19 ก.ย. 2022 เวลา 12:00 • คริปโทเคอร์เรนซี
Fed ขึ้นอัตราดอกเบี้ยไม่หยุดแบบนี้ มีโอกาสที่จะเกิดเศรษฐกิจถดถอยมากน้อยแค่ไหน ?
หากใครได้ตามข่าวเศรษฐกิจโลกน่าจะรู้กันบ้างว่า ตอนนี้ FED หรือธนาคารกลางสหรัฐมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อป้องกันเงินเฟ้อมาติดต่อกันแล้วถึง 2 ไตรมาส หรืออยู่ที่ 1.75% ซึ่งก็ถือเป็นการขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่บ่อยครั้งมากเมื่อเทียบกับหลายปีที่ผ่านมา และนี่อาจจะเป็นสาเหตุให้หลายคนอาจจะเริ่มกังวลขึ้นมาบ้างแล้วว่า สภาพเศรษฐกิจตอนนี้ยังไปต่อได้มั้ย หรือเริ่มเข้าสู่ Reccesion แล้ว ?
ดังนั้นเพื่อไขข้อสงสัย วันนี้แอดจะพาไปวิเคราะห์เบื้องต้นกันดีกว่าว่า ถ้าหาก Fed ขึ้นอัตราดอกเบี้ยไม่หยุดแบบนี้ มีโอกาสที่จะเกิดเศรษฐกิจถดถอยบ้างมั้ย และถ้ามีโอกาสเกิดขึ้น จะมีสิทธิ์เกิดขึ้นได้มากน้อยแค่ไหนกัน และจะส่งผลกระทบต่อการลงทุนยังไงได้บ้าง เผื่อใครกำลังวางแผนการลงทุนช่วงนี้ จะได้ไม่พลาดโอกาสกันค่าา
ส่วนจะมีข้อมูลอะไรที่น่าสนใจบ้างนั้น เราไปดูกันเล๊ยยย
นี่ไม่ใช่คำแนะนำในการลงทุน การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลด้วยตนเองก่อนทุกครั้ง
==========================
ถ้าชอบคอนเทนต์แบบนี้ อย่าลืมกดไลค์ กดติดตามเพจไว้นะคะ จะได้ไม่พลาดสาระดี ๆ จากเพจของเรา
สถิติการเกิดเศรษฐกิจถดถอยของสหรัฐในอดีต
ก่อนจะไปตอบคำถามที่ว่า หลังจาก FED ขึ้นอัตราดอกเบี้ยหลายครั้ง จะเกิดภาวะเศรษฐกิจ “ถดถอย” มั้ย แอดอยากให้เพื่อน ๆ ลองมาดูสถิติในประวัติศาสตร์ของ FED กันก่อนดีกว่าว่า การขึ้นดอกเบี้ยที่ผ่านมาแต่ละครั้งนั้น เคยให้ผลลัพธ์ออกมาเป็นแบบไหนบ้าง
โดยจากสถิติตั้งแต่ปี 1961 - 2022 Fed ได้มีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อป้องกันเงินเฟ้อมาแล้วด้วยกันทั้งหมด 10 ครั้ง และผลลัพธ์ออกมาเป็นดังนี้
1.เกิดเศรษฐกิจถดถอยแบบชะลอตัว (Soft landing) 3 ครั้ง
2.เกิดเศรษฐกิจถดถอยอย่างรุนแรง (Hard landing) 7 ครั้ง
ซึ่งหากลองมาเทียบเป็นสัดส่วนแล้วจะพบว่า มีถึง 7 ใน 10 ครั้ง หรือประมาณ 70% เลยทีเดียวที่เกิด Reccession ขึ้น ดังนั้นถ้าหากเราอ้างอิงจากสถิติตรงนี้อาจจะพออนุมานได้แล้วบ้างว่า สถานการณ์ปัจจุบันอาจจะกำลังเริ่มเข้าสู่เศรษฐกิจ “ถดถอย” แล้ว
สถานการณ์เงินเฟ้อทั่วโลก
และยิ่งกว่านั้น หากเราลองมาดูสถาการณ์เงินเฟ้อจากทั่วโลก จะพบว่า ตอนนี้มีเกือบทุกประเทศมีอัตรา Inflation ที่สูงมาก แต่ในขณะเดียวกันอัตราการขึ้นดอกเบี้ยยังกลับอยู่ในระดับต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโซนยุโรปที่มีเงินเฟ้อสูงถึง 8.90% แต่ดอกเบี้ยยังอยู่ที่ 0.5% และสหรัฐที่มีเงินเฟ้อ 8.5% แต่อัตราดอกเบี้ยกลับอยู่ที่ 2.5% หรือแม้แต่ไทยเองก็ตามก็ยังคงมีเงินเฟ้อที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยอยู่หลายเท่าตัว
ก็เรียกได้ว่า ถ้าหากเงินยังเฟ้อสูงอยู่แบบนี้ โอกาสที่ธนาคารจะปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันจะมีสูงมาก และยิ่งปรับอัตราดอกเบี้ยสูงและหลายครั้งมากเท่าไร โอกาสที่จะเกิด Reccession ขึ้นก็จะมีสูงตามไปมากเท่านั้น
ผลกระทบต่อสินทรัพย์เสี่ยง
เมื่อไรก็ตามที่เกิด Recession หรือเศรษฐกิจถดถอยขึ้น ภาคธุรกิจหลายอย่างจะกระทบอย่างหนัก และมันจะส่งผลโดยตรงต่อการจ่ายดอกเบี้ยของผู้ประกอบการ และผู้คนในประเทศ ทำให้เมื่อไรก็ตามที่ดอกเบี้ยสูงขึ้น ต้นทุนการผลิตก็จะมากขึ้น และเมื่อต้นทุนมากขึ้น ข้าวของก็จะแพง และภาระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ จะมาตกอยู่ที่ผู้บริโภค และเมื่อผู้บริโภคกำลังซื้อไม่พอ ธุรกิจก็จะไม่เติบโตและไม่มีกำไร
ก็เรียกได้ว่า เป็นผลกระทบแบบโดมิโนเอฟเฟกต์เลยทีเดียว และด้วยสาเหตุนี้เอง ก็อาจจะทำให้นักลงทุนส่วนใหญ่เลือกที่จะดึงเงินจากสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงอย่าง หุ้นหรือคริปโต ย้ายไปยังสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำอย่างตราสารหนี้ หรือทองไว้ก่อนเพื่อความปลอดภัย (ราคาสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงจะร่วงหนัก)
และสุดท้ายหากเพื่อน ๆ ยังเป็นมือใหม่ที่กำลังวางแผนการลงทุนในช่วงนี้ แอดแนะนำว่ารอดูสถานการณ์ไปก่อนจะดีกว่า ซึ่งถ้าหาก Recession มาจริงเราอาจจะได้เจอสินทรัพย์ถูก ๆ ที่มีมูลค่าต่ำกว่าที่แท้จริงอีกเพียบเลยก็เป็นได้…
ก็จบไปแล้วน้า หวังว่าคอนเทนต์นี้น่าจะเป็นประโยชน์ให้กับเพื่อน ๆ ได้ไม่มากก็น้อยนะคะ ^^
โฆษณา