29 ก.ย. 2022 เวลา 16:13 • ข่าวรอบโลก
ก๊าซคอมมิวนิสต์โซเวียต บุกประเทศทุนนิยมยุโรปตะวันตกได้อย่างไร
สหรัฐพยายามมาหลายครั้ง โดยทำทุกอย่างตามอำนาจที่มี เพื่อพยายามยุติความร่วมมือระหว่างมอสโกกับประเทศในยุโรปในด้านก๊าซธรรมชาติ แต่เป็นก๊าซของสหภาพโซเวียตที่มีส่วนสำคัญในการทำให้ยุโรปมีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว
1
ก๊าซธรรมชาติของโซเวียตเข้าสู่ยุโรปเป็นครั้งแรกไม่นานหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ปิดฉากลงในปี 1945
1
นับตั้งแต่ปี 1946 ก๊าซโซเวียตจำนวนเล็กน้อยก็เริ่มถูกส่งไปที่โปแลนด์ และในช่วงทศวรรษ 1950 ประเทศพันธมิตรอื่น ๆ ของโซเวียตในกลุ่มสังคมนิยม ก็ได้เข้าร่วมกับโปแลนด์ในการรับก๊าซจากโซเวียต
ยุคทศวรรษที่ 1960 บทบาทของโซเวียตในฐานะมหาอำนาจด้านก๊าซธรรมชาติ ก็เพิ่มขึ้นอย่างมากจากการค้นพบและการพัฒนาแหล่งก๊าซขนาดใหญ่ อย่างแหล่ง Urengoy ในไซบีเรียตะวันตก เครือข่ายท่อก๊าซ Brotherhood ที่ขยายกำลังการลำเลียงมากขึ้น ที่ยังไม่ได้ข้ามพรมแดนกลุ่มประเทศสนธิสัญญาวอร์ซอว์ ก็เริ่มเคลื่อนไปทางตะวันตกมากขึ้นเรื่อย ๆ
ในขณะเดียวกัน ประเทศในยุโรปตะวันตก คู่อริทางด้านแนวความคิดของโซเวียต ซึ่งเข้าสู่ช่วงการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว ต่างก็ให้ความสนใจอย่างมากในทรัพยากรเชื้อเพลิงธรรมชาติราคาถูกของโซเวียต พวกเขามองว่ามอสโกเป็นหุ้นส่วนทางการค้าซึ่งมีเสถียรภาพมากกว่าประเทศตะวันออกกลางที่เฟื่องฟูมากในตอนนั้น
1
แต่ความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างตะวันออกและตะวันตก ก็ขัดขวางการเริ่มต้นความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่เป็นประโยชน์ร่วมกันอย่างจริงจัง
ประเทศแรกในยุโรปตะวันตกที่มอสโกทำข้อตกลงด้วยก็คือออสเตรีย ซึ่งถือว่าเป็นประเทศที่เป็นกลางในขณะนั้น
วันที่ 1 มิถุนายน 1968 หน่วยงาน Soyuznefteexport ของโซเวียตและบริษัทออสเตรีย Österreichische Mineralolverwaltung ได้ลงนามในสัญญาสำหรับการส่งก๊าซปีละ 142 ล้านลูกบาศก์เมตร
กำแพงถูกพังทลายลงแล้ว
อีกหนึ่งปีต่อมา หลังจากจับมือกับเวียนนา มอสโกก็เซ็นสัญญากับโรมและปารีส
ในที่สุด เยอรมันตะวันตกซึ่งขาดแคลนเชื้อเพลิงราคาถูกสำหรับอุตสาหกรรมที่กำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว ก็กลายเป็นหุ้นส่วนที่สำคัญที่สุดของโซเวียตในการซื้อขายก๊าซ
ตามข้อตกลงท่อก๊าซในปี 1970 บริษัทเยอรมันตะวันตกหลายแห่งได้จัดหาท่อเหล็กเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดใหญ่คุณภาพสูงให้กับโซเวียต (ในช่วงนั้น มีแต่เพียงเยอรมันตะวันตกและญี่ปุ่นเท่านั้นที่ผลิตท่อแบบนี้ได้ ) เพื่อใช้ในการสร้างท่อส่งก๊าซที่ขยายจากไซบีเรียเข้ามายังเยอรมันตะวันตก
นับตั้งแต่วันแรกที่โซเวียตเข้าสู่ตลาดก๊าซในยุโรปตะวันตก สหรัฐพยายามขับไล่โซเวียตออกไป วอชิงตันเตือนพันธมิตรยุโรปของตนเกี่ยวกับอันตรายของการพึ่งพาพลังงานของโซเวียต กระตุ้นให้พวกเขาช่วยหยุดการขยายตัวทางเศรษฐกิจของคอมมิวนิสต์ สัญญาว่าจะเพิ่มปริมาณถ่านหินที่ส่งขายให้ยุโรปอีกหลายเท่า และแนะนำให้หันมาใช้ก๊าซนอร์เวย์
อย่างไรก็ตาม ยุโรปพบว่าทางเลือกเหล่านี้มีราคาแพงและไม่น่าจะเป็นจริงได้
1
ปี 1981 สหรัฐได้เปิดสงครามก๊าซจริง ๆ กับโซเวียตโดยต่อต้านการก่อสร้างท่อส่งก๊าซ Urengoy-Pomary-Uzhgorod ซึ่งเป็นท่อก๊าซที่โซเวียตสร้างด้วยความช่วยเหลือด้านเงินกู้จากยุโรป มันประกอบไปด้วยท่อ 2 ท่อที่มีกำลังการผลิตรวมกัน 6 หมื่นล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี
พวกอเมริกันสั่งห้ามส่งอุปกรณ์เกี่ยวกับน้ำมันและก๊าซไปยังโซเวียต การแบนยังถูกขยายไปถึงอุปกรณ์ของยุโรปตะวันตกและญี่ปุ่น ที่ใช้เทคโนโลยีและส่วนประกอบของสหรัฐด้วย
ในท้ายที่สุด โซเวียตก็ถูกบังคับให้ต้องดำเนินโครงการด้วยตนเองจนแล้วเสร็จในปี 1983 อย่างไรก็ตาม ก็มีเพียงท่อส่งเดียวที่มีศักยภาพในการลำเลียงก๊าซ 3 หมื่น 2 พันล้านลูกบาศก์เมตรต่อปีเท่านั้นที่ถูกสร้างขึ้น แทนที่จะเป็น 2 ท่อ
แม้วอชิงตันจะค้านสุดตัว แต่อุปทานก๊าซธรรมชาติของโซเวียตในยุโรปก็เพิ่มขึ้น 35 เท่าในช่วง 20 ปีถัดมา
ในช่วงปลายทศวรรษ 1980 ก๊าซที่ใช้ในฝรั่งเศส 15% มาจากโซเวียต ในขณะที่ในเยอรมันตะวันตก สัดส่วนนี้มีมากถึง 30%
โซเวียตทำให้ยุโรปเสพติดติดก๊าซของโซเวียต แต่ในขณะเดียวกัน ก๊าซโซเวียตก็รับประกันการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วของยุโรป
อย่าลืมว่าตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงโซเวียตล่มสลาย เป็นยุคของสงครามเย็น รวมถึงเป็นยุคสงครามโซเวียต - อัฟกานิสถานอยู่นานหลายสิบปี
แต่ตลาดการซื้อขายก๊าซระหว่างโซเวียตกับยุโรป ก็ไม่ได้มีปัญหาอะไรกัน โซเวียตก็ยังส่งก๊าซมาให้ยุโรปโดยไม่ได้ขาด หากไม่มีความจำเป็น
แต่เมื่อสหภาพโซเวียตแตก อูเครน ซึ่งแต่ก่อนเคยใช้ก๊าซโซเวียตฟรี ๆ ตอนนี้ก็ต้องจ่ายเงินซื้อก๊าซรัสเซีย
1
แต่ก็คงคิดว่า รัสเซียกับอูเครนเป็นพี่เป็นน้องกัน จะชักดาบบ้าง ก็คงไม่เป็นไร
จริง ๆ แล้ว รัสเซียก็คิดแบบนี้เหมือนกัน แต่บ่อยครั้งเข้าก็ไม่ไหว เพราะว่าอูเครนก็เรียกเก็บค่าส่งก๊าซผ่านแดนอูเครนไปยังยุโรป
1
เมื่ออูเครนไม่จ่ายค่าก๊าซมาก ๆ เข้า รัสเซียก็ตัดการจ่ายก๊าซให้อูเครน
แต่อูเครนกลับขโมยก๊าซจากท่อที่รัสเซียส่งให้ประเทศอื่น ๆ ทำให้ก๊าซไปไม่ถึงประเทศปลายทาง
1
แต่แทนที่ประเทศยุโรป จะห็นไปตำหนิอูเครนที่มาขโมยก๊าซของตัวเอง
พวกเขาต่างก็พากันมาชี้หน้ารัสเซีย แบบที่รัสเซียก็ทำหน้างง
และเหตุการณ์ครั้งนี้นำไปสู่การตราหน้ารัสเซียว่าใช้การเสพติดก๊าซของยุโรปเป็นประหนึ่งอาวุธ
ฝ่ายเยอรมัน มองออกว่าเหตุการณ์ยุ่งวุ่นวายระหว่างรัสเซียกับอูเครน จะไม่จบลงแค่ในครั้งนี้ครั้งเดียว ก็ได้หาทางออก
โดยขอให้รัสเซียสร้างท่อผ่านทางทะเล มาถึงเยอรมันโดยไม่ต้องผ่านดินแดนของประเทศใด
1
รัสเซียก็โอเค สร้างท่อผ่านทะเลมายังเยอรมัน โดยให้ชื่อว่า " นอร์ดสตรีม " ซึ่งประกอบไปได้ท่อคู่
ต่อมา เยอรมันเกิดติดใจ ก็เลยขอให้รัสเซียสร้างท่ออีกชุด คู่ขนานไปกับ " นอร์ดสตรีม " โดยเรียกว่า " นอร์ดสตรีม 2 " ซึ่งก็ประกอบไปได้ท่อคู่เช่นกัน
พอสร้างเสร็จ เยอรมันกลับไม่อนุมัติให้เปิดใช้ซะงั้น เพราะถูกสหรัฐกดดัน โดยอ้างเหตุผลเดิม
และในที่สุด ท่อ 3 ท่อก็เกิดระเบิดอย่างเป็นปริศนา
ตอนแรกก็มองกันว่ารัสเซียอาจจะเป็นคนทำเองหรือเปล่า 55555555
1
คนไม่ใช่ มันก็ไม่ใช่อยู่วันยังค่ำนั่นแหละ ทำอะไร หรือไม่ทำอะไร ก็ผิดไปหมด
5
# Cccp
โฆษณา