2 ต.ค. 2022 เวลา 01:27 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
งานวิจัยตัวนำยิ่งยวดถูกถอนออกจากวารสาร Nature
(เรียบเรียงโดย ณัฐนันท์ รัตนชื่อสกุล)
3
ตัวนำยิ่งยวด (superconductors) เป็นวัสดุที่สามารถนำไฟฟ้าได้ 100% โดยไม่มีการสูญเสียพลังงานออกมาในรูปของความร้อนเลย มันจึงเป็นกุญแจสำคัญในเทคโนโลยีหลายอย่าง ทั้ง เครื่อง MRI และ เครื่องเร่งอนุภาค รวมทั้งความเป็นไปได้ในการส่งกระแสไฟฟ้าแบบไร้ความต้านทาน หรือ การประมวลผลของคอมพิวเตอร์
แต่ปัญหาคือยังไม่มีนักวิทยาศาสตร์คนใดสามารถสังเคราะห์วัสดุตัวนำยวดยิ่งที่ทำงานในอุณหภูมิห้องได้เลย ตัวนำยิ่งยวดส่วนใหญ่นั้นสามารถใช้งานได้ที่อุณหภูมิต่ำมากๆเข้าใกล้ศูนย์สัมบูรณ์หรือที่เรียกว่า “Absolute zero” คือที่ -273 °C
แต่แล้วในปี ค.ศ. 2020 นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโรเชสเตอร์ในนิวยอร์ก กล่าวอ้างว่าได้สังเคราะห์วัสดุตัวนำยิ่งยวดที่สามารถทำงานได้ที่อุณหภูมิ 15°C ซึ่งใกล้เคียงกับอุณหภูมิห้องมากๆ (แต่ต้องอยู่ภภายใต้ความดันสูงมาก) โดยองค์ประกอบหลักของวัสดุดังกล่าวคือ คาร์บอน ไฮโดรเจน และกำมะถัน และงานวิจัยนี้ได้ถูกตีพิมพ์ลงในวารสารทางวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงอย่าง Natureและได้รับความสนใจในวงการวัสดุเป็นอย่างมาก
อย่างไรก็ตาม ล่าสุดงานวิจัยนี้ได้ถูกถอดถอนออกจากวารสารดังกล่าว เนื่องจากผู้เขียนใช้กระบวนการที่ไม่ได้มาตรฐานในการลดสัญญาณรบกวนข้อมูล ซึ่งขั้นตอนดังกล่าว ผู้เขียนไม่ได้แจ้งรายละเอียดไว้ในงานวิจัย ทำให้เกิดความสงสัยในความถูกต้องของข้อมูลที่ตีพิมพ์ แม้ว่าทางผู้เขียนจะคัดค้าน แต่ด้วยความผิดพลาดนี้ บรรณาธิการก็ตัดสินใจที่จะถอดถอนงานวิจัยนี้ออก
1
หลายคนอาจจะสงสัยว่าเรื่องเล็กน้อยเช่นนี้ก็ส่งผลให้สามารถถูกถอดถอนได้เชียวหรือ
ที่มา :  J. Adam Fenster
นักฟิสิกส์จากสถาบันวิจัยมักซ์พลังค์ ได้ลองเตรียมวัสดุนี้ซ้ำจากงานวิจัยดังกล่าว และไม่ประสบผลสำเร็จ และเนื่องจากตัวนำยิ่งยวดที่สามารถทำงานได้ที่อุณหภูมิห้องนั้นเป็นดั่งหนึ่งในจอกศักดิ์สิทธิ์แห่งวงการวัสดุศาสตร์ จึงไม่น่าแปลกใจที่งานวิจัยที่มีผลกระทบสูงเช่นนี้จะถูกตรวจสอบอย่างละเอียด อย่างไรก็ตามทางผู้วิจัยยังคงวางแผนที่จะส่งงานวิจัยนี้เพื่อตีพิมพ์วารสารเดิมโดยใช้ข้อมูลดิบในการตีพิมพ์แทน
โฆษณา