21 ก.ย. 2022 เวลา 11:50 • ธุรกิจ
จีนกำลังเขมือบ ธุรกิจอาหารทั่วโลก ให้อยู่ในมือตัวเอง
“อาหารคนจีน ต้องอยู่ในมือของคนจีน” นี่คือคำพูดของสี จิ้นผิง ผู้นำของจีนที่อยากสร้างความมั่นใจว่าคนจีนจะต้องไม่ขาดแคลนอาหาร รวมถึงต้องมีอำนาจในการควบคุมผลผลิตทางอาหารจากประเทศอื่น ๆ ได้
3
ปัจจุบัน จีนเป็นผู้นำเข้าอาหารมากที่สุดของโลก มูลค่าสูงกว่า 4.1 ล้านล้านบาท
โดยเฉพาะเนื้อสัตว์และธัญพืช ที่จีนเป็นประเทศผู้นำเข้าอันดับ 1 ในโลก
1
ทำไม จีน ต้องนำเข้าอาหารมากขนาดนี้
แล้วผู้นำจีนคิดอะไรอยู่ ถึงอยากมีอำนาจในการควบคุมอาหารทั่วโลกให้ได้ ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
จีนมีพื้นที่เพาะปลูกส่วนใหญ่ อยู่บริเวณตอนกลางและตอนเหนือของประเทศ ติดกับฝั่งทะเลด้านตะวันออก
โดยมีพื้นที่ประมาณ 1.4 ล้านตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็น 10% ของพื้นที่เพาะปลูกทั่วโลก
ซึ่งก็ยังนับว่าเป็นประเทศที่มีพื้นที่สำหรับทำเกษตรกรรม ใหญ่ที่สุดในโลกอีกด้วย
1
แม้ว่าจีนจะเป็นผู้ผลิตอาหารรายใหญ่ของโลกก็จริง แต่ด้วยประชากรที่มีจำนวนมากถึง 1,400 ล้านคน
จึงทำให้การมีผลผลิตที่เพียงพอ ต่อความต้องการบริโภคทั้งหมดภายในประเทศ เป็นเรื่องที่ท้าทายพอสมควร
2
เพราะจีนเอง ก็ต้องเจอกับปัญหาการทำเกษตรกรรมภายในประเทศหลายเรื่องด้วยกัน
โดยเรื่องแรกเลย คือ “พื้นที่เกษตรกรรมต่อประชากรที่น้อย”
2
แม้จะมีพื้นที่เกษตรกรรมเยอะก็จริง แต่หากเทียบต่อประชากรทั้งประเทศแล้ว จะพบว่า
1
- จีน มีพื้นที่เกษตรกรรม 0.09 เฮกตาร์ต่อคน
- ทวีปเอเชีย มีพื้นที่เกษตรกรรม 0.19 เฮกตาร์ต่อคน
- ทั้งโลก มีพื้นที่เกษตรกรรม 0.20 เฮกตาร์ต่อคน
5
จะเห็นได้ว่าจีนมีพื้นที่สำหรับทำเกษตรกรรมต่อหัว น้อยกว่าค่าเฉลี่ยของทั้งทวีปเอเชียและทั่วโลกมาก
จึงไม่เพียงพอต่อความต้องการ
1
เรื่องต่อมา คือ “พื้นที่เกษตรกรรมมีคุณภาพลดลงอย่างต่อเนื่อง”
3
สัดส่วนการใช้ปุ๋ยและยาฆ่าแมลง ในพื้นที่เกษตรกรรมของจีน สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
แม้จะมีการขยายระบบชลประทาน เพื่อรองรับการเติบโตของการทำเกษตรกรรม
แต่กลับพบว่า ผลผลิตที่ออกมานั้น ไม่ได้เพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดดเลยแม้แต่น้อย
2
และอีกเรื่องหนึ่ง ก็คือ “คนจีนมีรายได้เพิ่มขึ้น”
หากเรามาดูจำนวนชนชั้นกลางของจีน พบว่า
 
- ปี 2000 มีจำนวน 3% ของประชากรทั้งหมด
- ปี 2018 มีจำนวน 51% ของประชากรทั้งหมด
19
จะเห็นได้ว่า ภายในระยะเวลาเพียง 18 ปี จำนวนประชากรที่มีรายได้แบบชนชั้นกลาง เพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด จนมีสัดส่วนเป็นครึ่งหนึ่งของประเทศ
3
เรื่องนี้ทำให้คนจีนมีการกินอาหารที่เปลี่ยนแปลงไป จากที่กินเพียงแค่ธัญพืช นำไปสู่การกินเนื้อสัตว์ และอาหารที่มีราคาแพงมากขึ้น ทำให้การบริโภคต่อคนสูงขึ้นตามไปด้วย
4
จีนจึงตกอยู่ในสถานะที่เราเรียกกันว่า “ความมั่นคงทางอาหารต่ำ”
3
เพราะในปัจจุบัน จีนมีความมั่นคงทางอาหารเป็นอันดับที่ 33 ของโลก ตามหลังประเทศยักษ์ใหญ่ของโลก ทั้งสหรัฐอเมริกา เยอรมนี ญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักร
4
เรื่องความมั่นคงทางอาหารที่ต่ำนี้เอง ทำให้จีนจำเป็นต้องนำเข้าอาหารจากต่างประเทศ เป็นจำนวนมากทุกปี โดยเฉพาะอาหารหลัก เช่น ข้าว ถั่วเหลือง หรือเนื้อสัตว์
3
รู้หรือไม่ว่า จีนมีการนำเข้าธัญพืชมากถึง 1 ใน 3 ของผลผลิต ที่นำเข้ามาทั้งหมดในทวีปเอเชียเลยทีเดียว
เรื่องดังกล่าวทำให้รัฐบาลจีน คิดที่จะกระจายความเสี่ยงด้านความมั่นคงทางอาหารของตัวเอง
เพื่อรองรับเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เช่น ซัปพลายเชนทั่วโลกหยุดชะงัก ความขัดแย้งระหว่างประเทศ หรือความไม่แน่นอนของภัยธรรมชาติ
2
จึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ว่า ทำไมปัจจุบัน จีนกำลังเร่งเข้าไปลงทุนในธุรกิจอาหารทั่วโลก
โดยรัฐวิสาหกิจจีนที่เข้ามามีบทบาทเกี่ยวกับเรื่องนี้ ชื่อว่า “COFCO”
2
แล้ว COFCO คืออะไร ?
2
COFCO ถูกก่อตั้งในปี 1949 โดยในช่วงแรกเริ่ม จะคอยลงทุนในธุรกิจการเกษตรภายในประเทศเท่านั้น ตั้งแต่การลงทุนในฟาร์มเกษตร ไปจนถึงการจัดเก็บและการขนส่งทั้งประเทศ
3
เมื่อรัฐบาลจีนเริ่มเปลี่ยนแนวคิด ที่จะส่งธุรกิจจีนออกไปลงทุนในระดับโลกมากขึ้น
COFCO จึงเริ่มดำเนินธุรกิจ ลงทุนฟาร์มเกษตร รวบรวมสินค้า จัดเก็บ และขนส่งอาหาร
3
โดยปัจจุบัน มีการทำธุรกิจไปกว่า 35 ประเทศ โดยมีทั้งท่าเรือ โกดัง และสำนักงานการค้าอยู่ทุกทวีปอีกด้วย
2
นอกจากนี้ ยังมีการเข้าซื้อกิจการเกี่ยวกับเกษตรกรรมในหลายแห่งของโลก เช่น
- ธุรกิจ Noble Agri ของฮ่องกง ที่ทำธุรกิจจัดหาและส่งออกสินค้าเกษตรไปยังทวีปแอฟริกา
- ธุรกิจ Nidera ของเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นผู้ส่งออกเมล็ดพันธุ์พืชระดับโลก
6
โดยทั้ง 2 ธุรกิจนี้ COFCO ใช้เงินลงทุนไปกว่า 103,460 ล้านบาท
เพื่อแลกกับสัดส่วนความเป็นเจ้าของ 49-51% เท่านั้น
1
แต่ต่อมาก็ได้ไล่ซื้อหุ้นที่เหลือ จนกลายเป็นเจ้าของทั้งบริษัท
ซึ่งเงินลงทุนบางส่วนของ COFCO ก็ได้รับมาจาก ธนาคารเพื่อการพัฒนาประเทศของจีน เป็นจำนวนประมาณ 173,000 ล้านบาท
4
นอกจากนี้ COFCO ก็ยังมีการไปเข้าซื้อธุรกิจ Tully Sugar ผู้ผลิตน้ำตาลสัญชาติออสเตรเลีย
ด้วยมูลค่า 5,360 ล้านบาท
2
ในขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกา COFCO ก็มีการไปลงทุนร่วมกับ Growmark กลุ่มเกษตรกรรายใหญ่อันดับ 2 ของสหรัฐอเมริกา ที่เชี่ยวชาญในเรื่องการผลิตธัญพืช เช่น ข้าวโพด ถั่วเหลือง เพื่อการส่งออกอีกด้วย
2
ถึงตรงนี้ จะเห็นได้ว่า COFCO กลายเป็นบริษัทของจีน ที่ช่วยสร้างความมั่นคงทางอาหารในจีนเพิ่มขึ้น
5
ซึ่งการดำเนินธุรกิจของรัฐวิสาหกิจแห่งนี้
จะเน้นการลงทุนในภูมิภาคที่มีการส่งออกอาหารทั่วโลก
โดยเฉพาะทวีปอเมริกาใต้ ที่มีการเข้าไปลงทุนมากถึง 60% ของสินทรัพย์ทั้งหมดในบริษัท
2
หรือการเข้าไปลงทุน ในประเทศยุโรปตะวันออก และบริเวณรัสเซีย
ที่มีการผลิตธัญพืชในสัดส่วนที่สูง เช่น รัสเซีย ยูเครน
โดยในสถานการณ์ปัจจุบัน อาจได้รับผลกระทบในการทำธุรกิจอยู่บ้าง
2
แต่ด้วยการกระจายการลงทุนไปทั่วโลก ทำให้ COFCO ยังสามารถทำธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง
2
ที่น่าสนใจก็คือ เรื่องนี้อาจกลายเป็นความเสี่ยงให้กับอาหารทั่วโลกได้เช่นกัน ด้วยเหตุผลที่ว่า “การมีอำนาจควบคุมอาหารของจีน”
3
การเข้าลงทุนของ COFCO เป็นการลงทุนในธุรกิจแบบเบ็ดเสร็จ
เพราะมีทั้งธุรกิจฟาร์มเกษตร การขนส่ง การจัดเก็บสินค้า และศูนย์กระจายสินค้า อยู่ในสถานที่แห่งเดียวกัน กลายเป็นว่าจีนสามารถควบคุมการส่งอาหารทั่วโลกได้ ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง
4
อีกทั้ง หากเกิดความขัดแย้งระหว่างประเทศ อาจทำให้จีนสามารถใช้ธุรกิจนี้ เป็นเครื่องมือสำคัญในการเจรจาและต่อรอง ซึ่งยิ่งทำให้สถานการณ์ราคาอาหารทั่วโลก อาจมีความปั่นป่วนได้เช่นกัน
1
ดังเช่นในช่วงสงครามการค้า ระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน
แม้ว่าสหรัฐอเมริกาจะห้ามการส่งออกสินค้าเกษตรไปยังจีน
แต่ด้วยการเข้าไปลงทุนของ COFCO และธุรกิจการเกษตรของจีน
การนำเข้าสินค้าเกษตรจากทวีปอเมริกาใต้ จึงเข้ามาทดแทนการนำเข้าจากสหรัฐอเมริกามากขึ้น
3
กลายเป็นว่าจีนค่อนข้างได้รับผลกระทบที่น้อย เมื่อเทียบกับสหรัฐอเมริกา
และผลกระทบจากสงครามการค้า ก็ไปเกิดขึ้นอย่างมากกับประเทศอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องแทน
ทั้งหมดนี้ คือสิ่งที่รัฐบาลจีนพยายามทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อต้องการสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับประเทศ แต่ก็สามารถทำธุรกิจเกี่ยวกับเกษตรกรรมแบบครบวงจรไปทั่วโลกได้ควบคู่กัน
2
ซึ่งก็ไม่ต่างอะไรกับการเป็นพ่อค้าคนกลางด้านอาหารของโลก
เพราะ COFCO รัฐวิสาหกิจผู้มีบทบาทสำคัญของจีน มีการรวบรวม จัดเก็บ และขนส่งอาหารไปยังประเทศต่าง ๆ เกือบทุกทวีป ซึ่งสามารถสร้างรายได้สูงถึง 122,000 ล้านบาท ในปีที่ผ่านมา
5
และหากประเทศไทย อยากเป็นครัวของโลกอย่างต่อเนื่อง
การต้องเจอกับพ่อค้าคนกลางด้านอาหาร อย่างจีน ก็จะเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้..
3
หนังสือ BRANDING THE NATION หนังสือที่เล่าถึงการสร้างแบรนด์ของแต่ละประเทศที่ทำให้ แต่ละประเทศเป็นแบบทุกวันนี้
เช่น ทำไมเยอรมนีเป็นประเทศแห่งรถยนต์ ทำไมฝรั่งเศสเป็นประเทศแห่งแบรนด์หรู สั่งซื้อเลยที่
โฆษณา