14 ก.ย. 2022 เวลา 00:30 • ปรัชญา
ฝ่าวิกฤตอนิจจัง "Now You See Me"
#6/2022(Episode 2/3)
อุปสรรคการสร้าง New World Legendary thing
พุทธะบอกว่าเส้นทางที่ถูกต้อง ผิดพลาดได้เพียง สองข้อ คือ
1. ไม่เริ่มเดินบนเส้นทาง
2. เดินไปไม่สุดเส้นทาง
ทางรอดส่วนบุคคล Escape Ways เพราะคนคือคอมพิวเตอร์มีชีวิตที่มีเจ้าของเลี้ยง จึงมีลักษณะตามบริบทที่แวดล้อม เมื่อโตขึ้นรู้ความชอบและความถนัดส่วนตัว ต้องตื่นขึ้นเป็นตัวเองเพื่อหาเส้นทางอาชีพที่ทำแล้วรู้สึกดี เพราะการต้องฝืนทำงานที่เกิดภาวะแย้งในใจ แม้จะมีรายได้ที่ดี แต่เป็นเหมือนยอมติดคุกแลกกับเงิน ยอมเป็นหุ่นยนต์มีชีวิตที่ไร้ความรู้สึก เมื่อนานเข้า จึงเป็นการยืนยันเจตนาไร้ความรู้สึก จนเคยชินกับการเป็นหุ่นยนต์มุ่งเอาเฉพาะตัวกายรอด
1
2 ทางเลือก Escape Ways ของที่ยืนในสังคม
คนฉลาดจะไม่ฝืนธรรมชาติ Faith in Nature รู้จักใช้ “ความไม่อยาก” มาแก้ปัญหาความอยาก คนที่กลัวตายจะไม่ฆ่าใคร คนที่ไม่ชอบให้ใครเอาเปรียบ จะไม่เอาเปรียบใคร คนมีปัญญาจึงรู้จักทำธุรกิจชีวิตและสร้างสรรค์สิ่งที่ดีกว่าต่อยอดไปได้เรื่อย ๆ
ทางเลือกที่ 1. คนที่หลับเป็นหุ่นยนต์มุ่งเอาตัวกายรอด เพราะตกอยู่ในสภาพที่ลำบากที่ต้องเอาชีวิตให้รอดก่อน ด้วยถูกกดให้เป็นทาสทางเศรษฐกิจจนลืมความเป็นมนุษย์ เพราะไม่รู้ว่า โลกนี้ไม่ใช่ที่ของความเจ็บปวดทรมาน และคนที่เป็นมนุษย์สังคมสามารถสร้างสังคมที่ดีกว่าเพื่อตัวเองและลูกหลานได้
ทางเลือกที่ 2. คนที่ตื่นรู้โลกอนิจจังว่าไม่มีใครรู้อนาคตล่วงหน้าว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง มีความรู้สึกตามธรรมชาติของคนทั่วไปที่รู้จักสร้างสรรค์ชีวิตที่ดีกว่า โดยสามารถเอาชนะใจตัวเองได้ด้วยการรู้จักให้อาหารใจ คือศีล สมาธิ ปัญญา จึงคิดสร้างสังคมที่ดีกว่าเพื่อตัวเองและลูกหลานได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีสมฐานะความเป็นมนุษย์ผู้มีสิทธิมนุษย์ชน
2 ทางเลือก Escape Ways ของที่ยืนในสังคม คนฉลาดจะไม่ฝืนธรรมชาติ Faith in Nature รู้จักใช้ “ความไม่อยาก” มาแก้ปัญหาความอยาก คนที่กลัวตายจะไม่ฆ่าใคร คนที่ไม่ชอบให้ใครเอาเปรียบ จะไม่เอาเปรียบใคร คนมีปัญญาจึงรู้จักทำธุรกิจชีวิตและสร้างสรรค์สิ่งที่ดีกว่าต่อยอดไปได้เรื่อย ๆ
ในโลกเสรีมนุษย์มีจิตใจสูงด้วยเห็นเพื่อนมนุษย์ลูกของแม่โลกและพ่ออาทิตย์เป็นคนในครอบครัวเดียวกัน ซึ่งเมื่อเห็นเพื่อนเรียกร้องสิทธิ์การเป็นมนุษย์เพื่อนย่อมพร้อมจะช่วยเพื่อนเสมอ เพราะความถูกผิดของชีวิต “มีอยู่จริง”
เกณฑ์วัดความถูกผิดของชีวิตคืออะไร?
จอห์น สจ๊วต มิลล์ เชื่อว่า ความถูกผิดของชีวิต“ไม่มีอยู่จริง” เป็นสิ่ง “ไม่แน่นอน”และ ไม่ยั่งยืน เพราะขึ้นกับผลลัพธ์ในปัจจุบันและในอนาคต ประมาณว่าหาข้อสรุปไม่ได้ เป็นเช่น เดียวกับ ทฤษฎีดีลำดับที่สองที่ให้ข้อสรุปว่า “ผลลัพธ์อาจ ดี หรือ ไม่ดี ก็ได้”
เขาจึงใช้หลัก "The Greatest Happiness Principle" หมายถึงการกระทำใดที่ก่อให้เกิดประโยชน์หรือความสุขมากที่สุด แก่คนจำนวนมากที่สุด ถือเป็นการกระทำที่ดี การกระทำบางอย่างอาจก่อให้เกิดทั้งทุกข์และสุข แต่เมื่อหักลบกันแล้ว ข้างสุขมากกว่าย่อมถือเป็นการกระทำที่ถูก
อิมมานูเอล ค้านท์ เชื่อว่า ความถูกผิดของชีวิต “มีอยู่จริง” เป็น “สิ่งตายตัว”และ ยั่งยืน ถือเอาเจตนาและหน้าที่เป็นเกณฑ์วัดความถูกผิดของชีวิต ความถูกผิดของชีวิตเป็น “สิ่งตายตัว” การกระทำอันหนึ่ง ถ้า “ดี” ต้องดีเสมอ ไม่เลือกเวลา สถานที่ สิ่งแวดล้อมหรือตัวบุคคล
เขาเชื่อในเจตนาที่ดี เพราะถ้าเจตนาไม่ดี แม้ให้ผลลัพธ์เช่นเดียวกัน แต่จะไม่ยั้งยืน อิมมานูเอล ค้านท์เชื่อในการทำหน้าที่เพื่อหน้าที่ เพราะการทำหน้าที่เพื่อเลี้ยงชีพ หรือเพื่อรายได้ จะเลือกปฏิบัติ แต่ "การทำหน้าที่เพื่อหน้าที่ จะไม่เลือกปฏิบัติ" เพราะการมีผู้มาขอใช้บริการก็เพราะเรามีหน้าที่ต้องบริการ "ไม่ใช่มีตำแหน่งไว้หากินกับหน้าที่" โดยหลอกผู้มาขอใช้บริการ ว่าจะปฏิบัติตามหน้าที่ แต่กลับปฏิบัติโดยเล็งที่ผลประโยชน์ของตัวเอง
Capitalist Divided พระเจ้าเงินตราแบ่งคนออกเป็นผู้ประกอบการ หรือนายจ้างกับลูกจ้าง โดยนายจ้างทำเพียงแค่ลงทุน เพราะมีลูกจ้างรับทำให้หมดทุกขั้นตอน เพราะสังคมเศรษฐกิจใช้เงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน และเป็นทุนในการดำเนินธุรกิจ
คนจึงต้องทำงานเพื่อหาเงินมาใช้จ่าย แต่จงตระหนักว่า "เงินเป็นเพียงสื่อไม่ใช่พระเจ้า" ชีวิตที่นั่งรถกันกระสุน อยู่บ้านที่ล้อมรั้วเหมือนคุก คือคนที่ลืมความจริงว่า "ตัวเองเพียงได้รับ VISA มาเล่นเกมลี้ลับ" เท่านั้น
เส้นทางที่ถูกต้องชอบธรรมนั้น มีโอกาสผิดพลาดได้เพียงสองข้อคือ หนึ่งไม่เริ่มเดินไปบนเส้นทาง สองเดินไปไม่สุดเส้นทาง
เส้นทางที่ถูกต้อง แม้จะถูกบิดเบือนด้วยเหตุต่างๆ ทำให้คนเดินออกนอกเส้นทาง แต่เมื่อคนรู้สึกตัวว่าฝืนธรรมชาติของตัวเองเพราะมีความกดดัน คนก็จะกลับคืนไปเดินบนเส้นทางได้ง่าย
เพราะเส้นทางที่ถูกต้องจะมีแรงธรรมชาติช่วยหนุนส่งให้เดินไปบนเส้นทางได้อย่างลื่นไหล
อุปสรรคของเส้นทางที่ถูกต้อง คือ “โลกนี้มีของสองสิ่งที่เหมือนกันแต่มีลักษณะเป็นคู่ตรงข้าม”
แม้ว่าเราเลือกเส้นทางที่ถูกต้องราวกับได้อยู่บนถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ แต่ก็ยังต้องเดินไปด้วยความไม่ประมาท เพราะยังมีคนที่เลือกเส้นทางที่ไม่ถูกต้อง ไม่ชอบธรรมนั้น อยู่ร่วมโลกเดียวกันกับเราและทำให้เกิดสภาวะสงครามเย็นที่เราต้องป้องกันจุดอ่อนให้ปลอดภัย
คนที่เลือกเดินเส้นทางที่ไม่ถูกต้อง ไม่ชอบธรรมนั้น แม้จะดูเหมือนสำเร็จ แต่จะไม่ยั่งยืน เพราะไม่ใช่จุดที่พอดีเพราะมีความไม่ชอบธรรม เป็นแรงกดดันอยู่
อุปสรรคของเส้นทางที่ไม่ถูกต้องชอบธรรมคือ“คนคำนวณไม่สู้ฟ้าลิขิต”
เพราะชีวิตที่สร้างสงครามเบี่ยงเบนไม่ให้คนสนใจตัวเองแต่หันไปสนใจ “มายาภาพ”ของปัญหาที่เผชิญภาวะสงครามและความเป็นชาติที่จำเป็นต้องมีการนำแบบรวมศูนย์ แต่ในความเป็นจริง “เบื้องหลังมายาภาพ”คือผู้นำเผด็จการหลงอำนาจได้ทำทุกสิ่งไปเพื่อประโยชน์ส่วนตัวคือการรักษาอำนาจเผด็จการของตัวเองเอาไว้
โดย ลืมไปว่า โลกเรานั้นกลมและหมุนวนรอบตัวเองพร้อมกับหมุนวนรอบดวงอาทิตย์ที่เคลื่อนที่ไปกับบัลเล่ย์ของจักรวาล ทำให้โลกนิจจังนั้นไม่เคยอยู่ที่เดิม แต่เปลี่ยนไปพบกับสภาพแวดล้อมใหม่เสมอ ทำให้ “คนคำนวณไม่สู้ฟ้าลิขิต” เพราะไม่มีคนใดรู้อนาคตล่วงหน้าว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้างทั้งด้านดีและด้านร้าย
ล่าสุด โลกอนิจจัง ทำให้เศรษฐกิจจีนจากอนาคตสดใสเปลี่ยนเป็นเหมือนเดินไปบนเส้นทางริมปากเหว ทำให้คนจีนเริ่มหันกลับมามองชีวิตของตัวเอง หันไปมองสงครามรัสเซียรุกรานยูเครนที่ล่าสุด ยูเครนเริ่มเป็นต่อเพราะสามารถยึดคืนพื้นที่ด้านตะวันออก ทำให้สถานการณ์รบของรัสเซียเริ่มมีปัญหาภายในและเริ่มมีเสียงที่อยากให้ปูตินลาออก
ฝ่าวิกฤตอนิจจัง "Now You See Me"
#6/2022(Episode 3/3)
เมื่อทุ่มเทสุดขีด ฝ่าวิกฤตอนิจจัง เรื่อง New World Legendary thing สู่ความประทับใจ ความสะเทือนใจ หรือข้อคิดบางอย่าง
ความสะเทือนใจ
ที่ยังคงมีคนเลือกเส้นทางที่ไม่ถูกต้อง
ความประทับใจ
กับผู้ที่เลือกเส้นทางเดินที่ถูกต้อง
ข้อคิดบางอย่าง
แม้ว่าเลือกเส้นทางที่ถูกต้องราวกับได้อยู่บนถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ แต่ก็ยังต้องเดินไปด้วยความไม่ประมาท
โฆษณา