15 ก.ย. 2022 เวลา 23:25 • สิ่งแวดล้อม
แม่เสือโคร่งตัวหนึ่งให้กำเนิดลูกน้อยกลางป่าห้วยขาแข้งจำนวน 2 ตัว เมื่อ กรกฎาคม พ.ศ. 2565
1
หลังจากที่มีกระแสข่าวและมีผู้พบเห็น เสือโคร่งกลางป่าห้วยขาแข้งเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2565 ก็ได้รับการเปิดเผยว่าได้มีแม่เสือโคร่งตัวหนึ่งให้กำเนิดลูกน้อยกลางป่าห้วยขาแข้งจำนวน 2 ตัวซึ่งทางเจ้าหน้าที่ป่าไม้ที่ติดตามดูพฤติกรรมมาโดยตลอดได้แจ้งว่ามีผู้พบเห็น และถ่ายภาพได้ในขณะที่ทั้งสองตัว กำลังหยอกล้อเล่นกันริมน้ำตกอย่างสนุกสนาน ตามประสาสัตว์ป่านั้น
ซึ่งก็สร้างความดีใจให้กับผู้พบเห็นและเจ้าหน้าที่ดูแลพื้นที่ป่าแห่งนี้เป็นอย่างมาก รวมถึงนักท่องเที่ยว ที่นิยมชมชอบเกี่ยวกับเดินป่า สัมผัสธรรมชาติอยู่แล้วนั้น ซึ่งหลังจากการตรวจสอบและได้ข้อมูลมาว่า เจ้าเสือโคร่งทั้งสองตัวนั้น เป็นเสือโคร่งชื่ออภิญญา
ซึ่งนักวิจัยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ติดปลอกคอส่งสัญญาณดาวเทียม คอยเฝ้าติดตามชีวิตและศึกษาเรื่องราวความเป็นอยู่ของเธอมาโดยตลอด – นับตั้งแต่วันท้องย้วยจนถึงวันท้องยุบนั้น เช่นเดียวกับเสือโคร่งอีกหลายๆ ตัวในป่าห้วยขาแข้ง ที่ต่างก็สวมปลอกคอ หรือบ้างก็เรียกว่า ‘สร้อย’ ตามสำนวนของนักวิจัย แต่ไม่ว่าจะเรียกอย่างไร การเฝ้าติดตามศึกษาวิจัยชีวิตเสือโคร่งก็ทำให้เราทราบว่า เสือโคร่งแห่งป่าห้วยขาแข้งยังอยู่ดีมีสุขเป็นส่วนใหญ่
(แม้บางคราวจะข่าวชวนกังวลอย่างการพบเสือบางตัวระหกระเหิน เดินเป๋ออกนอกพื้นที่อนุรักษ์ไปบ้าง แต่ด้วยการทำงานที่ว่องไวของเจ้าหน้าที่ ก็สามารถดึงเอาเสือกลับคืนสู่ป่าได้สำเร็จแทบทุกครั้ง) เพราะบนพื้นที่กว่าล้านเจ็ดแสนไร่แห่งนี้ยังคงอุดมสมบูรณ์ และมีเหยื่อให้ล่าอย่างเพียงพอ อีกทั้งยังมีอาณาเขตกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ผืนป่าอนุรักษ์ที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์ไม่ด้อยไปกว่ากัน คอยเชื่อมร้อยความสัมพันธ์ของชีวิตอย่างเกื้อหนุนจุนเจือ
ซึ่งตามรายงานของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เมื่อวันเสือโคร่งโลก (29 กรกฎาคม) ปี 2565 พบว่าผืนป่าห้วยขาแข้งและทุ่งใหญ่นเรศวรมีเสือโคร่งสายพันธุ์อินโดจีนอาศัยอยู่ร่วมๆ 100 ตัว เรียกได้ว่าเกินกว่าครึ่งของจำนวนเสือโคร่งที่มีอยู่ในป่าธรรมชาติของประเทศไทย – ประมาณ 140-180 ตัว
และยังกล่าวได้อีกว่าห้วยขาแข้ง คือแหล่งพันธุกรรมเสือโคร่งสายพันธุ์อินโดจีนแห่งสุดท้ายของโลก
เนื่องจากข้อมูลการปรับปรุงจำนวนประชากรเสือโคร่งเมื่อปี พ.ศ. 2559 บ่งชี้ว่า เสือโคร่งสายพันธุ์อินโดจีนที่อาศัยอยู่ในประเทศเวียดนาม ลาว เมียนมา และกัมพูชา ไม่มีที่ใดเพิ่มจำนวนขึ้นเลย ซ้ำยังมีแนวโน้มลดลงอีกต่างหาก
โดยในเมียนมา ไม่มีข้อมูลที่น่าเชื่อถือออกมาหลายปีแล้ว ส่วนประเทศอื่นๆ เสือโคร่งต้องเผชิญภัยคุกคามจากการล่าอย่างรุนแรง และไม่พบเห็นมาเป็นเวลานาน จนทำให้เชื่อได้ว่าอาจสูญพันธุ์ไปจากถิ่นที่อยู่ในธรรมชาติเป็นที่เรียบร้อย ตรงกันข้ามกับผืนป่าห้วยขาแข้ง ที่จำนวนเสือโคร่งยังคงเพิ่มขึ้น แม้จะมีล้มหายตายจาก หรือกระจายตัวออกไปอยู่ยังผืนป่าใกล้เคียง
ทั้งทุ่งใหญ่นเรศวร แม่วงก์ และคลองลาน หรือในป่าอื่นๆ ที่เชื่อมร้อยถึงกันในกลุ่มป่าตะวันตก แต่โดยรวมประชากรเสือโคร่งในผืนป่าห้วยขาแข้งก็ยังคงหนาแน่นกว่าผืนป่าใดๆ ในประเทศ ซึ่งนั่นเป็นเพราะจากอดีตที่ผ่านมา ผืนป่าอันอุดมสมบูรณ์แห่งนี้ได้รับการปกป้องดูแลมาโดยตลอด นับเนื่องตั้งแต่การสำรวจป่าห้วยขาแข้งของคุณผ่อง เล่งอี้ ในวันที่อำเภอลานสักยังไม่มีถนนหนทาง จน
2
นำมาสู่การประกาศเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าในปี พ.ศ. 2515 ต่อเนื่องเรื่อยมาจนถึงการคัดค้านเปิดป่าทำสัมปทานไม้ของคุณสืบ นาคะเสถียร และประชาชนชาวอุทัยธานีในปี พ.ศ. 2531
และในสมัยที่คุณสืบ นาคะเสถียร ดำรงตำแหน่งหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ก็มีการทำการทำแผนแม่บทการจัดการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ห้วยขาแข้ง ร่วมกับคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตลอดจนรายงาน Nomination of The Thung Yai – Huai Kha Khaeng Wildlife Sanctuary หรือ รายงานเสนอเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง
เพื่อเข้าร่วมเป็นมรดกโลกกับยูเนสโก จนผืนป่าทั้งสองแห่งได้รับรองให้เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติในปี พ.ศ. 2534
แน่นอนว่า เสียงปืนของเช้ามืดวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2533 ก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้ข้าราชการกรมป่าไม้ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หันมาให้ความสำคัญกับผืนป่าห้วยขาแข้งเพิ่มมากขึ้น เหล่านี้คือเรื่องราวจุดเริ่มต้นงานอนุรักษ์ในอดีต ก่อนจะพัฒนาระบบงานตามมาอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของงานวิจัยเสือโคร่ง ของสถานีวิจัยสัตว์ป่าเขานางรำ ที่วันนี้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล การ
ทำงานลาดตระเวนเชิงคุณภาพ (SMART Patrol) ก็มีป่าห้วยขาแข้งเป็นพื้นที่นำร่อง และกลายเป็นแม่แบบของงานลาดตระเวนเชิงคุณภาพให้กับพื้นที่อื่นๆ ต่อมา การวางแผนและการทำงานต่างๆ มากมายเหล่านี้เป็นไปอย่างสอดคล้องกับบริบทของผืนป่า ที่เหมาะกับการเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของเสือโคร่ง
กล่าวคือ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ถือเป็นศูนย์รวมการกระจายพันธุ์ของสัตว์ป่าและพันธุ์พืช จาก 4 ภูมิภาคของเอเซีย คือ ภูมิภาคซิโน-หิมาลายัน, อินโด-เบอร์มีส, อินโดจีน และซุนดาอิค ประกอบด้วยความหลากหลายของสภาพป่า และสภาพภูมิประเทศมีความเหมาะสมต่อความเป็นบ้านของสัตว์ป่าหลายชนิด โดยเฉพาะประชากรสัตว์กีบที่เป็นเหยื่อของเสือโคร่ง
จากข้อมูลงานวิจัยของ สมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (WCS) ประเทศไทย (2559) ได้ตรวจวัดประชากรเหยื่อของเสือโคร่งในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง พบว่าสัตว์หลักๆ
ที่เสือโคร่งชอบกิน 5 อันดับ ได้แก่ กระทิง วัวแดง กวาง เก้ง และหมูป่า ซึ่งในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง พบสัตว์ทั้ง 5 ชนิด โดยมีความหนาแน่น 6 ตัวต่อตารางกิโลเมตร ซึ่งถือว่ามีความหนาแน่นของประชากรเหยื่อเพียงพอต่อการดำรงชีวิตของเสือโคร่ง โดยใน 1 ปี เสือโคร่ง 1 ตัว จะล่าเหยื่อประมาณ 54 ตัว เพื่อเป็นอาหาร
ขณะเดียวกันสัตว์ก็มีพืชอาหารมากมายพอกิน อีกทั้งมีงานด้านการเพิ่มจำนวนประชากรสัตว์กีบขนาดเล็กของสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยขาแข้งช่วยหนุนเสริม ที่รวมๆ แล้ว สามารถอธิบายแบบสั้นๆ ได้ว่า ‘เสือโคร่ง’ สามารถเป็นดัชนีชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าที่มีสัตว์ป่าดำรงอยู่ได้อย่างชัดเจน
เมื่อมีความสมบูรณ์พูนพร้อมกันอย่างสัมพันธ์ต่อกันเช่นนี้ จึงไม่แปลกที่ป่าห้วยขาแข้ง จะเป็นบ้านและแหล่งพันธุกรรมที่สำคัญของเสือโคร่ง ทั้งในระดับประเทศ และระดับโลกเลยก็ว่าได้ แต่เสือโคร่งทุกตัวก็ไม่โชคดีเท่ากับลูกเสือโคร่งสองตัวนี้เสมอไป เพราะถึงอย่างไร ก็ยังมีการลักลอบล่าสัตว์ป่านำออกมาขาย และยังคงมีลูกเสือโคร่งอีกหลายตัวที่ถูกล่าโดยการที่ต้องฆ่าแม่ ของมันให้ตายแล้วนำลูกมาขายในตลาดค้าสัตว์ป่า หรือที่เรียกว่า “ตลาดมืดค้าสัตว์
ดังเช่นตัวอย่างกรณีของ “น้องขวัญ” ที่ถูกช่วยจากขบวนการค้าสัตว์ป่า ที่ถูกเปิดเผยเมื่อวันที่ 16 เมษายน 2565 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เปิดเผยเรื่อง "สัตว์ป่าของกลาง" กับโอกาสได้กลับคืนสู่ป่าซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ และกรณีลูกเสือโคร่งของกลาง “น้องขวัญ” มีโอกาสน้อยมากที่จะส่งกลับคืนสู่ธรรมชาติ เหมือนเช่นลูกเสือโคร่งที่ป่าห้วยขาแข้งนั้น
สำหรับกรณีน้องขวัญ ลูกเสือโคร่งของกลาง ที่ได้จากการจับกุมเมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา และนำมาดูแลต่อที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงฉวากและศูนย์พัฒนาการจัดการสัตว์ป่าบึงฉวาก จังหวัดสุพรรณบุรี โดยในอยู่ในการดูแลของมูลนิธิการต่อต้านการค้าจำหน่ายสัตว์ป่า โดยนางสาวกัญจนา ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา ในฐานะ ที่ปรึกษาคณะทำงานยุทธศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2
สำหรับน้องขวัญนั้นหลายคนก็อาจจะสงสัยและได้เข้าไปสอบถามบนเพจเฟซบุ๊ค thailand tiger project dnp ว่า กรณี "น้องขวัญ" ถ้าเติบโตขึ้นแล้ว จะสามารถปล่อยเข้าป่าได้หรือไม่ ในเมื่อเค้าไม่มีแม่คอยสอน หรือว่าต้องกลายเป็นเสือเลี้ยงไปแล้ว ได้รับคำตอบว่า “คงต้องเป็นเสือเลี้ยง”ตลอดไป
และขณะนี้น้องขวัญมีสุขภาพดี ร่าเริง กินเก่ง และมีขนาดโตขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้นจึงต้องสร้างที่อยู่อาศัยใหม่เพื่อรองรับน้องขวัญในช่วงที่วัยโตเต็มวัยและเพื่อดำรงชีพอยู่ไปตลอดชีวิต ซึ่งได้มีโดยการออกแบบกรงใช้พื้นที่ 146 ตาราเมตร ออกแบบให้เทียบเคียงกับธรรมชาติ มีธารน้ำตก ถ้ำ หาดทราย ปรับภูมิทัศน์ให้ใกล้เคียงกับป่า เพื่อสนองต่อความเป็นอยู่ตามสัญชาตญาณเดิมของเสือโคร่งที่ควรจะเป็นเท่าที่จะทำได้
ทั้งนี้นางสาวกัญจนา ศิลปอาชา ได้กล่าวว่า สำหรับกรณีน้องขวัญ ลูกเสือโคร่ง ถือเป็นการจุดประกายให้ประชาชนและสังคมได้ตระหนักรู้เกี่ยวกับการทำผิดกฎหมายด้านการลักลอบค้าสัตว์ป่า ซึ่งเกิดจากการบังคับใช้กฎหมายและมาตรการเข้มข้นมากขึ้นของกรมอุทยานแห่งชาติฯ ซึ่งช่วง 2-3 ปีหลังนี้
มีการทำงานที่เห็นผลชัดเจนขึ้นมาก ซึ่งตนในฐานะคนทำงาน พร้อมเข้าช่วยสัตว์ป่าในเรื่องความเป็นอยู่ และจะใช้กลไกรัฐสภา ผลักดันสวัสดิภาพสัตว์ป่าอย่างเต็มที่ต่อไป ทั้งนี้อยากฝากถึงประชาชนทั่วไปให้หันมาสนับสนุนการเที่ยวชมในกิจกรรมที่ไม่เป็นการรบกวนสัตว์ โดยการชม “ด้วยตา มืออย่าต้อง” จะไม่เป็นการสนับสนุนการทารุณสัตว์และไม่ทำให้สัตว์เกิดความเครียดด้วย”
ซึ่งสำหรับเจ้าเสือโคร่งน้อย 2 ตัวที่กลางป่าห้วยขาแข้งนั้น ทางเจ้าหน้าอุทธยานก็คงต้องเฝ้าระวังและดูแลให้เจริญเติมโตขึ้นมาในป่าที่อุดมณ์สมบูรณ์ต่อไป เพื่อที่จะได้ สืบลูกสืบหลานเพิ่มจำนวนประชากรเสือโคร่งในประเทศไทยให้เพิ่มขึ้นกว่าเดิมด้วย
โฆษณา