15 ก.ย. 2022 เวลา 07:03 • การตลาด
หยุด ads แล้วยอดไม่ขยับ ต้องปรับอย่างไร😰🚫💸
หนึ่งในปัญหาที่นักการตลาดแบรนด์เล็กถึงกลางที่เน้นยอดขายออนไลน์เป็นหลัก หลายๆ คนประสบปัญหาคล้ายๆ กันคือ ยอดขายจะมาได้ต้องซื้อ Facebook ads อย่างต่อเนื่อง
1
โดยเฉลี่ยได้ ROAS ประมาณ 3-4x คำนวนคร่าวๆ คือ ถ้าลง ads เดือนละ 100,000 บาทก็จะได้ยอดขายมาประมาณ 300,000 – 400,000 บาท
แต่ปัญหาคือ ถ้าเดือนไหนลงน้อย หรือไม่ลง ยอดขายก็จะไม่มาเลย
แล้วจะทำอย่างไรถ้าอยากให้ยอดขายมาอย่างต่อเนื่อง โดยไม่ต้องพึ่งพา Facebook ads มาก และสามารถต่อยอดเพิ่มการเติบโตให้กับธุรกิจต่อไปได้ ควรลงทุนกับอะไร ควรขยายช่องทางขายไปที่ไหน
บทความนี้จึงรวบรวมข้อแนะนำและข้อคิดที่น่าจะมีประโยชน์เพื่อตอบคำถามเหล่านี้
🚩1. สร้างเว็บไซต์ของตัวเองเป็นอีกหนึ่งช่องทางขาย
แต่อย่าเพิ่งกระโดดลงไปทำ e-commerce เต็มรูปแบบ แนะนำให้ค่อยๆ สร้างแบบเล็กๆ ก่อน
เพราะการทำเว็บไซต์ e-commerce ดีๆ สักตัว มีรายละเอียดปลีกย่อยเยอะมากและมีราคาที่ค่อนข้างสูง ดังนั้นแนะนำให้สร้างแบบเล็กๆ ก่อน โดยอาจะเน้นเรื่องของข้อมูลของสินค้าเป็นหลัก มีกี่แบบ กี่สี มีไซส์อะไรบ้าง วัสดุที่ผลิตคืออะไร มีประกันหลังการขายอย่างไร และข้อมูลประกอบอื่นๆ ที่จะช่วยให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้าได้ง่ายขึ้น แต่ยังไม่ถึงกับต้องมีระบบ shopping cart และชำระเงินบนเว็บไซต์เลย รวมถึงระบบจัดการ orderต่างๆ
เพราะระบบเหล่านี้จะทำให้ราคาค่าทำเว็บสูงมาก เราสามารถเริ่มจากการมีเว็บไซต์ให้ข้อมูลสินค้าก่อน ส่วนการสั่งซื้อให้ทำผ่าน Line หรือ chat to shop ช่องทางอื่นๆ ได้ ซึ่งจากข้อมูลที่ Facebook เคยทำออกมา ระบุว่า คนไทยส่วนใหญ่คุ้นเคยกับการช้อปผ่านการแชทอยู่แล้ว
และเมื่อเราเห็นแล้วว่ามี order ผ่านเว็บไซต์มากพอคุ้มค่ากับการลงทุน แล้วค่อยขยับขยายทำเว็บ e-commerce ต่อไปยังทัน หรือหากอยากลองมีเว็บ e-commerce จริงๆ อีกวิธีที่สามารถลองดูได้ คือการใช้บริการเว็บสำเร็จรูปต่างๆ ที่มีระบบ shopping cart ชำระเงิน และ order management พร้อมแล้ว หรือลอง setup LineMyShop ซึ่งใช้ได้ดีพอสมควรเลย พอจะใช้ทดแทนเป็น website เบื้องต้นก่อนได้
🚩2. สร้างแบรนด์ควบคู่กับการทำ performance marketing
การสร้างแบรนด์มีความจำเป็นมาก หากแบรนด์เราเป็นแบรนด์ที่ค่อนข้างใหม่ สำหรับสินค้าประเภทแฟชั่น การทำ performance campaign ให้คนเห็น look book เท่ห์ เสื้อผ้าสวยๆ ย่อมมีประโยชน์ในการสร้างยอดขายได้ทันที
แต่หากเรามีการสร้างแบรนด์ควบคู่กันไปด้วย ย่อมส่งผลดีในระยะยาวด้วย สองสิ่งนี้จึงต้องทำควบคู่กันไปอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นต้องมองว่าการสร้างแบรนด์เป็นงานที่ต้องใช้เวลา เราอาจจะไม่สามารถเห็นผลได้ทันทีแบบ performance campaign เรียกได้ว่าเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็น แต่มักจะถูกจัดให้เป็นงานไม่เร่งด่วน เพราะทุกวันนี้ ทุกคนคาดหวังที่จะเห็น performance ทันที
นอกจากนั้นการสร้างแบรนด์ยังสามารถช่วยให้เรามีความแตกต่างจากคู่แข่ง เพราะถ้าสินค้าของเราไม่ได้มีจุดเด่นต่างจากคู่แข่งมาก และราคาไม่ต่างกัน การสร้างแบรนด์ที่ดีจะช่วยสร้าง emotional benefit ให้กับกลุ่มเป้าหมายได้ เผลอๆ เราจะสามารถคิดราคาได้สูงกว่าแบรนด์คู่แข่งด้วย
🚩3. TikTok และ YouTube
แม้ Facebook และ Instagram จะเป็นช่องทางหลักในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายด้วยระบบโฆษณาอันทรงพลัง และเป็นช่องทางที่ทำรายได้ให้เยอะที่สุด แต่ลองสำรวจ social platform อื่นๆ อย่าง TikTok และ YouTube ด้วย โดยเฉพาะ TikTok นั้นมี case study หลายต่อหลายเคสที่สามารถช่วยทำให้แบรนด์และสินค้าเป็นที่รู้จักและสร้างยอดขายได้จริง รวมถึง gen z ปัจจุบันก็ search ข้อมูลสินค้าผ่าน TikTok และ YouTube กันอยู่แล้ว
เพียงแต่ต้องยอมรับว่าการผลิตวิดีโอให้น่าสนใจในรูปแบบของ TikTok และ YouTube นั่นไม่ใช่เรื่องง่าย รวมทั้งความถี่ในการผลิตที่ต้องทำออกมาบ่อยอีกด้วย
🚩4. Influencer Marketing
การทำ digital marketing ตอนนี้จำเป็นต้องใช้ influencer marketing ไปด้วยแบบหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะปัจจุบัน influencer ไม่ใช่แค่เรื่องการสร้าง awarness อีกต่อไป แต่สามารถสร้าง conversion ได้จริง ผ่านการผสมผสานการใช้ inluencer หลายๆ tier ทั้ง macro, micro, nano การใส่ discount code หรือแนบ link ติด UTM ก็จะสามารถช่วยวัดได้ว่า influencers คนไหนช่วยสร้างรายได้ ได้มากน้อยอย่างไร ปัจจุบันมี influencer platform/marketplace มากมายให้แบรนด์ทุกขนาดสามารถเฟ้นหาคนที่เหมาะสมกับแบรนด์และแคมเปญของเราได้
🚩5. E-marketplace + platform ads
ถ้าแบรนด์ลงขายใน E-marketplace ใหญ่อย่าง Shopee และ Lazada อยู่แล้ว สามารถดูบริการโฆษณาของ platform นั้นๆ ดูได้ ซึ่งจะช่วยเรื่องการเข้าถึงและก่อให้เกิด conversion ได้ดีทีเดียว ตัวอย่างเช่น โฆษณาแบบ Shop Search Ads ของ Shopee ซึ่งจะแสดงร้านค้าของเราที่ด้านบนสุดของหน้าผลการค้นหา รวมถึงคูปองช้อปปิ้งและสินค้าที่เกี่ยวข้องกับคำค้นหาของผู้ซื้อมากที่สุดในช่วงนั้นๆ
ในภาพใหญ่เราอาจจะมีทำ Google Search Ads และ Facebook ads ช่วยสร้าง traffic ไปที่ร้านใน E-Marketplace ของเรา แต่ในภาพย่อยในแต่ละ platform เราก็สามารถใช้โฆษณาของ platform เหล่านี้ เพื่อเพิ่มยอดขายได้เช่นกัน
🚩6. ต้องวัด ROI ให้ได้
การที่คนมาเดินซื้อที่หน้าร้าน หรือซื้อผ่าน Shopee พวกเขาอาจจะไม่เคยเห็น ads บน Facebook ของเรามาก่อนเลยก็ได้ ดังนั้นจึงจำเป็นมากๆ ที่เราต้องสามารถแยกได้ว่า ยอดขายที่เกิดขึ้นในแต่ละช่องทาง เกิดจากทางไหนกันแน่ๆ แล้วเราค่อยมาวัด ROI แยกตามต้นทางและงบประมาณที่ลงไปในต้นทางนั้นจริงเทียบกับยอดขายโดยตรงที่ได้มา
แต่แน่นอน มันจะมียอดขายที่ไม่สามารถระบุได้ว่ามาจากช่องทางไหนแน่ๆ เราอาจจะเรียกว่าเป็น organic ซึ่งเราสามารถเทียบเปอร์เซ็นต์การได้ยอดขายแบบ organic ในแต่ละเดือนกับ budget โดยรวมทั้งหมดที่ใช้ไป เพราะโดยปกติแล้ว เมื่อไหร่ที่เราลงโฆษณาเยอะ organic traffic หรือยอดขายก็มักจะเยอะตามไปด้วย เรื่องนี้ไม่ซับซ้อน เพราะเมื่อเราลงโฆษณาไป มีคนเห็นแต่อาจจะยังไม่ได้กดทันทีจากโฆษณา แต่เขาจำแบรนด์เราได้ แล้วภายหลังไป search หา หรือเดินไปซื้อที่หน้าร้านจริงก็เป็นหนึ่งในหลายๆ scenario ที่สามารถเกิดขึ้นได้
โฆษณา