2 ต.ค. 2022 เวลา 01:00 • ธุรกิจ
อยากรู้ "PDPA" เกี่ยวข้องกับเรายังไง? KBank มัดรวมคำตอบมาให้แล้ว
ในยุคที่เทคโนโลยีก้าวหน้า ช่องทางสื่อสารมากขึ้น และหลายธุรกิจที่ต้องใช้ข้อมูลลูกค้าทำการตลาดแบบนี้ “PDPA” สามารถป้องกันข้อมูล หรือเกี่ยวข้องกับเรายังไง KBank Live มัดรวมคำตอบมาให้แล้ว
อันดับแรกมารู้จัก “พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล” พ.ศ. 2562 กันก่อนเลยค่ะ
✅PDPA ย่อมาจาก Personal Data Protection Act เป็นกฎหมายที่กำหนดให้องค์กร
หรือหน่วยงานที่ต้องใช้ประโยชน์จากข้อมูลของลูกค้า ต้องปฎิบัติตามเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิ โดยห้ามเก็บ - ใช้ - หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ก่อนได้รับอนุญาตจากเจ้าของข้อมูลนั่นเอง
🔓ทุกคนสามารถมีสิทธิอนุญาตให้องค์กรเก็บ หรือแจ้งให้ลบข้อมูลส่วนบุคคลได้ ขึ้นอยู่กับความต้องการเรานั่นเองค่า
📃 ทุกคนรู้หรือไม่ว่า “ข้อมูลส่วนบุคคล” ที่ PDPA คุ้มครอง คืออะไร มีกี่ประเภท แล้วมีอะไรบ้าง? ถ้ายังไม่รู้ตามไปดูพร้อม ๆ กันเลยค่ะ
ข้อมูลส่วนบุคคล คือข้อมูลที่สามารถระบุตัวตนได้ ไม่ว่าทางตรง หรือทางอ้อม ยกเว้นข้อมูลของผู้เสียชีวิต และข้อมูลนิติบุคคล จะไม่ถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคลนะคะ
📍ข้อมูลส่วนบุคคลที่ PDPA คุ้มครอง แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1. ข้อมูลทั่วไป เช่น ชื่อ - นามสกุล ที่อยู่ เบอร์โทร อีเมล วันเดือนปีเกิด สัญชาติ ฯลฯ
2. ข้อมูลส่วนบุคคลที่ละเอียดอ่อน (Sensitive Personal Data) เช่น ข้อมูลชีวภาพ เช่น รูปภาพใบหน้า ลายนิ้วมือ ข้อมูลม่านตา
ฯลฯ
💻 สังเกตได้จากการเข้าเว็บไซต์ธนาคาร หรืออื่นๆ จะมีการขออนุญาตเข้าถึงคุ้กกี้ เพราะถือเป็นข้อมูลอ่อนไหวที่สามารถระบุถึงบุคคลได้นั่นเองค่า
✅ หลังจากที่รู้แล้วข้อมูลส่วนบุคคลไปแล้ว มาดูในส่วนของบุคคล หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตาม PDPA กันบ้างดีกว่า
📍 บุคคลที่เกี่ยวข้องแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มได้แก่
1. เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล : บุคคลธรรมดาที่ข้อมูลระบุไปถึง และได้รับการคุ้มครองตาม PDPA เช่น ลูกค้าของธนาคาร พนักงานธนาคาร เป็นต้น
2. ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล : บุคคลหรือนิติบุคคลที่มีอำนาจตัดสินใจเกี่ยวกับการเก็บ ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ธนาคาร เป็นต้น
3. ผู้ประมวลข้อมูลส่วนบุคคล : บุคคลหรือนิติบุคคลที่เก็บ ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลตามคำสั่งหรือในนามของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล เช่น Outsource ที่ธนาคารว่าจ้าง เป็นต้น
🙎 ซึ่งองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หากต้องใช้ประโยชน์จากข้อมูลส่วนบุคคล จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของข้อมูลก่อนเสมอค่ะ
กฎหมาย PDPA จะเข้ามาคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ให้หน่วยงานหรือองค์กรละเมิดสิทธิ และกำหนดการใช้ข้อมูลของลูกค้า อย่างปลอดภัยตามมาตรฐาน เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายกับเจ้าของข้อมูล
โดยห้ามภาพเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ว่าจะเป็น ชื่อ - นามสกุล ที่อยู่ ฯลฯ ก่อนได้รับอนุญาตจากเจ้าของข้อมูล และหน่วยงานต่าง ๆ จะต้องมีมาตรการดูแลข้อมูลของลูกค้าอย่างถูกต้องชัดเจน
PDPA นอกจากช่วยรักษาสิทธิของทุกคนแล้ว ยังช่วยป้องกันข้อมูลส่วนตัวรั่วไหลได้ ดังนั้นมั่นใจได้เลยว่า ข้อมูลของคุณจะถูกดูแลและใช้งานอย่างปลอดภัยอย่างแน่นอน
#KBankLive
โฆษณา