29 ก.ย. 2022 เวลา 11:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
สร้างความได้เปรียบในการลงทุน SSF & RMF ด้วยระบบ EDCA
1
หากจะกล่าวถึงสินทรัพย์ที่เปรียบเสมือนขุมทรัพย์ใหญ่ของคนวัยทำงาน ก็คงหนีไม่พ้นกองทุนรวมยอดฮิตอย่างกองทุนรวม SSF หรือ Super Savings Fund และกองทุนรวม RMF หรือ Retirement Mutual Fund
1
โดยกองทุนรวม SSF เป็นกองทุนรวมที่เน้นการออมระยะยาวที่เพิ่งมาใหม่ในปี 2563 ซึ่งได้เข้ามาแทนที่กองทุนรวมหุ้นระยะยาว หรือ LTF ที่ยกเลิกสิทธิประโยชน์ทางภาษีไปเมื่อต้นปี 2563 เหมาะกับคนที่มีเป้าหมายการลงทุนตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
ในขณะที่กองทุนรวม RMF เป็นกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ที่ส่งเสริมการออมระยะยาวเพื่อใช้จ่ายในยามเกษียณ จึงเหมาะกับคนที่วางแผนการเกษียณเป็นหลัก
ยิ่งไปกว่านั้น ทั้งกองทุนรวม SSF และ RMF ยังมีจุดเด่นร่วมกันอีกหนึ่งอย่าง คือ ผู้ลงทุนสามารถนำเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนไปลดหย่อนภาษีได้ด้วย
1
โดยกองทุนรวม SSF ใช้ลดหย่อนภาษีสูงสุดได้ไม่เกิน 30% ของรายได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 200,000 บาท และเมื่อรวมกับเงินลดหย่อนการออมเพื่อเกษียณอื่น ๆ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
ในส่วนของกองทุนรวม RMF สามารถใช้ลดหย่อนภาษีสูงสุดได้ไม่เกิน 30% ของรายได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 500,000 บาท และเมื่อรวมกับเงินลดหย่อนการออมเพื่อเกษียณอื่น ๆ ต้องไม่เกิน 500,000 บาทเช่นกัน
ทั้งนี้ กองทุนรวมดังกล่าวยังมีนโยบายการลงทุนและมีระดับความเสี่ยงให้เลือกอย่างหลากหลาย แต่ไม่ว่าอย่างไร หลังจากได้กองทุนที่เราต้องการแล้ว ขั้นตอนสำคัญต่อมาคือการวางกลยุทธ์การลงทุนให้เหมาะกับตัวเอง
โดยในวันนี้ KTAM ได้นำเทคนิคการลงทุนที่มีชื่อว่า EDCA หรือ Enhanced Dollar Cost Average มาฝากกัน..
EDCA เป็นรูปแบบการลงทุนที่มีความใกล้เคียงกันกับ DCA หรือ Dollar Cost Average เพียงแต่แตกต่างกันตรงที่ DCA จะเป็นการลงทุนด้วยเงินจำนวนเท่า ๆ กันในแต่ละเดือน
แต่สำหรับ EDCA แล้ว จะมีการปรับเงินลงทุนตามสภาพตลาดและราคาของสินทรัพย์ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยจะเพิ่มเงินลงทุนในเดือนที่สินทรัพย์มีราคาลดลง และจะลดเงินลงทุนในเดือนที่สินทรัพย์มีราคาสูงขึ้น
เมื่อมีการเพิ่มและลดสัดส่วนเงินลงทุนให้เหมาะกับราคาสินทรัพย์ในแต่ละครั้งเดือน ให้มีต้นทุนการลงทุนเฉลี่ยที่ถูกลงและได้รับหน่วยลงทุนจำนวนมากขึ้น เมื่อเทียบกับการลงทุนแบบ DCA
ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้การลงทุนแบบ EDCA สร้างผลลัพธ์ที่แตกต่างจากการลงทุนด้วยเงินก้อนกับการลงทุนแบบ DCA ที่เรามักคุ้นเคยกันนั่นเอง หากอยากรู้ว่าแตกต่างกันอย่างไร ลองมาดูตัวอย่างด้านล่างกันได้เลย
  • กรณีลงทุนทั้งก้อนครั้งเดียว
ถ้าเรามีเงินลงทุน 100,000 บาท และลงทุนในสินทรัพย์ X ในราคาหน่วยละ 15 บาท จะได้หน่วยลงทุน 6,666 หน่วย ในต้นทุน 15 บาท ซึ่งอาจจะเป็นหน่วยที่แพงหรือถูกก็ได้ในเวลานั้น
  • กรณีลงทุนแบบ DCA (เงินทุน 100,000 บาท แบ่งลงทุนเดือนละ 20,000 บาทต่อเดือน)
  • เดือนที่ 1 สินทรัพย์ X มีราคาหน่วยละ 15 บาท ลงทุน 20,000 บาท ได้หน่วยลงทุน 1,333 หน่วย โดยมีต้นทุนเฉลี่ย 15 บาท
  • เดือนที่ 2 สินทรัพย์ X มีราคาหน่วยละ 13 บาท ลงทุน 20,000 บาท ได้หน่วยลงทุน 1,538 หน่วย โดยมีต้นทุนเฉลี่ย 13.93 บาท
  • เดือนที่ 3 สินทรัพย์ X มีราคาหน่วยละ 17 บาท ลงทุน 20,000 บาท ได้หน่วยลงทุน 1,176 หน่วย โดยมีต้นทุนเฉลี่ย 14.82 บาท
  • เดือนที่ 4 สินทรัพย์ X มีราคาหน่วยละ 18 บาท ลงทุน 20,000 บาท ได้หน่วยลงทุน 1,111 หน่วย โดยมีต้นทุนเฉลี่ย 15.50 บาท
  • เดือนที่ 5 สินทรัพย์ X มีราคาหน่วยละ 14 บาท ลงทุน 20,000 บาท ได้หน่วยลงทุน 1,428 หน่วย โดยมีต้นทุนเฉลี่ย 15.18 บาท
ซึ่งเราจะได้หน่วยลงทุนทั้งหมด 6,586 หน่วย โดยมีต้นทุนเฉลี่ย 15.18 บาท
แต่อย่าลืมว่าเรื่องของการลงทุนเต็มไปด้วยความผันผวน ดังนั้นเราไปดูวิธีลงทุนแบบ EDCA กันว่าจะช่วยให้การลงทุนของเราคุ้มค่ามากขึ้นได้อย่างไร
ซึ่งภายใต้เงื่อนไขเดียวกันกับ DCA นี้ เราจะปรับหรือเพิ่มเงินลงทุนได้ตามความพอใจ โดยอิงจากราคาสินทรัพย์ในแต่ละเดือน ซึ่งจะได้ผลลัพธ์ดังต่อไปนี้
  • กรณีลงทุนแบบ EDCA (เงินทุน 100,000 บาท เพิ่มหรือลดเงินลงทุนได้โดยอิงราคาสินทรัพย์ในแต่ละเดือน)
  • เดือนที่ 1 สินทรัพย์ X มีราคาหน่วยละ 15 บาท ลงทุน 20,000 บาท ได้หน่วยลงทุน 1,333 หน่วย โดยมีต้นทุนเฉลี่ย 15 บาท
  • เดือนที่ 2 สินทรัพย์ X มีราคาหน่วยละ 13 บาท เพิ่มเงินลงทุนเป็น 25,000 บาท ได้หน่วยลงทุน 1,923 หน่วย โดยมีต้นทุนเฉลี่ย 13.82 บาท
  • เดือนที่ 3 สินทรัพย์ X มีราคาหน่วยละ 17 บาท ลดเงินลงทุนเป็น 15,000 บาท ได้หน่วยลงทุน 882 หน่วย โดยมีต้นทุนเฉลี่ย 14.50 บาท
  • เดือนที่ 4 สินทรัพย์ X มีราคาหน่วยละ 18 บาท ลดเงินลงทุนเป็น 10,000 บาท ได้หน่วยลงทุน 555 หน่วย โดยมีต้นทุนเฉลี่ย 14.90 บาท
  • เดือนที่ 5 สินทรัพย์ X มีราคาหน่วยละ 14 บาท เพิ่มเงินลงทุนเป็น 30,000 บาท ได้หน่วยลงทุน 2,143 หน่วย โดยมีต้นทุนเฉลี่ย 14.63 บาท
ทั้งนี้ เราจะได้หน่วยลงทุนทั้งหมด 6,836 หน่วย โดยมีต้นทุนเฉลี่ย 14.63 บาท ซึ่งทำให้เราได้หน่วยลงทุนที่มากขึ้น อีกทั้งมีต้นทุนเฉลี่ยที่ต่ำกว่า ภายใต้เงินลงทุนที่เท่ากัน และนี่คือจุดเด่นของการลงทุนแบบ EDCA นั่นเอง
จากตัวอย่างข้างต้นนี้ ทำให้เห็นว่าการลงทุนแบบ EDCA ช่วยให้เราได้ต้นทุนเฉลี่ยต่ำกว่าการลงทุนแบบ ทุ่มเงินก้อนเพียงครั้งเดียว และแบบ DCA อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งเมื่อต้นทุนเฉลี่ยต่ำ ย่อมส่งผลให้เรามีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้นนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการทำ EDCA จะมีข้อดี แต่ก็มีข้อควรระวังอยู่เช่นกัน นั่นคือหากเราลงทุนในทรัพย์สินที่มีมูลค่าร่วงลงมาอย่างต่อเนื่อง และไร้วี่แววที่จะฟื้นตัวขึ้นมาได้ ก็อาจส่งผลให้เราขาดทุนอย่างหนักได้เช่นกัน
ดังนั้น เราจึงต้องรู้จักเลือกสินทรัพย์ที่จะลงทุนด้วยรูปแบบ EDCA ให้ดี ซึ่งกองทุนรวม SSF และ RMF ก็นับว่าเป็นสินทรัพย์ที่น่าสนใจ และเหมาะกับการ EDCA เนื่องจากมีผู้จัดการกองทุนที่คอยบริหารความเสี่ยง ทำให้เราไม่ต้องติดตามภาวะตลาดมากจนเกินไป และไม่ต้องใช้เงินลงทุนมาก
สิ่งสำคัญเหนือไปกว่านั้น คือ การลงทุนแบบ EDCA ยังเป็นการฝึกนิสัยออมเงินอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญอย่างหนึ่งของการลงทุนในกองทุนรวม SSF และ RMF ด้วยเช่นกัน
สนใจกองทุนรวม SSF และ RMF คลิกเลย : https://bit.ly/3eTWMym
☎ สอบถามรายละเอียดหรือขอรับหนังสือชี้ชวนที่ ธนาคารกรุงไทย ผู้สนับสนุนการขาย หรือ บลจ.กรุงไทย โทร. 𝟎𝟐-𝟔𝟖𝟔-𝟔𝟏𝟎𝟎 กด 𝟗
คำเตือน:
ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ที่ระบุไว้ในคู่มือการ
ลงทุนในกองทุนเพื่อการออม/กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ และความเสี่ยง ก่อนการตัดสินใจลงทุน
1
ทั้งนี้ หากลงทุนไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนด อาจต้องคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีและเสียเงินเพิ่ม
References:
โฆษณา