23 ก.ย. 2022 เวลา 10:02 • ธุรกิจ
เวลาต้องการสินเชื่อเงินสดสักก้อนใหญ่ ๆ การ "เอาบ้านไปเข้าธนาคาร" มักเป็นตัวเลือกลำดับต้น ๆ ที่นึกถึงเสมอ
ทีนี้รู้หรือไม่ว่า "เอาบ้านไปเข้าธนาคาร" มีตัวเลือกสำหรับดำเนินการถึง 3 รูปแบบ ดังนี้
1. ขายฝาก : เป็นการทำนิติกรรมในรูปแบบของการขายทรัพย์สิน ทั้งที่เป็นทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์ เช่น บ้าน คอนโด ที่ดิน โดยการทำสัญญาเอกสารขายฝากที่ดิน และมีข้อตกลงกันว่าผู้ขายฝากสามารถไถ่ทรัพย์สินนั้นคืนได้ตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่ตกลงกัน ซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายฝากจะตกเป็นของผู้รับซื้อฝากทันทีที่ขายฝากและได้ส่งมอบทรัพย์สินแก่ผู้รับซื้อฝาก
วิธีนี้คู่สัญญาจะต้องนำสัญญาขายฝากไปจดทะเบียน ณ สำนักงานที่ดินที่มีเขตอำนาจด้วย การขายฝากจึงจะมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย ซึ่งหากผู้ขายฝากไม่ได้ไถ่ทรัพย์สินคืนตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่ตกลงกันดังกล่าว ผู้ขายฝากจะหมดสิทธิไถ่ทรัพย์สินคืน โดยผู้รับซื้อฝากไม่ต้องไปใช้สิทธิฟ้องบังคับตามสัญญาขายฝากอีก
2. จำนอง : เป็นการทำนิติกรรมของการนำทรัพย์สินมาเป็นหลักประกันการชำระหนื้ โดยจะต้องนำสัญญาจำนองไปจดทะเบียนด้วย ซึ่งในกรณีทรัพย์สินที่จำนองเป็นอสังหาริมทรัพย์ ให้จดทะเบียน ณ สำนักงานที่ดินที่มีเขตอำนาจ และในกรณีสังหาริมทรัพย์ ให้จดทะเบียน ณ สำนักทะเบียน ซึ่งรับผิดชอบงานจดทะเบียนสังหาริมทรัพย์ชนิดนั้น ๆ
ทั้งนี้ ผู้จำนองไม่จำเป็นต้องส่งมอบทรัพย์สินที่จำนองและยังคงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินที่จำนอง จึงมีสิทธิใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินที่จำนองต่อไปได้ แต่หากมีการผิดนัดชำระหนี้ที่มีการจำนองเป็นประกันแล้ว ผู้รับจำนองมีสิทธิฟ้องบังคับชำระหนี้และบังคับคดีกับทรัพย์สินที่จำนองได้ตามกฎหมาย
นอกจากนี้ ในกรณีที่ผู้จำนองได้จำนองทรัพย์สินเพื่อประกันการชำระหนี้ของตนเอง และมีข้อตกลงว่าจะชำระหนี้จนครบถ้วนหากบังคับจำนองแล้วได้เงินไม่เพียงพอ ผู้จำนองมีหน้าที่ต้องชำระเงินเพิ่มเติมให้แ ก่ผู้รับจำนองจนกว่าจะครบถ้วนต่อไป แม้จะถูกบังคับคดีเอากับทรัพย์สินที่จำนองแล้วก็ตาม
3. บ้านแลกเงิน : นิติกรรมที่ใช้อสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกันในการขอสินเชื่อ โดยหากได้รับการอนุมัติ ต้องมีการโอนสินทรัพย์เป็นของผู้ให้กู้ก่อน หลังชำระเงินคืนตามเงื่อนไขแล้วถึงจะโอนกลับมาเป็นของผู้กู้
จุดแตกต่างของสินเชื่อ 3 ประเภทนี้คือ วงเงินที่จะได้รับ โดย "บ้านแลกเงิน" จะได้วงเงินสูงสุดเฉลี่ย 80% ของราคาประเมิน รองลงมาคือการขายฝากที่ประมาณ 40-70% ของราคาประเมิน และสุดท้ายคือ "การจำนอง" จะอยู่ที่ 10-30% ของราคาประเมิน เพราะการจำนองไม่ต้องส่งมอบทรัพย์สินและกรรมสิทธิ์ให้ผู้รับจำนอง จึงได้วงเงินน้อยสุด ต่างจากการขายฝากและ "บ้านแลกเงิน" ที่ต้องส่งมอบทรัพย์สินและกรรมสิทธิ์
ทีนี้ถามว่าหากต้องการเงินสักก้อน แล้วมีอสังหาริมทรัพย์อยู่ จะเลือกแบบไหนดี ?
ท่านผู้กู้ต้องศึกษาให้รอบคอบว่าจะนำเงินไปใช้ต่อยอดหรือทำประโยชน์อะไร เช่น หากต้องการใช้เงินก้อนใหญ่ ผ่อนยาว ๆ ก็ต้องเลือก "บ้านแลกเงิน" แต่หากอยากได้เร็วและวงเงินไม่ต้องสูงมาก ขายฝาก กับ จำนอง จะเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ
และเท่าที่หาข้อมูลมา ถ้าในยุคนี้ "บ้านแลกเงิน" จะคุ้มสุด เพราะธนาคารมีโปรโมชั่นมากมาย โดยเฉพาะอัตราดอกเบี้ยค่อนข้างต่ำกว่าอีก 2 ประเภท
ดังนั้นก่อนทำการยื่นขอสินเชื่อ ผู้กู้ต้องพิจารณาถึงทางเลือกต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับตัวเอง ที่สำคัญต้องนำเงินไปใช้ต่อยอดให้เกิดประโยชน์ เพราะหากนำไปใช้ผิดที่ผิดทางผิดวัตถุประสงค์ กู้แบบไหนก็พร้อมจะฉิบหายได้ทั้งสิ้น ด้วยความปรารถนาดี....
สำหรับผู้ที่สนใจสินเชื่อบ้านแลกเงิน สามารถดูรายละเอียด สินเชื่อบ้านแลกเงิน เพิ่มเติมได้ที่นี่
หนึ่งเอง หนึ่งไง จะใครล่ะ ^^
โฆษณา