่มีเงินได้เป็นเงินเดือน 40(1)เพียงอย่างเดียว จะใช้ภ.ง.ด.91 (ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม : เงินได้พึงประเมินทั้ง 8 ประเภท คลิก >>> https://www.rd.go.th/553.html)
สำหรับค่าใช้จ่าย ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจความหมายของ “ค่าใช้จ่าย” กับ “ค่าลดหย่อน” ซึ่งหลายคนมักเข้าใจว่าคือตัวเดียวกัน จริงๆ แล้วไม่ใช่ครับ…
- ค่าใช้จ่าย เป็นสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ขึ้นกับประเภทของเงินได้ที่ได้รับ แบ่งตามเงินได้พึงประเมินทั้ง 8 ประเภทข้างต้นที่กล่าวไป
- ค่าลดหย่อน เป็นสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ขึ้นกับสถานภาพและภาระที่รับผิดชอบ เช่น สถานภาพเป็นลูก มีหน้าที่ดูแลพ่อแม่ ภาระที่รับผิดชอบ เช่น ซื้อบ้าน มีภาระต้องผ่อนชำระดอกเบี้ย เป็นต้น
ตัวอย่าง : ค่าใช้จ่ายที่เราคุ้นกันบ่อยๆ เช่น ค่าใช้จ่ายสำหรับรายได้พึงประเมิน 40(1) และ (2) คือ หัก 50% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 100,000 บาท (และหากมีเงินได้ทั้ง 40(1) และ (2) ให้นำเงินได้ทั้ง 2 ประเภท รวมกันแต่หักได้ไม่เกิน 100,000 บาท
หากคุณมีรายได้พึงประเมินประเภทอื่นๆ ก็จะมีการคำนวณหักค่าใช้จ่ายส่วนอื่นๆ เพิ่มมาด้วยครับ (ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม : ประเภทค่าใช้จ่าย คลิก >>> https://www.rd.go.th/556.html)
สำหรับรายละเอียดของค่าลดหย่อนมีค่อนข้างมาก และยังแบ่งได้เป็นหลายหมวดหมู่ แล้วผมจะมาชวนคุยต่อใน Ep.หน้าครับ ต้องอย่าลืมติดตาม!! วันนี้อย่าลืมลองทำ To do list ที่ฝากไว้ในข้างท้ายนะครับ แล้วพบกันใหม่ครั้งหน้า…สวัสดีครับ
#KIATNAKINPHATRA
#KKP
#นับ1ให้ถึงล้าน
#รายได้หลักล้านกับการลดหย่อนภาษี
#วางแผนภาษีสำคัญยังไง
#S3Ep2
📌 ติดตามธนาคารเกียรตินาคินภัทรได้ทุกช่องทางที่:
โฆษณา