15 ก.ย. 2022 เวลา 08:04 • การตลาด
ชวนมารู้จัก และทำความเข้าใจเกี่ยวกับ YouTube Self-Certification Rate วิธีการรับรองตนเองในการสร้างรายได้
Self-Certification Rate หรือ การรับรองตนเอง โดยเลือกอธิบาย และจัดประเภทวิดีโอ ให้กับคลิปที่มีโอกาสติดไอคอนสีเหลือง (Yellow icons) ซึ่งถ้าเกิดว่าครีเอเตอร์จัดประเภทวิดีโอที่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์เนื้อหาที่เป็นมิตรกับผู้ลงโฆษณาได้ถูกต้อง และสม่ำเสมอ ระบบ YouTube จะใช้ข้อมูลที่ครีเอเตอร์ได้ให้ แทนข้อมูลของระบบอัตโนมัติ รวมถึงจะใช้ข้อมูลนั้นในการพัฒนาระบบสำหรับชุมชนครีเอเตอร์ ในการสร้างรายได้ทั้งหมด
โดยครีเอเตอร์ที่มีสิทธิ์เข้าถึงการรับรองด้วยตนเอง จะเห็นข้อความใน YouTube Studio ที่แจ้งให้ทราบว่าขณะนี้สามารถจัดประเภทวิดีโอได้แล้ว ซึ่งโดยปกติแล้วจะมีสิทธิ์ใน 1 หรือ 2 เดือนหลังเข้าร่วมโปรแกรมพาร์ทเนอร์ YouTube (YPP)
ถ้าอยากรู้ว่าทำไม? ต้องมี YouTube Self-Certification Rate และอยากรู้ขั้นตอนการใช้งาน มาหาคำตอบในบทความนี้กันเลยค่ะ
ไอคอนสีเหลืองอาจสร้างความหงุดหงิดใจ หรือกังวลใจให้กับครีเอเตอร์ ในเรื่องของการสร้างรายได้ การจัดประเภทวิดีโอ จะเป็นการบอกเล่าเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิดีโอ และมีส่วนร่วมมากขึ้นในการตัดสินใจเกี่ยวกับการสร้างรายได้ เพื่อให้ระบบ YouTube พิจารณาการสร้างรายได้อย่างเหมาะสม ครีเอเตอร์จึงควรจัดประเภทเนื้อหาให้ถูกต้องที่สุดเท่าที่จะทำได้
ทำไม? ต้องมีการรับรองด้วยตนเอง (Self-Certification Rate)
เพื่อบอก YouTube ว่ามีเนื้อหาอะไรอยู่ในวิดีโอของคุณบ้างซึ่งการทำ Self-Certification บ่อยๆ จะช่วยให้ระบบ YouTube พิจารณาการสร้างรายได้อย่างรวดเร็ว และแม่นยำยิ่งขึ้น
Self-Certification ทำงานยังไง?
1. ในระหว่างขั้นตอนการอัปโหลดครีเอเตอร์สามารถบอกรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเนื้อหาในวิดีโอ ด้วยการรับรองด้วยตนเอง โดยจะต้องจัดประเภทวิดีโอด้วย
2. ระบบอัตโนมัติของ YouTube จะตรวจสอบและตัดสิน
3. หากไม่เห็นด้วยกับระบบอัตโนมัติ ครีเอเตอร์สามารถขอรับการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ได้
มาดูขั้นตอนการใช้งาน การรับรองด้วยตนเอง (Self-Certification Rate) กันเลยค่ะ
1. อัปโหลดวิดีโอของคุณ ใส่รายละเอียดให้เรียบร้อยเสร็จแล้วกดถัดไป
2. ขั้นตอนการสร้างรายได้ให้กด ‘เปิด’ เพื่อเปิดสร้างรายได้ เสร็จแล้วกดถัดไป
3. ในขั้นตอนนี้จะเป็นการจัดประเภทวิดีโอ โดยอิงตามหลักเกณฑ์เนื้อหาที่เป็นมิตรกับผู้ลงโฆษณา
4. เมื่อเลื่อนลงมาด้านล่าง จะเจอกับตัวเลือกในการตอบคำถามแต่ละข้อ ว่าวิดีโอของคุณมีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไรบ้าง เช่น มีภาษาที่ไม่เหมาะสม มีเนื้อหาที่มีความรุนแรง เป็นต้น
5. สามารถเลือกไม่ตอบคำถามข้างต้น โดยเลือก ‘ไม่ใช่ทั้งหมดข้างต้น’ ก็ได้หากไม่ต้องการอธิบายเกี่ยวกับความเหมาะสมของโฆษณา เสร็จแล้วกดถัดไปได้เลย
6. หลังจากนี้จะเป็นขั้นตอนการใส่องค์ประกอบของคลิปทั่วไป เช่น การใส่ End Screen, Card ให้ครีเอเตอร์ใส่รายละเอียดให้ครบถ้วน เสร็จแล้วกดถัดไปจนจบขั้นตอนการอัปโหลดคลิป และรอการตรวจสอบ
ซึ่งเมื่อป้อนข้อมูล และอัปโหลดวิดีโอเรียบร้อยแล้ว ระบบอัตโนมัติของ YouTube จะประเมินทั้งคำตอบ และเนื้อหาในวิดีโอ ครีเอเตอร์จะเห็นความคิดเห็นโดยตรง ที่มีความละเอียดมากขึ้นจากทีมตรวจสอบ ตัวอย่างเช่น หากวิดีโอที่อัปโหลดมีคำหยาบคาย ความคิดเห็นจากผู้ตรวจสอบจะพูดประมาณว่า “มีการใช้คำหยาบคายมากในช่วงเริ่มต้นของวิดีโอ หรือมีการใช้คำหยาบคายมากหลายครั้งตลอดทั้งวิดีโอซึ่งในส่วนนี้จะรวมถึงวิดีโอที่มีจุดประสงค์ในเชิงตลก สารคดี ข่าว หรือ การศึกษา ด้วยค่ะ
เมื่อได้รับการตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว จากนั้น ไอคอนสีเหลือง (Yellow icon) จึงเปลี่ยนเป็นไอคอนการสร้างรายได้ (Green icon) ซึ่งครีเอเตอร์จะเห็นสถานะการสร้างรายได้ และโอกาสในการสร้างรายได้ สำหรับวิดีโอในแบบเรียลไทม์ค่ะ
โฆษณา