8 ก.ย. 2022 เวลา 06:41 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ในกระบวนการผลักดันให้หน่วยงานภาครัฐมีความพร้อมในการวิเคราะห์และใช้ประโยชน์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือ การสร้างบุคลากรที่มีความรู้และทักษะเพียงพอต่อความต้องการทั้งด้านคุณภาพและปริมาณที่จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
 
วันนี้เราจะมาคุยถึงแผนการสร้างและพัฒนาบุคลากรซึ่งเป็นองค์ประกอบที่ 2 ภายใต้ “กรอบการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ" (Government Big Data Analytics Framework) กัน
2
การพัฒนาบุคลากรจะเน้นไปที่กลุ่มงานและทักษะสำคัญที่จะเป็นเพื่อการสร้างรากฐานและใช้งานข้อมูลขนาดใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มงาน ได้แก่
1. กลุ่มผู้สร้างและพัฒนาระบบ
ทำหน้าที่ออกแบบและพัฒนาระบบ รักษาปลอดภัยของระบบและข้อมูล รวมไปถึงการบริการจัดการข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่พร้อมนำไปใช้งานได้
2. กลุ่มผู้วิเคราะห์ ประมวลและแสดงผลข้อมูล
ทำหน้าที่จัดกลุ่มข้อมูล นำมาวิเคราะห์และประมวลผล รวมไปถึงการจัดทำภาพเพื่อสื่อสารแสดงผลข้อมูลหรือ Dashboard
3. กลุ่มผู้ใช้ข้อมูล (Business Domain)
ทำหน้าที่กำหนดโจทย์หรือประเด็นที่ต้องการวิเคราะห์ข้อมูล และนำข้อมูลมาเสนอเพื่อใช้ประกอบการดำเนินงาน
นอกจากการกำหนดกลุ่มเนื้องานที่ต้องการบุคลากรมาเสริมทัพแล้ว สิ่งที่สำคัญต่อมาคือการกำหนดแผนการพัฒนาบุคลากรที่เป็นขั้นเป็นตอน เพื่อให้การพัฒนาเป็นไปอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะสั้น
เน้นการพัฒนาบุคลากรให้สามารถ “ทำได้ ทำเป็น” ผ่านแพลตฟอร์มที่เรียกว่า Sandbox ซึ่งเป็นการวางรูปแบบการเรียนรู้แบบ Project Based Learning หรือ การเรียนแบบใช้โครงงานเป็นฐาน
ระยะกลาง
เป็นการสร้างระบบการจัดการแบบภาพรวม เพื่อให้การใช้ประโยชน์ข้อมูลขนาดใหญ่เกิดความคล่องตัว ได้แก่ การจัดกลุ่มหน่วยงานตามความสามารถและความต้องการของบุคลากร เพื่อให้ความช่วยเหลือได้ตรงจุด การจัด “ทีมที่ปรึกษา” หรือการเพิ่มตำแหน่งงานที่เป็น “สายงานเฉพาะทาง” การสนับสนุนทุนการศึกษาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถและพัฒนากำลังคนด้านการวิเคราะห์และใช้ประโยชน์ Big Data
ระยะยาว
ต่อยอดและขยายผลเพื่อการแบ่งปันและสร้างประโยชน์ด้านทรัพยากรในทุกภาคส่วน โดยมีเป้าหมายร่วมกันในการสร้าง Open Government Data Platform for Business and Citizen เพื่อนำไปพัฒนาต่อยอดและสร้างมูลค่าเพิ่มต่อไป
สถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ (GBDi) จับมือกับเครือข่ายมหาวิทยาลัยชั้นนำในการออกแบบหลักสูตรกลาง ด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science) เพื่อสร้างและพัฒนาบุคลากรของภาครัฐเข้าไปเสริมทัพให้กับหน่วยงานที่ต้องการ
1
โดยการเรียนรู้จะเป็นรูปแบบการฝึกเชิงปฏิบัติ (Bootcamp) ที่แต่ละมหาวิทยาลัยมีอิสระในการดำเนินการ แต่ต้องอยู่ภายใต้กรอบหลักสูตรกลางของเครื่องข่ายมหาวิทยาลัย เมื่อจบหลักสูตรผู้เรียนจะต้องผ่านการทดสอบความรู้และลงมือการปฏิบัติเพื่อที่จะได้รับประกาศนียบัตร
GBDi ได้ร่วมมือกับสถาบันพัฒนาบุคลากรดิจิทัลภาครัฐ สํานักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเรียนแบบ E-Learning ด้านการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ในอนาคต และได้ทําบันทึกข้อตกลงร่วมกับเครือข่ายมหาวิทยาลัยชั้นนําของไทยจํานวน 16 มหาวิทยาลัย และตั้งใจว่าจะมีการขยาย เครือข่ายในปีต่อ ๆ ไปอย่างต่อเนื่อง โดยออกแบบหลักสูตรให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายงานที่ต้องการสร้างบุคลากร
1
อ่านบทความเต็มเรื่อง “กรอบการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ" (Government Big Data Analytics Framework) ได้ที่
โฆษณา