29 ก.ย. 2022 เวลา 10:43 • หุ้น & เศรษฐกิจ
สร้างแผนการลงทุน พิชิตเป้าหมายระยะสั้น
เริ่มต้นดีมีชัยไปกว่าครึ่ง
กับเป้าหมายการเงินก็เช่นกัน
การจะบรรลุเป้าหมายการเงินควรเริ่มต้นจากการตั้งเป้าหมายที่ดี
เป้าหมายการเงินที่ดีเป็นอย่างไร?
และถ้าอยากเริ่มต้นด้วยเป้าหมายการเงินระยะสั้น
ควรวางแผนการออมและการลงทุนอย่างไร? จึงจะบรรลุเป้าหมายนั้นได้
วันนี้ LUMPSUM จะพาทุกคนไปหาคำตอบพร้อมกันครับ
****************************************************************************
สนใจโฆษณาติดต่อ :
👉 Tel: 081-773-6258 (จอย)
****************************************************************************
เป้าหมายการเงินระยะสั้น คือ เป้าหมายทางการเงินที่ต้องการทำให้สำเร็จใน 1 ปี เช่น ต้องการเก็บเงิน 50,000 สำหรับการเที่ยวต่างประเทศในปีหน้า เป็นต้น
สำหรับการวางแผนการเงิน ไม่ว่าจะเป็นแผนการเงินระยะสั้น กลาง หรือยาว การจะบรรลุเป้าหมายได้ตามที่หวัง เป้าหมายการเงินนั้นควรเป็นเป้าหมายการเงินที่ดีตามหลัก SMART คือ
1. มีความชัดเจน (Specific)
2. ระบุจำนวนเงินได้ (Measurable)
3. มีวิธีการที่จะทำให้สำเร็จได้ (Accountable)
4. เป็นจริงได้ (Realistic)
5. มีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน (Time Bound)
เงื่อนไขสำคัญในการวางแผนการลงทุนระยะสั้น คือ ต้องลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ (เงินต้นควรอยู่ครบ) และสภาพคล่องสูง (สามารถแปลงเป็นเงินสดได้ง่ายและรวดเร็วในเวลาที่บรรลุเป้าหมายแล้ว) ซึ่งการลงทุน 3 รูปแบบ ตอบโจทย์เงื่อนไขดังกล่าว
1.เงินฝากประจำ
2.เงินฝากดิจิทัล
3.กองทุนตลาดเงิน
แม้เราจะสามารถเก็บเงิน 50,000 บาท สำหรับการเที่ยวต่างประเทศในปีหน้า ไว้ในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ (1 ปี ตกเดือนละ 4,167 บาท) แต่ด้วยสามารถนำเงินออกมาใช้ได้ง่ายมาก จึงมีโอกาสที่จะทำไม่สำเร็จได้สูงมาก เพื่อเป็นการบังคับตัวเองทางอ้อมเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย สามารถนำไปออมหรือลงทุนในเงินฝากประจำ เงินฝากดิจิทัล และกองทุนรวมตลาดเงินแทนได้ครับ เพราะเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำและมีสภาพคล่องสูง
เงินออมหรือลงทุนสำหรับเป้าหมายระยะสั้นไม่ควรเกิน 20% ของรายได้ (สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามที่เราสามารถออมหรือลงทุนได้ เช่น หากสามารถออมหรือลงทุนได้เพียง 10% ก็เปลี่ยนตัวเลขจาก 20 ในสมการเป็น 10 ได้เลยครับ)
ทั้งนี้ เป้าหมายการเงิน ไม่ว่าจะเป็นเป้าหมายระยะสั้น ระยะกลาง หรือระยะยาว เป้าหมายการเงินนั้นควรเป็นเป้าหมายการเงินที่ดีตามหลัก SMART คือ
1. มีความชัดเจน (Specific)
2. ระบุจำนวนเงินได้ (Measurable)
3. มีวิธีการที่จะทำให้สำเร็จได้ (Accountable)
4. เป็นจริงได้ (Realistic)
5. มีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน (Time Bound)
เมื่อเราตั้งเป้าหมายการเงินแล้ว ควรนำมาตรวจสอบว่าตามหลัก SMART โดยเฉพาะข้อ 4 Realistic ว่าสามารถทำได้จริงเพื่อบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ได้หรือไม่
โฆษณา