28 ก.ย. 2022 เวลา 06:00 • ประวัติศาสตร์
วิกฤติ Paper Crunch 1970 เมื่อใบหุ้นล้นประเทศสหรัฐฯ
เพื่อน ๆ นักลงทุนโดยเฉพาะคนที่เกิดมาในยุคดิจิทัล พอจะจินตนาการออกมั้ยครับว่าคนสมัยก่อนเขาซื้อหุ้นกันยังไง คอมพิวเตอร์ก็ไม่มี โทรศัพท์มือถือก็ยังไม่ถือกำเนิด สัญญาณอินเทอร์เน็ตยิ่งไม่ต้องพูดถึงเลย
📗 คำตอบคือ เขาใช้กระดาษจด จด แล้วก็จดไงล่ะครับ จดลงไปในเอกสารที่เรียกว่า “ใบหุ้น”
จริง ๆ แล้วตลาดหุ้นหลายแห่งในปัจจุบัน เอกสารใบหุ้นก็ยังคงมีผลใช้ในทางกฎหมายได้ปกตินะ เพียงแต่ว่านักลงทุนส่วนใหญ่โดยเฉพาะรายย่อยแล้ว เราสะดวกซื้อขายหุ้นบนออนไลน์มากกว่า ซึ่งวิธีหลังนี้เราเรียกว่าระบบไร้ใบหุ้น หรือ Scripless System
กลับมาที่ใบหุ้นกันต่อ พอเราย้อนไปสัก 50-60 ปีที่แล้ว คือ ยุคที่เศรษฐกิจโลกกำลังฟื้นตัวหลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นช่วงเดียวกันกับการเปลี่ยนผ่านมหาอำนาจทางเศรษฐกิจโลกจากฝั่งยุโรปมาเป็นสหรัฐอเมริกา
ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ก็กลายเป็นขุมทรัพย์ใหม่ของนักลงทุนทั่วโลก มีคนเข้ามาแสวงหาโอกาสมากขึ้นในตลาดหุ้นนี้ ปริมาณการซื้อขายก็มากขึ้น ๆ ทุกปี สิ่งที่ตามมาก็คือเอกสารใบซื้อขายหุ้นจำนวนมหาศาลที่อัดแน่นอยู่ในวอลล์สตรีท
ลองคิดภาพว่า สมมุติว่าร้านอาหารตามสั่งชื่อดังย่านอโศกมีลูกค้าเข้ามาสั่งอาหารพร้อมกันเพิ่มขึ้นทีละหลายร้อยหลายพันคน แต่ร้านใช้วิธีจดออเดอร์ด้วยกระดาษ โอกาสที่จะจดผิด จดเกิน คิดเงินตกหล่น จะมีมากแค่ไหน
📌 และมันก็เกิดกับตลาดหุ้นสหรัฐฯ เมื่อบริษัทหลักทรัพย์หลายแห่งไม่สามารถรับมือกับปริมาณการซื้อขายที่เพิ่มขึ้นจากปริมาณ 6 ล้านคำสั่งต่อวัน มาเป็น 21 ล้านคำสั่งต่อวันในช่วงเวลาแค่ 3 ปี (1965-1968) ซึ่งเป็น 3 ปีที่ระบบเอกสารไม่มีการพัฒนาใด ๆ เลย
นั่นจึงนำไปสู่การระเบิดของปัญหาครั้งใหญ่ที่เริ่มต้นจากความล้มเหลวของระบบกระดาษ
💵 ตัวอย่างความเลวร้าย เช่น มีหลักทรัพย์มูลค่ากว่า 4 พันล้านดอลลาร์ไม่สามารถส่งมอบให้นักลงทุนได้ตามกำหนด รวมถึงตลาดหุ้นได้รับความเสียหายกว่า 9 พันล้านดอลลาร์ เป็นต้น
เหตุการณ์ความโกลาหลที่เกิดจากความล้มเหลวของการจัดการเอกสารนี้จึงถูกเรียกว่า Paper Crunch 1970
การที่มีบริษัทหลักทรัพย์หลายแห่งต้องล้มละลาย และผู้ลงทุนหลายรายถึงขั้นหมดตัวพร้อม ๆ กัน ทำให้รัฐบาลสหรัฐฯ นิ่งเฉยไม่ได้ จึงต้องรีบแก้ปัญหาดังกล่าวด้วยการออกกฎหมายเพื่อคุ้มครองผู้ลงทุนให้เร็วที่สุด
📌 ส่งผลให้ ก.ล.ต. สหรัฐฯ ต้องออกพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ลงทุนปี 1970 นำไปสู่การจัดตั้งบริษัท Securities Investor Protection Corporation หรือ SIPC เพื่อคุ้มครองผู้ลงทุนในตลาดหุ้น ที่ได้รับผลกระทบจากกรณีการทุจริตรวมถึงการล้มละลายของบริษัทหลักทรัพย์
ปัจจุบัน SIPC มีวงเงินคุ้มครองสูงสุดถึง 500,000 ดอลลาร์ต่อผู้ลงทุนหนึ่งราย ซึ่งเป็นวงเงินที่เพียงพอและครอบคลุมนักลงทุนรายย่อยส่วนใหญ่ในตลาดได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ ในวิกฤติดังกล่าวก็มีโอกาสซ่อนอยู่ เมื่อเหตุการณ์นั้นเป็นฟางเส้นสุดท้ายที่กดดันให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ต้องนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการรับส่งคำสั่ง และถือเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาแบบก้าวกระโดดของตลาดหุ้นสหรัฐฯ รวมถึงตลาดหุ้นต่าง ๆ ทั่วโลกจวบจนปัจจุบัน
📈 และหากเพื่อน ๆ อยากลงทุนในหุ้นสหรัฐ ฯ ที่กำลังเติบโต และได้รับความคุ้มครองจากภาครัฐเป็นอย่างดีแล้วล่ะก็ ลองมาเริ่มลงทุนกับแอป Dime! สิครับ เพราะที่นี่ลงทุนเริ่มต้นเพียง 50 บาท เท่านั้น
แถมไม่มีค่าคอมมิชชันขั้นต่ำด้วยนะ พิเศษ ! เปิดบัญชีลงทุนภายในปี 2565 ฟรีค่าคอมมิชชันทุกรายการซื้อขายถึง 30 มิ.ย. 66 ยังไม่พอ หากทำภารกิจซื้อหุ้นสหรัฐฯ หรือกองทุนรวมบนแอป ก็รับหุ้นสหรัฐฯ เพิ่มไปเลยสูงสุด 200 บาท นะครับ
*ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
"เพราะการเงินเป็นเรื่องของทุกคน"
Dime! ครบเครื่องเรื่องการเงิน แอปพลิเคชันที่ทุกคนสามารถเข้าถึงการลงทุนได้อย่างเท่าเทียม
บริษัทหลักทรัพย์ เคเคพี ไดม์ ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์จากสำนักงาน ก.ล.ต. เป็นผู้ให้บริการแอปพลิเคชัน Dime! และให้บริการบัญชีออมทรัพย์จากธนาคารเกียรตินาคินภัทร
ติดตามเราหรือศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ https://linktr.ee/dime.finance
โฆษณา