5 ก.ย. 2022 เวลา 13:00
ได้เงินเดือนตั้ง 100,000 บาท !
ทำไมถึงต้องเสียภาษีเยอะขนาดนี้
และทำไม (บางคน) ถึงพูดว่ามีไม่พอใช้ ?
เอาเรื่องภาษีก่อน...
ถ้าเงินเดือนเยอะ = เสียภาษีเยอะ
เนื่องจากอัตราภาษีเพิ่มขึ้นตามเงินได้สุทธิ
ถ้าเงินเดือนขนาดนี้ไม่ลดหย่อนภาษีอะไรเลย
จะเสียภาษีในอัตราสูงสุด คือ 25%
คิดเป็นจำนวนทั้งหมดคือ 125,000 บาท
(อัตราภาษีเงินได้บุคคล ยกเว้น - 35%)
สิ่งที่เป็นประเด็นของทั้งหมดนี้
คือ สิทธิ์การหักค่าใช้จ่ายที่กฎหมายกำหนด
เพราะมนุษย์เงินเดือนหักค่าใช้จ่ายได้ 50%
แต่สูงสุดแล้วไม่เกิน 100,000 บาท
ดังนั้นถ้าอยากเสียภาษีน้อย
เราต้องวางแผนลดภาษีโดยใช้ค่าลดหย่อน
ค่าลดหย่อนที่กฎหมายให้สิทธิ์
แล้วดูเหมือนจะช่วยเรื่องเงินเราได้ด้วย
คือ กลุ่มที่ลงทุน + ป้องกันความเสี่ยง
ไม่ว่าจะเป็น ประกันต่างๆ กองทุน SSF, RMF
รวมถึง PVD และประกันสังคมอีกหน่อย
แต่ประเด็นก็คือ ทุกอย่างที่ว่ามานี้ต้องใช้เงิน
ถ้าอยากลดภาษี ก็ต้องมีเงินไปซื้ออะไรพวกนี้
สมมติว่า ซื้อรวมๆทั้งปีไปสัก 240,000 บาท
(คิดเป็น 20% ของเงินเดือน - เก่งนะเนี่ย)
จะช่วยดภาษีได้ประมาณ 50,000 บาท
จากอัตราภาษี 2 ฐาน (ช่วง 20-25%)
- 40,000 x 25% = 10,000 บาท
- 200,000 x 20% = 40,000 บาท
นั่นแปลว่าจะเหลือภาษีที่ต้องจ่าย
อยู่ที่ประมาณ 75,000 บาทอยู่ดี
นั่นแปลว่าเราจะเสียเงินไปทั้งหมด
240,000 + 75,000 = 315,000 บาท
เหลือเงินไว้ใช้ประมาณ 885,000 บาท
หรือคิดเป็นเดือนละ 73,750 บาท
(ป.ล.)
ถ้ามีรายการลดหย่อนมากกว่านี้
ก็จะเสียภาษีจำนวนที่น้อยกว่านี้
และอาจจะมีเงินใช้น้อยกว่านี้
ขึ้นอยู่กับการวางแผนภาษีของแต่ละคน
ตรงนี้คือจุดสำคัญที่ต้องตัดสิน
ถึงต้นทุนชีวิตและสิ่งที่ต้องดูแลแต่ละคน
- เป็นหนี้ไหม ซื้ออะไรบ้าง บ้าน รถ ฯลฯ
- ดูแลใคร มีภาระครอบครัวอะไรต้องดูแล
- นิสัยใช้เงินเป็นแบบไหน ไลฟ์สไตล์ยังไง
ส่วนหนึ่งเราเริ่มที่ตัวเองได้
ด้วยการบริหารจัดการเงินให้ดี
แต่บางส่วนก็เป็นหน้าที่
ของผู้ที่เอาภาษีเราไปบริหารเช่นกัน
ถ้าไลฟ์สไตล์ไม่ฟุ้งเฟ้อ
เราอาจจะไม่เจอหนี้ท่วม (พร้อมดอก)
ถ้าโครงสร้างพื้นฐานดี
เราอาจจะมีรายจ่ายน้อยลงได้
(ลดภาระการเดินทาง + ดูแลครอบครัว)
เอาจริง ๆ บางคนอาจจะไม่สามารถ
ลดหย่อนภาษีได้ตามที่บอกด้วยซ้ำ
ถ้าหากเขามีไลฟ์สไตล์หรือภาระที่ใช้เงินมากขึ้น
ดังนั้น ถ้าบอกว่า 100,000 บาทใช้ไม่พอ
ก็ต้องมาดูกันต่อว่าเพราะอะไรแบบไหน
เพราะต้นทุนชีวิตของเราล้วนแตกต่างกัน
สุดท้าย ไม่ว่าจะยังไงก็ตาม
ผมยังมีความเชื่อร่วมกันตรงที่ว่า
การบริหารจัดการการเงินพื้นฐานเป็นเรื่องสำคัญ
พอ ๆ กับการบริหารประเทศให้ต้นทุนที่แตกต่างนั้น
... ลดลงมากที่สุด
#TAXBugnoms
โฆษณา