24 ก.ย. 2022 เวลา 02:50 • ธุรกิจ
“ฟินวัน” บริษัทการเงินไทย 100,000 ล้าน แต่ล้มละลายเหลือ 0
5
วิกฤติต้มยำกุ้ง เมื่อ 25 ปีก่อน ธุรกิจไทยหลายบริษัท โดยเฉพาะภาคการเงินต้องล้มละลายไป
4
แต่ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น กลับมีบริษัทที่รู้จักกันในชื่อ “ฟินวัน” กลายมาเป็นดาวรุ่ง
ที่เติบโตแบบก้าวกระโดด จากที่มีสินทรัพย์หลักร้อยล้านบาท ก็กลายเป็นหลักแสนล้านบาท
2
แต่แล้วบริษัทแห่งนี้กลับต้องล้มละลาย แถมยังถูกกล่าวหาว่า เป็นต้นเหตุของวิกฤติเศรษฐกิจของไทย ร่วมกันกับเคสของนายราเกซ สักเสนา ที่ยักยอกเงินจากธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ
3
วันนี้ เรามาดูกันว่าเรื่องราวของฟินวัน เป็นอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
1
ฟินวัน เป็นชื่อเรียกอย่างง่ายของบริษัท เงินทุน เอกธนกิจ จำกัด
โดยผู้ที่เป็นแกนหลักของฟินวัน คือ คุณปิ่น จักกะพาก
ผู้ถูกขนานนามว่าเป็นพ่อมดการเงินคนหนึ่งในประเทศไทย
1
ก่อนหน้าที่จะก่อตั้งฟินวันขึ้นมา คุณปิ่นทำงานในตำแหน่งรองประธาน ที่ธนาคารเชสแมนฮัตตัน สาขากรุงเทพฯ
5
แต่หลังจากทำงานได้ 7 ปี คุณปิ่นก็ตัดสินใจลาออกในปี 2523 และไปบริหารกิจการของเครือญาติ ชื่อว่าบริษัทเงินทุน ยิบอินซอย จำกัด ในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ
3
เดิมทีบริษัทเงินทุน ยิบอินซอย ไม่ได้เป็นบริษัทที่มีผลประกอบการที่โดดเด่นอะไรนัก
4
ยิบอินซอย เปิดดำเนินการมา 10 ปี มีสินทรัพย์รวม 167 ล้านบาท และยังคงมีปัญหาขาดทุนมาอย่างต่อเนื่อง
1
แต่หลังจากที่คุณปิ่นได้เข้ามาบริหาร และได้เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น บริษัทเงินทุน เอกธนกิจ จำกัด หรือฟินวัน
1
บริษัทก็เติบโตขึ้นแบบก้าวกระโดด และกลายเป็นบริษัทการเงินที่ร้อนแรงที่สุดในยุคนั้น
จนมีสินทรัพย์รวมหลักแสนล้านบาท
3
โดยกลยุทธ์ที่ทำให้ฟินวันเติบโตอย่างรวดเร็ว ภายในระยะเวลาเพียงไม่กี่ปี
สามารถสรุปง่าย ๆ ได้ 2 ข้อด้วยกัน คือ
2
1. เน้นการควบรวมกิจการขนาดเล็ก หรือมีมูลค่าของกิจการที่ต่ำ
อย่างเช่น กิจการที่ใกล้จะล้มละลาย หรือเป็นกิจการที่กำลังประสบปัญหา
6
ด้วยแนวทางนี้ ทำให้เอกธนกิจ ได้กิจการที่มีราคาถูกกว่าท้องตลาด และพ่วงมาด้วยทรัพย์สินจำนวนมาก เข้ามาอยู่ภายใต้การบริหารของฟินวัน
2
อย่างเช่น การเข้าซื้อกิจการ บล.โกลด์ฮิลล์ ที่กำลังประสบปัญหาด้านการเงิน
ด้วยราคาหุ้นเพียง 25 บาท และใช้เงินทุนทั้งสิ้น 10 ล้านบาท
1
แต่หลังจากนั้นเพียง 3 ปี ก็เปลี่ยนชื่อเป็น บล.เอกธำรง และนำเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์
ราคาหุ้นของเอกธำรง ก็ได้พุ่งขึ้นจนทำจุดสูงสุดถึง 500 บาท หรือคิดเป็นกว่า 20 เท่าของราคาเดิม
6
2. อีกหนึ่งวิธีที่ฟินวัน ใช้ในการขยายกิจการ โดยแทบจะไม่ต้องเสียเงินในการเข้าเทกโอเวอร์ ก็คือ การแลกหุ้น
3
วิธีการคือ ฟินวันจะเข้าไปถือหุ้น จนกลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทเป้าหมาย โดยสิ่งที่ใช้แลกก็คือ ฟินวันจะออกหุ้นใหม่มาให้ผู้ถือหุ้นในบริษัทนั้น
5
เมื่อมีการถือหุ้นไขว้กัน และมีความเชื่อมโยงกันแล้ว
ตลาดก็มองว่าทั้งสองกิจการ จะช่วยเหลือ หรือผลักดันซึ่งกันและกัน
ทำให้มูลค่าของทั้งสองกิจการก็จะเพิ่มขึ้นไปด้วย
3
ซึ่งโดยปกติแล้ว ไม่มีอะไรรับประกันว่า การแลกหุ้นและถือหุ้นไขว้กันเช่นนี้ จะทำให้ผลประกอบการหรือมูลค่าของทั้งสองบริษัทเพิ่มขึ้น เพราะอาจจะมีฝั่งใดฝั่งหนึ่ง กลายเป็นตัวถ่วง ทำให้มูลค่าโดยรวมลดลง หรือนิ่งอยู่กับที่
5
แต่สำหรับฟินวัน กลยุทธ์นี้ได้ผลก็เพราะว่า ตลาดหุ้นของไทยในช่วงปี 2520 ถึงปี 2540 กำลังร้อนแรง
โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง จนดัชนี SET ทะยานขึ้นไปถึง 1,700 จุด
ทำให้ตลาดส่วนใหญ่ ให้น้ำหนักกับด้านบวกมากกว่าด้านลบของกิจการ
5
และยิ่งมีชื่อของฟินวัน ซึ่งกำลังเติบโตรอบด้าน
ส่งผลให้หุ้นของฟินวัน ถูกซื้อขายกันด้วยอัตราราคาต่อกำไร หรือ P/E ที่สูงมาก
5
ดังนั้นเมื่อใดก็ตามที่มีฟินวันเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยแล้ว นักลงทุนจึงมีความเชื่อมั่นเป็นอย่างมาก ส่งผลให้มูลค่าหุ้นของทั้งฟินวัน และกิจการที่แลกหุ้นต่างปรับเพิ่มขึ้น
2
ซึ่งวิธีการนี้ทำให้ฟินวันใช้เงินน้อย หรือแทบจะไม่ใช้เงินในการเข้าซื้อกิจการเลย ฟินวันจึงสามารถเข้าเทกโอเวอร์กิจการอื่น ๆ ได้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงยังสามารถเข้าไปครอบครองกิจการที่ใหญ่กว่าตัวเองได้อีกด้วย
5
อย่างเช่น การเข้าถือหุ้น 20% ในธนาคารไทยทนุ ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ระดับประเทศ ที่ใหญ่กว่าฟินวัน โดยดีลดังกล่าวมีมูลค่ากว่า 3,400 ล้านบาท แต่ฟินวันแทบไม่เสียเงินในการซื้อหุ้นครั้งนั้นเลย
3
อย่างไรก็ตาม หลังจากวิกฤติฟองสบู่ และการโจมตีค่าเงินบาทอย่างหนัก ในปี 2540
จนเกิดหนี้เสียอย่างหนักในระบบเศรษฐกิจ และกลายเป็นวิกฤติต้มยำกุ้ง
4
ฟินวันก็เริ่มมีปัญหาสภาพคล่องอย่างต่อเนื่อง จนท้ายที่สุด กลายเป็นธนาคารไทยทนุ ต้องประกาศเข้าไปเทกโอเวอร์ฟินวัน ที่กำลังจะล้มละลายแทน
3
แต่จากการปฏิบัติตามมาตรการของ IMF ทำให้รัฐบาลต้องสั่งปิดสถาบันการเงินจำนวนมาก
ซึ่งมีฟินวันเป็นหนึ่งในนั้นด้วย ส่งผลให้ฟินวันที่เคยเป็นอาณาจักรแสนล้านต้องจบลง
2
รวมถึงคุณปิ่น และผู้บริหารระดับสูง ที่โดนกล่าวโทษว่า ฝ่าฝืนประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย และยักยอกทรัพย์โดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้กับบริษัทย่อย แม้ว่าลูกหนี้จะไม่อยู่ในสถานะที่จะสามารถชำระหนี้ได้ก็ตาม
7
ทำให้คุณปิ่นต้องหนีคดีไปยังต่างประเทศ และฟินวันยังถูกกล่าวหาว่าเป็นหนึ่งในต้นเหตุ ที่ทำให้เกิดวิกฤติต้มยำกุ้ง
2
แม้ทางการไทยพยายามจะดำเนินการขอส่งมอบผู้ร้ายข้ามแดน
แต่ศาลประเทศอังกฤษได้ตัดสินว่า คุณปิ่นไม่มีความผิด และการกระทำดังกล่าวไม่มีใครได้รับผลกระทบ นอกจากฟินวันเอง ที่พยายามรับผิดชอบต่อหนี้สินของบริษัทในเครือ โดยยกอ้างหลักการที่ว่า “กิจการไม่อาจยักยอกเงินของตัวเองได้”
10
แม้แต่ตัวคุณปิ่นก็ไม่ได้ยักยอกเงินเข้ากระเป๋าตัวเองเช่นกัน
รวมถึงการดำเนินการทุกเรื่องที่เกิดขึ้น ล้วนอยู่ในสายตาของธนาคารแห่งประเทศไทย
ซึ่งนักลงทุน รวมถึงสถาบันการเงินต่าง ๆ ไม่ได้คิดว่าสภาพเศรษฐกิจจะเลวร้ายลงอย่างมากในเวลานั้น แม้แต่ธนาคารแห่งประเทศไทยเอง ก็ยังบอกว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตได้ดี
4
ซึ่งเรื่องนี้ก็อาจเป็นบทเรียนให้เราได้รู้ว่า
ในวันที่ฟ้าฝนเป็นใจ บริษัทจะสามารถประสบความสำเร็จได้อย่างต่อเนื่อง และมีโอกาสทางธุรกิจเข้ามาอย่างไม่ขาดสาย เพื่อต่อยอดเงินที่มีอยู่ ให้มากขึ้นไปเรื่อย ๆ
3
แต่ในวันที่ฝนตกพายุเข้า
อุปสรรคมันก็จะเข้ามาอย่างต่อเนื่อง จนทำให้เราล้มได้ แม้ว่าจะเคยยิ่งใหญ่แค่ไหนก็ตาม
3
สิ่งที่พอจะป้องกันปัญหานี้ได้ก็คือ “การมีร่ม” เตรียมไว้เสมอ แม้ในวันที่ฝนไม่ตก
6
นั่นก็คือการเตรียมความพร้อม การมีทีมงานที่คอยดูแลความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นของบริษัทแม้ในยามที่บริษัทเติบโตดี
3
อย่างในกรณีของฟินวัน ที่ได้ใช้วิธีรุกเทกโอเวอร์ในสถาบันการเงินต่าง ๆ โดยไม่ได้เผื่อใจไว้ว่าภาคการเงินจะมีปัญหา
3
เมื่อทุกอย่างมันกลับข้าง
สิ่งที่มีมูลค่าเป็นแสนล้านบาท ก็พังทลายลงได้ เหมือนฟินวัน..
1
หนังสือ BRANDING THE NATION หนังสือที่เล่าถึงการสร้างแบรนด์ของแต่ละประเทศที่ทำให้ แต่ละประเทศเป็นแบบทุกวันนี้
เช่น ทำไมเยอรมนีเป็นประเทศแห่งรถยนต์ ทำไมฝรั่งเศสเป็นประเทศแห่งแบรนด์หรู สั่งซื้อเลยที่
2
References
-บทความ “คดีหมดอายุความ 'ปิ่น' กลับไทยฉลุย”, กรุงเทพธุรกิจ
-บทความ “เกมเทคโอเวอร์”, ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร, กรุงเทพธุรกิจ
1
โฆษณา