12 ก.ย. 2022 เวลา 01:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
“ แชร์สูตรจัดการเงินให้ถึงเป้าหมายได้ไวขึ้นด้วย MAKE by KBank แอปจัดการเงินที่ทุกคนต้องมี! จัด จ่าย จด ได้ในที่เดียว ”
เนยเคยแชร์วิธีการบริหารจัดการเงินของตัวเองไว้ในนี้ค่ะ
ถ้าสังเกตดีๆ จะเห็นว่าใน Cloud Pocket ที่เป็นกระเป๋าย่อยของเนย มีอันนึงที่เนยยังทำตามเป้าหมายไม่ได้ ก็คือการเก็บเงินเติมพอร์ตหุ้นเวียดนามค่ะ
พอเวลาผ่านไปสักพักใหญ่ๆ
เนยก็มีพอร์ตหุ้นเวียดนามตามที่ตั้งใจไว้แล้วค่ะ
ซึ่งความสำเร็จนี้ เนยมองว่าส่วนนึงมาจากความพยายามของตัวเอง และอีกส่วนขอยกความดีให้กับแอป MAKE by KBank เลยค่า
Link ดาวน์โหลด : https://kbank.co/3Qz7XKv
วันนี้ก็เลยอยากจะมาแชร์ไอเดียการจัดการเงินพร้อมกับฟีเจอร์ดีๆ เพื่อให้ทุกคนได้ลองวางแผนเก็บเงินให้เป็นสัดส่วนนะคะ แอปนี้เป็นตัวช่วยในการจัดการเงินได้ดีจริงๆ ค่ะ
ก่อนที่จะไปแนะนำเรื่องสูตรการจัดการเงิน
เนยขอพาไปทำความรู้จักกับ MAKE by KBank ก่อนนะคะ
เป็นแอปที่ช่วยจัดการเงินง่าย ๆ ในสไตล์ของเรา
ทำให้การจัดการเงินของเราง่ายกว่าเดิม มาพร้อมกับ 4 ฟีเจอร์เด็ดๆ ไม่ว่าจะเป็น
- Cloud Pocket
ที่สร้างกระเป๋าย่อยเพื่อแยกเงินในบัญชีเดียวกันเก็บไว้เป็นส่วนๆ ให้เราบริหารค่าใช้จ่ายของตัวเองได้ดีขึ้น
แถมตั้งเป้าหมายได้ว่า จะเก็บเงินในกระเป๋าย่อยให้ครบตามที่ตั้งใจ
- Chat Banking
บันทึกประวัติรายการการทำธุรกรรมในรูปแบบแชท (Chat) เวลาที่เราโอนเงิน ก็สามารถเขียนรายละเอียดเป็นข้อความพร้อมกับแนบรูปภาพ
เพื่อให้ง่ายต่อการย้อนดูภายหลัง ไม่ต้องเซฟแล้วกลับไปหาให้วุ่นวาย
- Pop Pay
โอนเงินให้กันผ่านบลูทูธในระยะ 10 เมตร โดยที่ไม่ต้องขอเลขบัญชี หมายเลขโทรศัพท์ หรือ QR Code จากอีกฝ่าย
เหมาะกับการเก็บค่าใช้จ่ายบนโต๊ะอาหาร หรือไม่ก็เก็บเงินเพื่อนในกลุ่มที่อยู่ใกล้ๆ กัน
- Expense Summary
ที่จะสรุปและแยกสัดส่วนค่าใช้จ่ายของเราให้อัตโนมัติเลย
เราสามารถกดซ่อนรายการที่เราไม่อยากเอามารวมได้ค่ะ แค่กดซ่อนรายการ ระบบก็จะโชว์ตัวเลขค่าใช้จ่ายเฉพาะที่เราเลือกออกมา
พูดง่ายๆ ก็คือ เป็นแอป Mobile Banking ที่มีฟีเจอร์น่าใช้ เราโอนเงินเข้า-ออกได้ปกติ แถมมีดอกเบี้ยให้ด้วยถึง 1.5% ต่อปี สูงสุด 100,000 บาทด้วยค่ะ
สำหรับสูตรจัดการเงินสำหรับนักเรียน/นักศึกษา :
ในวัยนี้ บางคนอาจจะคิดว่าเรื่องเงินเป็นเรื่องที่ไกลตัว
ก็เรากำลังเรียนอยู่ มีรายได้ที่ไม่ได้เยอะมากเท่าไหร่
ไม่จำเป็นต้องวางแผนอะไรหรอก
เนยอยากให้ปรับความคิดใหม่ค่ะ
เรื่องนี้ยิ่งเริ่มเร็ว ก็จะยิ่งได้เปรียบนะคะ
ถึงแม้ว่าเราอาจจะมีรายได้ที่น้อย แต่สิ่งที่เรามีเยอะคือเวลาค่ะ
ค่อยๆ บริการจัดการและเก็บเงินให้ดี
เพื่อเอาไปเติมเต็มความฝันของเราในตอนที่เราโตเป็นผู้ใหญ่กันนะคะ
โดยสูตรการจัดการเงินสำหรับนักเรียน/นักศึกษาที่เนยอยากแนะนำน้องๆ มีแค่ 2 ข้อเองค่ะ
เพราะไม่อยากให้กดดันตัวเองเกินไป และเป็นสิ่งที่เนยใช้แล้วได้ผลจริงค่ะ
1. ทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายให้เป็นนิสัย
วิธีนี้คือ หัวใจสำคัญที่จะช่วยให้เราวางแผนการเงินของตัวเองได้ชัดเจนมากขึ้นค่ะ
เราจะรู้ว่าเงินที่จ่ายออกไป มีค่าอะไรบ้าง
แล้วจัดกลุ่มออกมาว่าอันไหนเป็นค่าใช้จ่ายที่จำเป็น หรืออันไหนเป็นค่าใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือย
ซึ่งถ้าเราประหยัดในส่วนค่าใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือยไปได้ ก็จะทำให้เรามีเงินเก็บมากขึ้นค่ะ
2. สร้างเป้าหมายของตัวเองให้ชัดเจน
อยากให้เริ่มตั้งเป้าหมายจากความสุขเล็กๆ ก่อนค่ะ
โดยกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนให้ตัวเองไป
อย่างเช่น เก็บเงินกินบุฟเฟ่ต์ให้ได้ภายใน 1 อาทิตย์
แล้วค่อยขยับขนาดของเป้าหมายให้มีขนาดใหญ่ขึ้น
อาจจะเป็นเก็บเงิน 1 หมื่นแรกให้ได้ภายใน 6 เดือน
แล้วค่อยเอาเงินเก็บส่วนนี้ไปลงทุนต่อ เพื่อให้มันงอกเงยต่อไปค่ะ
ถ้าเราฝึกให้มีวินัยการใช้เงินตั้งแต่อายุน้อย ก็จะทำให้เราเห็นคุณค่าของเงิน
และมีสุขภาพทางการเงินที่ดีในอนาคตต่อไปนะคะ
สำหรับสูตรจัดการเงินสำหรับคนที่ทำงานประจำ :
เพราะการจัดการเงินที่ดี จะเป็นกุญแจที่จะพาเราไปสู่ความสำเร็จในการเก็บเงิน
สำหรับคนที่มีรายได้ที่แน่นอน แต่ยังเก็บเงินไม่ได้สักที
เนยอยากแนะนำให้ใช้สูตรการจัดการเงินง่ายๆ แค่ 3 ข้อนี้ค่ะ
1. คำนวณรายรับรายจ่ายที่แน่นอนออกมา
ใครที่ไม่รู้จะเริ่มยังไง เนยขอแนะนำให้สังเกตการใช้จ่ายของตัวเองก่อนค่ะ
เริ่มจากทำบัญชีรายรับรายจ่าย แล้วคำนวณตัวเลขคร่าวๆ ออกมา
จากนั้นก็เช็คว่าเราใช้เงินไปกับอะไรบ่อยมากที่สุด
ต้องจ่ายเป็นประจำทุกเดือนมั้ย มันจำเป็นรึเปล่า
แล้วเราก็จะได้ตัวเลขค่าใช้จ่ายที่แน่นอนออกมาค่ะ
ซึ่งก็เป็นเหมือนงบที่เราตั้งไว้กับตัวเองว่า เราจะไม่ใช้จ่ายเกินจำนวนเท่านี้นะ
ส่วนเงินที่เหลือก็จะเป็นเงินเก็บของเราค่ะ
ถ้าใครกลัวใช้เงินในเดือนนั้นๆ เพลิน ลองมาดูวิธีนี้ค่ะ
ปกติเราจะมีเงินเก็บเงินที่เหลือจากรายจ่าย
(รายรับ-รายจ่ายที่แน่นอน = เงินเก็บ)
ลองเปลี่ยนใช้วิธีออมก่อนใช้
โดยถ้าได้เงินเดือนมา เราก็หักเงินไว้ออมก่อนที่จะใช้จ่ายแบบนี้ค่ะ
(รายรับ-เงินเก็บ = รายจ่ายที่แน่นอน)
2. แบ่งประเภทรายค่าใช้จ่ายออกเป็น 3 ส่วน
เพื่อให้เรารู้ว่าควรจะปรับลด หรือเพิ่มตรงไหนได้บ้าง
- ค่าใช้จ่ายจำเป็น
คือ รายจ่ายที่ต้องจ่ายทุกๆ เดือน ปรับลดลงหรือไม่จ่ายไม่ได้ เช่น ค่าอาหาร,ค่าบ้าน-คอนโด, ค่าเดินทาง ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าบัตรเครดิต
- ค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือย
คือ รายจ่ายที่ไม่แน่นอนสามารถลด หรือตัดออกไปได้ เอาไว้ให้รางวัลตัวเอง เช่น ค่าชาบู/ปิ้งย่าง, ค่ากระเป๋า/เสื้อผ้า เป็นต้น
เพราะเวลาที่เราทำอะไรสำเร็จ
เราก็ต้องขอบคุณตัวเองใช่มั้ยคะ
ขอบคุณในความขยัน ความพยายาม ความอดทน
และความกล้าที่ลงมือทำ เลยสมควรที่จะได้รับรางวัลค่ะ
- ค่าใช้จ่ายเพื่อการออมและลงทุน
คือ ค่าใช้จ่ายสำหรับเป้าหมายต่างๆ ที่ก่อให้เกิดรายได้ที่กลับคืนมาในอนาคตค่ะ
เช่น ซื้อรถ, ซื้อบ้าน หรือเรียนต่อ เป็นต้น
3. อย่ารีบใช้เงินในอนาคต และเช็คสุขภาพทางเงินของตัวเองอย่างสม่ำเสมอนะคะ
เราจะได้รู้ว่า เราควรจะต้องปรับเปลี่ยนตรงไหนให้ดีขึ้น
ลอง list ออกมาเป็น 4 หัวข้อหลักๆ นะคะ
- ทรัพย์สินของเรา
ให้เอาสินทรัพย์ - หนี้สิน = ทรัพย์สินปัจจุบัน
บางคนอาจจะงงว่า แล้วสินทรัพย์คืออะไรบ้างล่ะ เงินอย่างเดียวรึเปล่า
ตามความหมายมันก็คือ เป็นอะไรก็ได้ที่มีมูลค่าในการแลกเปลี่ยน ที่เราเอาไปขายเพื่อรับเงิน หรือแลกเปลี่ยนเป็นสินค้าหรือบริการอื่นๆ ได้ค่ะ
สิ่งที่อยากแนะนำก็คือ
เราควรที่จะมีทรัพย์สินสภาพคล่อง
เช่น เงินสด 3-6 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน
และมีทรัพย์สินเพื่อการออมและการลงทุน
เช่น กองทุนรวม หุ้น ขั้นต่ำ 10% ของรายได้ต่อปี
หรืออาจจะอยู่ในรูปแบบของการปล่อยเช่าอสังหาฯ ก็ได้ค่ะ
จะลงทุนอะไรก็ได้ที่ทำให้ทรัพย์สินของเรางอกเงยขึ้น ตามความเสี่ยงที่เรารับไหว
- เงินออมฉุกเฉิน
แล้วเราควรจะมีเท่าไหร่ล่ะ ถึงจะโอเค
คำว่าโอเคในที่นี้หมายถึง สมมุติว่า เราขาดรายได้กะทันหัน ตกงาน ไม่มีเงินเข้ามา
เราก็จะมีเงินก้อนนี้ที่สำรองไว้ใช้จ่ายให้ระหว่างหางานใหม่ค่ะ
สิ่งที่อยากแนะนำก็คือ
ควรจะเก็บเงินไว้ล่วงหน้า 6-12 เดือนค่ะ
ให้เอารายจ่ายประจำต่อเดือนของเรา x 6 = เงินเก็บเผื่อฉุกเฉินของเรา
เงินส่วนนี้ เราควรที่จะเก็บไว้ในบัญชีเงินฝากที่มีดอกเบี้ยสูง จะได้ถอนออกมาใช้ได้ทันที แถมความเสี่ยงต่ำด้วยค่ะ
- ภาระหนี้สิน
ให้เราเอาหนี้สินที่เรามีในตอนนี้มารวมกัน
แล้วหารด้วยจำนวนทรัพย์สินรวมที่เราบวกไว้ในหัวข้อทรัพย์สินของเรา
จากนั้นเอาไปคูณ 100 จะได้เป็น % ออกมา
((หนี้สินรวม/ทรัพย์สินรวม) x100) = %ภาระหนี้สิน
สิ่งที่อยากแนะนำก็คือ
ถ้าตัวเลขของเราออกมาน้อยกว่า 50%
มันจะแปลว่าความมั่งคั่งของเราเป็นบวก สบายใจได้
แต่อย่าชะล่าใจ พยายามจัดการภาระส่วนนี้ให้ดีต่อไปค่ะ
ส่วนถ้าตัวเลขของใครได้มากกว่า 50%
มันจะแปลว่าความมั่งคั่งของเราเป็นลบ
ถ้าเรารู้ว่าเรามีหนี้เยอะเกินไป ก็ต้องจัดการส่วนนี้ให้เรียบร้อยนะคะ
- เงินลงทุน
อันนี้ไม่มีเงื่อนไขที่ตายตัวเลยค่ะ
เราสามารถเลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่เอาชนะเงินเฟ้อ
อย่างพวก กองทุน หุ้น ทองคำ
หรือเลือกลงทุนจากสิ่งของใกล้ตัวตามความถนัดได้
ตัวอย่างเช่น พวกขายของออนไลน์ ขายอาหาร delivery ค่ะ
จากสูตรการจัดการเงินที่เนยแชร์ไป
จะเห็นว่าฟีเจอร์ใน MAKE ช่วยได้เยอะเลยค่ะ
แถมช่วงนี้มีโปรโมชันดีๆ เพียบเลย ไม่ว่าจะเป็น
- โปรชวนเพื่อนมาใช้ MAKE รับเงินคืนสูงสุด 1,000 บาท
- โปรลุ้นรับ iPad Air 2022 และ Aurora Goal
นอกจากจะได้เพิ่มวินัยในการบริหารเงินให้มากขึ้น
ก็ยังได้ลุ้นของรางวัลอีกด้วย พลาดไม่ได้เลยนะคะ
โฆษณา