22 ก.ย. 2022 เวลา 06:11 • ความคิดเห็น
มังกรโบราณ
ที่ยังผงาดอยู่
หากพูดถึงนักปราชญ์แล้ว
แน่นอนว่านักปราชญ์ชาวจีน
ต้องถูกพูดถึงอยู่ในนั้นด้วย
ด้วยเพราะนักปราชญ์จีน
จะมีผลงานที่ให้แง่คิด
การดำเนินชีวิตที่ล้ำลึก สะกิดใจ
ใช้คำไม่มาก แต่เข้าถึงแก่นแท้ของความคิดมนุษย์
1
มีนักปราชญ์จีนหลายคนที่ได้รับการยกย่องนับถือไปทั่วโลก
ไม่ว่าจะเป็นทั้ง ขงจื้อ ขงเบ้ง เล่าจื้อ
และมีหนึ่งนักปราชญ์ชาวจีนผู้หนึ่ง
ที่เป็นนักประพันธ์นิยายจีน ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักปราชญ์เช่นกัน
นักประพันธ์คนนั้นมีนามว่า “โกวเล้ง”
และเมื่อวานนี้ เป็นวันครบรอบปีที่ 37
ที่โกวเล้งได้จากโลกนี้ไปตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 ทิ้งบทประพันธ์
และแง่คิดต่างๆ อันโด่งดังมากมายให้เราได้เรียนรู้
กวเล้ง แท้จริงแล้วคือนามปากกาของ เอี้ยวฮั้ว แซ่ฮิ้ม
เข้าทำงานแรกเป็นบรรณารักษ์ประจำห้องสมุดของคณะที่ปรึกษาทหารอเมริกันในกรุงไทเป
ทำให้มีโอกาสหาความรู้ด้านวรรณกรรมและนวนิยายตะวันตก
ต่อมาจึงได้เริ่มเขียนนิยายกำลังภายใน โดยใช้นามปากกว่า “โกวเล้ง”
ซึ่งแปลว่า “มังกรโบราณ” จนคนจดจำเขาในชื่อนี้
โกวเล้ง ได้สร้างงานประพันธ์ด้วยวิธีการเขียนแบบใหม่
เน้นความรู้สึก ความขัดแย้งทางจิตใจ และความคิดของตัวละคร
พร้อมทั้งแทรกข้อคิด คติเตือนใจ ปรัชญาชีวิต ลงไป
ในตัวละครนิยายกำลังภายใน ทำให้คนอ่านสัมผัสได้ถึง
คุณธรรมน้ำมิตร ความจริงใจ ออกมาได้
โดยนิยายของ โกวเล้ง มักใส่ข้อคิด คติ ปรัชญาชีวิตต่างๆ ลงไปมากมาย ทำให้ดูเอาสนุกก็ได้ ดูเอาแนวคิดก็ดี
ไม่ว่าจะเป็น
“ฟ้าดินกลัวท่านกระหาย จึงให้น้ำแก่ท่านดื่ม
กลัวท่านหิวโหย จึงให้พืชพันธุ์ธัญญาหารแก่ท่านได้ทาน
กลัวท่านหนาวจึงให้ฝ้าย ให้แพรพรรณแก่ท่านป้องกันความหนาว
ฟ้าดินทุ่มเทแก่ท่านถึงเพียงนี้
ท่านกระทำเรื่องราวใดแก่ฟ้าดินบ้าง?
1
บิดามารดาท่านเลี้ยงดูท่านมา
แรงกายแรงใจที่ทุ่มเทยิ่งใหญ่หลวงกว่า
ท่านเคยกระทำความใดทดแทนแก่บิดามารดาบ้าง?”
“คนเราเกิดมาก็เพื่อให้มีชีวิตดำรงอยู่
ไม่มีผู้ใดมีสิทธิ์ส่งตัวเองไปหาที่ตาย”
1
เหล่านี้คือวาทกรรมที่โกวเล้งได้เขียนลงไปในนิยายของเขา
ทำให้ผู้คนต่างยกย่องให้ โกวเล้ง เป็นนักปราชญ์
แม้โกวเล้งจะจากโลกนี้ไปแล้ว 37 ปี
แต่แนวคิดวาทกรรมที่เขาได้สรรสร้างเอาไว้
ก็ยังคงเอามาปรับใช้ได้กับชีวิตเราในปัจจุบัน
แม้นามปากกา โกวเล้ง จะแปลว่า “มังกรโบราณ”
แต่ทุกวันนี้ปรัชญาแนวคิดของเขาก็ยังคงเป็น มังกรผงาดอยู่ครับ
1
โฆษณา