16 ก.ย. 2022 เวลา 04:59 • ความคิดเห็น
Never let a good crisis go to waste ตอนที่ 1: Crisis is the best changing agent
คำพูดนี้ถูกพูดออกมาจากปากของผู้นำ และนักปรัชญาหลาย ๆ คน ไม่ว่าจะเป็น Niccolo Machiavelli นักปรัชญาชาวอิตาเลียน ผู้แต่งหนังสือชื่อดังอย่าง The Prince ซึ่งคนยอมรับกันว่ากล่าวประโยคที่มีความหมายในลักษณะนี้เป็นคนแรก Winston Churchill ผู้ที่มีส่วนก่อตั้งองค์การสหประชาชาติหลังสงครามโลกครั้งที่สอง หรือ Frankin D. Roosevelt ประธานาธิบดีสหรัฐที่กอบกู้เศรษฐกิจหลังจากวิกฤติการณ์เศรษฐกิจในปี 1929 (ถึงแม้จะไม่ได้พูดประโยคนี้ออกมาตรง ๆ ก็ตาม แต่ก็เป็นสิ่งที่เขาทำภายใต้โครงการ The New Deal
ในมุมหนึ่ง ทุกครั้งที่เกิดวิกฤติการณ์ใด ๆ มันจะทำให้ทัศนคติของคนต่อเรื่องหนึ่งเรื่องใดเปลี่ยนแปลงไป และรู้สึกว่าสถานการณ์ที่เป็นอยู่ (status quo) มันไม่ได้เป็นสิ่งที่ดีที่สุดอีกต่อไป หากเรามีโอกาส เราก็ควรรีบฉกฉวยโอกาสนั้นในการสร้างความเปลี่ยนแปลงทันที
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุด คงหนีไม่พ้น COVID-19 ที่เปลี่ยนแปลงองค์กร สังคม การใช้ชีวิต ได้เร็วกว่า CEO หรือ Consultant หน้าไหน ๆ ที่ทำให้เกิด cashless society, remote working, teleconference, RNA vaccine เป็นต้น ทั้ง ๆ ที่สิ่งเหล่านี้เป็นเทคโนโลยีที่มีมานานแล้ว แต่กลับไม่ได้นำมาใช้กันอย่างจริงจัง
1
อย่างในบริบทของวงการไอทีที่ผมทำงานอยู่ มันเป็นเรื่องธรรมดามาก ๆ ที่เราจะมองข้ามเรื่องสำคัญต่าง ๆ โดยเฉพาะเวลาที่มันยังไม่ได้เกิดขึ้นกับเรา ไม่ว่าจะเป็น ransomware, hacking, แอปล่ม, ระบบล่ม สิ่งเหล่านี้ผู้บริหารมักจะมองข้ามความสำคัญไปมาก ให้ความสนใจแต่เวลาที่ app ถูก launch หรือไปสนใจแต่การทำการตลาด
2
พอเกิดเหตุการณ์ในลักษณะแบบนี้ขึ้น ผมจะใช้โอกาสนี้เองในการผลักดันสิ่งที่เรายังทำได้ไม่ดีอยู่เสมอ ๆ สำเร็จบ้าง ล้มเหลวบ้าง แต่ก็ต้องถือว่าเป็นช่วงเวลาที่ใช้พลังน้อยที่สุด ได้ผลลัพธ์มากที่สุดเลยทีเดียว
3
ตัวอย่างเช่น การปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบ (performance tuning) ซึ่งในภาวะปกติไม่มีใครให้ความสนใจ แต่พอเกิดปัญหา ไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมการ ผู้บริหาร หรือแม้แต่คนหน้างานจะให้ความสำคัญทันที และพร้อมที่จะให้ทรัพยากร เพื่อแก้ไขเรื่องดังกล่าวทันที ยิ่งถ้าเป็นสิ่งที่คนภายนอกเห็นได้ชัดอย่างเช่น แอปธนาคาร ที่ล่มปุ๊บ คนก็พร้อมที่จะปิดบัญชี ย้ายไปใช้ที่อื่นทันที แถมยังช่วยกันคอมเมนท์ในเชิงลบตามสื่อโซเชียลอีกด้วย
1
ในช่วงหลาย ๆ ปีที่ผมทำงานนี้ ผมก็ได้ใช้โอกาสนี้ในการเปลี่ยนแปลงระบบให้ดีขึ้น ในบางกรณีก็ทำให้ระบบเร็วขึ้นตั้งแต่ 10% หรือบางครั้งก็เป็น 10000% เลยทีเดียว ซึ่งก็ทำให้ลูกค้ามีความพึงพอใจสูงขึ้น เพราะต้องรอนานน้อยลง ล่มน้อยลง ส่วนองค์กรเองก็เสียค่าใช้จ่ายในการขยายระบบน้อยลง หรือช่วยให้องค์กรออกมาจากจุดอับได้ หากการขยายระบบทำได้ช้า หรือขยายไปก็ไม่เพียงพอที่จะแก้ปัญหาได้
1
ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้มีตั้งแต่แก้ไข Config ของระบบหนึ่งบรรทัด แก้ไข database query ให้ดีขึ้น รวมไปถึงการแก้สถาปัตยกรรมองค์กร และการเขียนระบบใหม่ที่ใช้เวลาแก้กันเป็นปีเลยทีเดียว ซึ่งในหลายการแก้ไขเหล่านี้ ผมเคยได้ผลักดันไปแล้วในช่วงเวลาปกติ แต่ก็ไม่ค่อยเกิดผล เพราะคนไม่อยากไปแตะของที่ทำงานได้อยู่แล้ว ทำดี อาจจะเสมอตัว หรือดีขึ้นนิดหน่อย แต่พอผิดพลาด ก็โดนลงโทษ เป็นต้น
1
เดี๋ยวตอนหน้า เรามาเรียนรู้ถึงประโยชน์ของวิกฤติการณ์อีกมุมกันบ้างครับ
โฆษณา