4 ต.ค. 2022 เวลา 00:00 • ไลฟ์สไตล์
"Gen Z" ต่อไม่ติดกับการทำงาน รู้สึกไร้ตัวตน มีปัญหาสุขภาพจิตเพิ่มขึ้นช่วงโควิด-19
ปัญหาสุขภาพจิตในกลุ่มคนรุ่นใหม่เร่งตัวขึ้นนับตั้งแต่มีการระบาดของโควิด-19 แถมยังมีแนวโน้มแย่ลงโดยเฉพาะความสามารถในการเข้าสังคม และการทำงานที่องค์กรต่างๆ ต้องให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ก่อนจะสูญเสียศักยภาพของคนรุ่นใหม่ไปจากองค์กร
"Gen Z" ต่อไม่ติดกับการทำงาน รู้สึกไร้ตัวตน มีปัญหาสุขภาพจิตเพิ่มขึ้นช่วงโควิด-19
ข้อมูลจาก Mental Health Million Project ของ Sapien Labs สำรวจคนหนุ่มสาว 48,000 คนที่มีอายุระหว่าง 18-24 ปีใน 34 ประเทศ เผยให้เห็น “ปัญหาสุขภาพจิตในกลุ่มคนรุ่นใหม่” ที่น่าเป็นห่วง
รายงาน Rapid Report ประจำเดือนพฤษภาคม 2565 ของ Sapien Labs เรื่อง “The Deteriorating Social Self in Younger Generations” แสดงให้เห็นว่าเกือบครึ่งหนึ่งของคนหนุ่มสาวประสบกับภาวะสุขภาพจิตที่ลดลงในช่วงปีที่ 2 ของการระบาดใหญ่ และความสามารถในการสัมพันธ์และโต้ตอบกับผู้อื่นบกพร่องอย่างมากในกลุ่มคนรุ่นใหม่หลายประเทศทั่วโลก
หนึ่งในปัญหานั้น อาจเรียกได้ว่าเป็นการสูญเสีย ”ตัวตนทางสังคม" ที่เกิดจากสภาวะสังคมที่เปลี่ยนไปในหลากหลายมิติ ทั้งอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น การปลดพนักงานจำนวนมาก โรคระบาดที่ไม่ยอมจบสิ้น และภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่ใกล้เข้ามา ทำกลุ่มคนทำงานตอนต้นอย่าง Gen Z จำนวนมากได้มาถึงจุดแตกหักจากสังคม ที่นอกจากจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตส่วนตัวมิตรภาพ ยังทำให้คนรุ่นใหม่มักจะถอยห่างจากสังคม กระทบความสัมพันธ์ส่วนตัว ไปจนถึงขั้นคิดฆ่าตัวตาย
ปัญหาเหล่านี้ส่วนหนึ่งมาจากสภาวะ โควิด-19 ทำให้การทำงานไม่ปะติดปะต่อ ยากที่จะควบคุมและจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้นำในองค์กรและบริษัทต่างๆ ต้องให้ความสำคัญ และพยายามในการเชื่อมต่อและสนับสนุนพนักงานรุ่นใหม่ที่กำลังเผชิญกับช่วงเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อเช่นนี้ เพื่อสนับสนุนคนรุ่นใหม่ต่อติดการทำงานมากขึ้นจนสามารถก้าวเข้ามามีบทบาทสำคัญในองค์กรและสังคมได้
1. สุขภาพจิตที่ดีต้องมาก่อน
Gen Z “ต้องการวัฒนธรรมองค์กรที่เริ่มต้นด้วยสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ที่ดี” เช่น นโยบายการลาพักร้อน เงินอุดหนุนและบริการดูแลเด็ก การสนับสนุนการดูแลผู้สูงอายุ ค่าตอบแทนเพิ่มเติม รวมไปถึงการจัดการกับความเหนื่อยล้าของพนักงาน เพิ่มนโยบายการทำงานที่ยืดหยุ่น เพื่อให้พนักงานมีเวลาพักผ่อนและเติมพลังมากขึ้น เป็นต้น
2. สร้างคอมมูนิตี้ที่เปิดกว้างในการเรียนรู้
ข้อมูลใหม่ที่น่าตกใจที่แสดงคือกลุ่มพนักงานรุ่นใหม่ “มีความเหงาเพิ่มขึ้น” และรู้สึกว่ามี "ตัวตนในสังคม" น้อยลง ดังนั้นองค์กรจึงควรพิจารณาถึงประโยชน์ของการสร้างคอมมูนิตี้ในองค์กร เช่น วัฒนธรรมที่สนับสนุนซึ่งกันและกัน มีสภาพแวดล้อมแบบมืออาชีพ เปิดโอกาสให้พนักงานใหม่ทำความรู้จักกันและถามคำถามในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและให้การสนับสนุนการทำงานของพนักงานหน้าใหม่ จะช่วยทำให้พนักงานไม่รู้สึกไร้ตัวตน แถมยังสนับสนุนให้คนรุ่นใหม่มีไฟในการทำงานมากขึ้น
3. สนับสนุนคนรุ่นใหม่
คนรุ่นใหม่ชอบการพัฒนาตัวเอง องค์กรที่คนรุ่นใหม่อยากทำงานด้วย จึงต้องมีโอกาสเรียนรู้และเติบโตได้
ผู้บริหารจึงควรให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ และมีเครื่องมือสำหรับการเรียนรู้ใหม่ ทำหน้าที่เป็นสปอนเซอร์คอยสนับสนุนให้ผู้มีความสามารถรุ่นต่อไป สามารถพัฒนาตัวเองในด้านวิชาชีพได้
โดยอีกวิธีหนึ่งในการสนับสนุนผู้มีความสามารถวัยเริ่มต้นทำงานที่กำลังไฟแรงคือการฝึกสอนโดยเพื่อนร่วมงาน อาศัยกระบวนการที่เพื่อนร่วมงานสองคนช่วยกันสะท้อนถึงประสบการณ์ ให้การสนับสนุน สร้างทักษะ และจับคู่งานของพวกเขากับความรู้สึกของวัตถุประสงค์ เป็นอีกหนึ่งวิธีที่สร้างพลังให้คนรุ่นใหม่ได้
โฆษณา