2 ต.ค. 2022 เวลา 04:12 • หุ้น & เศรษฐกิจ
เปิดวิสัยทัศน์ความยั่งยืน 5 CEO บริษัทใหญ่ของประเทศไทย ในงาน SX2022
สรุปไฮไลต์สำคัญจากเวทีเสวนา "Leading Sustainable Business" ที่รวม 5 CEO ชั้นนำของเมืองไทย ในงานมหกรรมความยั่งยืน Sustainability Expo 2022 วันที่ 1 ต.ค. 2565
คุณศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด (CP Group)
"จริงๆ แล้ว เราจะอยู่ได้ยั่งยืนต่อเมื่อโลกอยู่ได้อย่างยั่งยืน บริษัทและองค์กรจะยั่งยืนก็ต่อเมื่อประเทศชาติและสังคมอยู่ได้อย่างยั่งยืนด้วย มันมีความเชื่อมโยงกันหมด"
เราจะเป็นคนที่มีเป้าหมาย มีวัตถุประสงค์ในชีวิต หรือว่าเราจะเป็นองค์กรที่มีเป้าหมาย มีวัตถุประสงค์ขององค์กร มีเส้นทางการเดินทางขององค์กรอย่างไร ตรงนี้เป็นเรื่องสำคัญมาก
ปกติเราตั้งเป้าหมายองค์กรว่า ทำอย่างไรถึงจะเติบโต จะกินส่วนแบ่งตลาด สร้างผลกำไรคืนผู้ถือหุ้นอย่างไร ขณะเดียวกันก็รับผิดชอบทำเรื่อง CSR ไปด้วย แต่เราไม่เคยตั้งเป้าหมายจริงๆ เรื่องการรับผิดชอบต่อความยั่งยืนของโลกและของตัวเราเองว่าคืออะไร ในเรื่องเศรษฐกิจเราทำเต็มที่ และเศรษฐกิจของเราถูกขับเคลื่อนแบบบริโภคนิยม แต่เราไม่ได้ดูของเสียที่ถูกขับออกมา หรือเราทำลายไปสร้างทดแทนไม่ทัน ซึ่งมันไม่ยั่งยืน
เมื่อช่วง 5 ปีก่อนที่ได้ขึ้นเป็นซีอีโอ คุณศุภชัยได้ตั้งเป้าหมายความยั่งยืนควบคู่ไปกับเป้าหมายทางเศรษฐกิจว่า ภายใน 10 ปี จะเป็นท็อป 20 ของโลกด้านเศรษฐกิจ และท็อป 20 ของโลกในด้านความยั่งยืน ให้คู่ขนานเป็นเนื้อเดียวกันกับการทำธุรกิจ
ซึ่งการที่ตั้งเป้าหมายคู่กันแบบนี้จะทำให้องค์กรและบรรดาผู้บริหารได้รู้ว่าต้องไปทำคู่กันพร้อมๆ กับการดำเนินธุรกิจ และจากวันนั้นที่ถูกขับออกจาก Global Compact มาวันนี้ก็ทำให้ ซีพี กรุ๊ป ได้อยู่ในกลุ่มท็อป 38 ของบริษัทที่ยั่งยืนของโลกในกลุ่ม Global Compact leading company แล้ว
อย่างไรก็ตาม นี่ยังเป็นเพียงแค่ตัวชี้วัดด้านเดียวเท่านั้น เมื่อ 2 ปีที่แล้ว เราคุยกันเรื่อง Neutral Carbon 2030 และ Zero waste 2030 ในอาณาเขตบริเวณของการดำเนินธุรกิจเรา แต่เมื่อไม่นานมานี้ ประเด็นที่คุยไปถึงขั้น Net Zero แล้ว (ไม่ใช่แค่ลดคาร์บอน แต่ปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์) ซึ่งหมายความว่าตลอดห่วงโซ่อุปทาน ถ้าเราปล่อยคาร์บอนออกมาเท่าไร
เราก็ต้องชดเชยในปริมาณเท่ากัน เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เราตั้งเป้าหมายเหมือนกันของปี 2050 ซึ่งการตั้งเป้าหมายในชีวิตหรือในองงค์กรนี้เป็นเรื่องที่ใหญ่และท้าทายว่า บริษัทที่ขับเคลื่อนด้วยวัตถุประสงค์ที่ดีต่อส่วนรวม ย่อมเป็นองค์กรที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง เรียกว่าเป็นความท้าทายในอีก 27 ปี ที่เราจะมุ่งไปสู่การเป็น Net zero
ตอนนี้กำลังจะเกิดการเก็บภาษีคาร์บอน (Carbon Tax) ขึ้นในปี 2024 จะมีการคิดกลับไปถึงต้นน้ำ ถ้าทำกระบวนการไม่ดีก็จะต้องมีการเสียภาษี
ทั้งนี้ คุณศุภชัยได้ให้คำแนะนำ 5 ขั้นตอน สำหรับการดำเนินธุรกิจให้ยั่งยืน คือ
  • 1.
    ตั้งเป้าหมายและตัวชี้วัด ถ้าไม่มั่นใจก็มีหลายองค์กรที่ทำเรื่องนี้อยู่ เช่น UNGP ประเทศไทย
  • 2.
    การมีส่วนร่วม (Engagement) ของพนักงาน ผู้บริหาร ไปจนถึงหุ้นส่วนธุรกิจ ตลอดห่วงโซ่อุปทาน
  • 3.
    มีผู้ขับเคลื่อน ผู้นำสูงสุดต้องขับเคลื่อน และวางคนทำงานให้ถูกต้อง (Put the right man on the right job)
  • 4.
    สนับสนุนคนทำงาน (Empowerment) โดยอาจสร้างแรงจูงใจต่างๆ ให้คนคิด คนทำ คนปฏิบัติจริง ซึ่งรวมถึงเรื่อง "ทุน" ด้วย
  • 5.
    สร้างนวัตกรรม (Innovation) ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมากในยุคข้อมูลและเทคโนโลยีทุกวันนี้
"สิ่งที่อยากทำต่อไปก็คือ เรื่องของการศึกษา การศึกษาวันนี้ยังเป็นแบบ 2.0 อยู่ คือสร้างคนไปทำงานโรงงาน และสร้างนักวิทยาศาสตร์ แต่ถ้าเราเริ่มสร้างเด็กที่คำนึงถึงความยั่งยืน และสร้างวิชาการที่แก้ยั่งยืนได้ก็จะเป็นอนาคต เด็กรุ่นต่อไปถ้าเขามีเครื่องไม้เครื่องมือ เขาจะเก่งกว่าเราไม่รู้กี่เท่าแบบ exponential และจะเป็นคนที่เปลี่ยนโลก"
คุณฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)
เล่าย้อนกลับไปถึงแรงบันดาลใจในการเดินหน้าองค์กรด้วยความยั่งยืน มีจุดเริ่มต้นจากคุณเจริญ สิริวัฒนภักดี ที่ได้เริ่มต้นสร้างธุรกิจ มาราว 65 ปีที่ผ่านมาจากสินค้าคือบรรจุภัณฑ์ขวดแก้ว ขวดแก้วหมุนเวียน เป็นธุรกิจเอสเอ็มอี และ เติบโต ขยายมาเรื่อย ๆ
ความยั่งยืนแท้จริงแล้วเป็นมิติใหม่ แต่เป็นเรื่องที่อยู่ใกล้ตัวผู้คนมาก หลายคนอาจจะได้ดำเนินการอยู่แล้ว แต่องค์การสหประชาติได้หยิบยกศัพท์ให้มีความเป็นสากล ว่า Sustainability และมีการกำหนดเป้าหมายความยั่งยืน SDGs Sustain Development Goals ทั้งหมด 17 ข้อขึ้นมาเป็นวาระแห่งปี 2030 หรืออีก 8 ปีข้างหน้า มองว่าศักยภาพของธุรกิจไทยมีความพร้อม แต่หลังจาก 2030-2045 ยังไม่รู้ได้ว่า UN จะมีการกำหนดเป้าหมายในกับประเทศสมาชิกอย่างไร
หากมองดูปัญหาพบว่าความวุ่นวายของโลกมาจากการบริโภค consumerism ทำให้ภาคธุรกิจเกิดขึ้นมาตอบสนองความต้องการ แต่หลังจากปี 2030 แล้วความยั่งยืนต้องเริ่มจากความเป็นปัจเจก หรือตัวบุคคลเพราะเป็นผู้ที่สร้างผลกระทบดังนั้นจึงมีคำถามว่า หากประเทศ องค์กร ประกาศไปสู่เป้าหมาย Net Zero แล้วตัวเรารายบุคคล ได้ปฏิบัติไปด้วยหรือไม่ ซึ่งนั่นคือ สิ่งที่จะทำให้ความยั่งยืนสำเร็จได้ ต้องมีการหลอมรวมกันทุกภาคส่วน ด้านไทยเบฟเองก็เคยวางเป้าหมายการเป็น Net Zero ในปี 2040 หรือพ.ศ.2583
ทั้งนี้หากได้ทำหน้าที่ในฐานะองค์กรคนไทย อยากน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 ให้ทุกคนตระหนักรู้และนำไปปฏิบัติใช้ เพราะเป็นหลักการที่ให้ความสำคัญกับความเป็นปัจเจก ทั้งความพอเพียง และหลักการความคิด ซึ่ง SEP For SDGs คือ sufficiency Economy เพื่อ Sustainable development Goals
งาน SX 2022 คือการรวมพลังของภาคธุรกิจ (Collaboration) ถือเป็นมิติใหม่หลังจากนี้ เพราะในยุคการบริโภคทำให้เราเผาผลาญทรัพยากรธรรมชาติไปอย่างมาก และเราทุกคนมีโลกใบเดียวเราจะอยู่ร่วมกันได้อย่างไร คนมีชีวิต โลกก็มีชีวิต เราจะรักษาคุณภาพชีวิตของเราและโลกได้อย่างไร เหมือนดั่งคอนเซ็ปท์งานในปีนี้ Good Balance Better World สมดุลที่ดี เพื่อโลกที่ดีกว่า
คุณธีรพงศ์ จันศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป (TU) ได้เริ่มดำเนินการเกี่ยวกับ Sustainability อย่างจริงจังมาตั้งแต่ปี 2014 ซึ่งเป็นช่วงที่ต้องพบเจอกับอุปสรรคมากมายพร้อมๆ กัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่ประเทศไทยถูกจัดอันดับในเรื่องของการค้ามนุษย์ในอันดับต่ำสุด (Tier 3) หรือได้รับใบเหลืองจากฝั่งยุโรปในเรื่องของการทำประมงที่ผิดกฎหมาย และในแง่ของการทำปลาทูน่ากระป๋องก็ถูกคู่ค้ารวมถึงองค์กรด้านสิ่งแวดล้อม เช่น กรีนพีซ โจมตีในเรื่องการทำประมงที่ไม่เหมาะสม ทำให้ทาง TU เกิดการตระหนักอย่างจริงจัง
แม้ในอดีตคิดเพียงว่าแก้ปัญหาภายในก็เพียงพอ แต่แท้จริงแล้วการแก้ปัญหาต้องแก้ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ไปจนถึงคู่ค้า และผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมด โดยในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยถือว่าเป็นผู้นำในเรื่องของการจัดการแรงงานโดยเฉพาะแรงงานต่างชาติ บริษัทจึงได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก ซึ่งไม่เพียงแต่แรงงานในบริษัทเท่านั้นแต่ยังรวมไปถึงแรงงานในกลุ่มคู่ค้าอีกด้วย
นอกจากนี้ ยังมีเรื่องของการซื้อวัตถุดิบที่ถูกต้อง โดยการให้ความรู้ความเข้าใจกับชาวประมงทั้งในประเทศและต่างประเทศ หรือการบริหารจัดการฟาร์มที่ถูกต้อง รวมไปถึงเรื่องของ Sustainable packaging โดยเฉพาะเรื่องของพลาสติก ซึ่งมีการใช้งานค่อนข้างเยอะและไม่สามารถจัดการเรื่องนี้ได้เอง จึงจำเป็นต้องทำงานร่วมกับผู้ประกอบการที่เป็นผู้ผลิต โดยทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่ TU ทำมาตลอด 7-8 ปีที่ผ่านมา
ขณะที่หัวข้อใหม่ที่ทางบริษัทได้ให้ความสำคัญในตอนนี้เกี่ยวกับ Sustainability คือเรื่องของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate Change และได้ประกาศนโยบาย Net Zero ในปี 2050 ซึ่งถือเป็นเรื่องค่อนข้างใหญ่ แต่ข้อดีของการทำเรื่องเหล่านี้คือเรื่องของ Innovation
นอกจากนี้ ยังมีเรื่องของการซื้อวัตถุดิบที่ถูกต้อง โดยการให้ความรู้ความเข้าใจกับชาวประมงทั้งในประเทศและต่างประเทศ หรือการบริหารจัดการฟาร์มที่ถูกต้อง รวมไปถึงเรื่องของ Sustainable packaging โดยเฉพาะเรื่องของพลาสติก ซึ่งมีการใช้งานค่อนข้างเยอะและไม่สามารถจัดการเรื่องนี้ได้เอง จึงจำเป็นต้องทำงานร่วมกับผู้ประกอบการที่เป็นผู้ผลิต โดยทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่ TU ทำมาตลอด 7-8 ปีที่ผ่านมา
ขณะที่หัวข้อใหม่ที่ทางบริษัทได้ให้ความสำคัญในตอนนี้เกี่ยวกับ Sustainability คือเรื่องของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate Change และได้ประกาศนโยบาย Net Zero ในปี 2050 ซึ่งถือเป็นเรื่องค่อนข้างใหญ่ แต่ข้อดีของการทำเรื่องเหล่านี้คือเรื่องของ Innovation
เรื่อง Sustainability สำหรับในธุรกิจของ TU ถือเป็น License to Operate ถ้าไม่ทำเรื่องนี้จะไม่สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ อีกทั้งยังเป็นความต้องการของคู่ค้าของเราทั้งหมดที่ต้องการเห็นเรื่องนี้เกิดขึ้นอย่างจริงจัง
คุณรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)
  • 1.
    ทำอย่างไรให้ทุกคนในองค์กรมีวิสัยทัศน์ ความเข้าใจ และเป้าหมายเรื่องความยั่งยืนร่วมกัน
  • 2.
    ทำอย่างไรให้การลงทุนเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในการสร้างทั้งผลกระทบที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยเรื่องความยั่งยืน แต่ในขณะเดียวกันก็สร้างผลกำไร และส่งผลกระทบที่ดีในด้านการเงินของบริษัท
  • 3.
    ทำอย่างไร ให้การพูดกับปฏิบัติเป็นไปในทางเดียวกัน
คุณรุ่งโรจน์ กล่าวว่าการสร้างวิสัยทัศน์เรื่องยั่งยืนร่วมกันเป็นเรื่องที่ท้าทาย แต่ทำได้ เพราะทางด้าน SCG เอง ก็มีอุดมการณ์ด้านความยั่งยืนที่พนักงานในบริษัทต้องยึดถืออยู่แล้ว 4 ประการคือ ความเป็นธรรม ความเป็นเลิศ การให้ความสำคัญกับคุณค่าของคน และการถือมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งทำให้คนทั้งองค์กรมีเป้าหมาย มีแนวทางในการปฏิบัติร่วมกัน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญมากที่ทำให้การขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงเพื่อความยั่งยืนในองค์กรเกิดผลสำเร็จ
แต่สิ่งที่ทุกบริษัทประสบปัญหาร่วมกันคือเรื่องผลกระทบ หรือแรงกระเพื่อมของการลงทุนเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในองค์กร เพราะในหลายๆ ครั้งภาคธุรกิจต้องเลือกว่าจะให้การลงทุนเกิดผลในด้านไหน ถ้าเลือกลงทุนเพื่อกำไรก็อาจจะส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม แต่ถ้าเลือกลงทุนเพื่อสิ่งแวดล้อมก็อาจจะทำร้ายผลกำไร
แต่ในกรณีนี้ เขามองว่าภาคธุรกิจอาจมองหาทางลงทุนที่จะทำให้เกิดผลทั้งสองทางได้ โดยยกตัวอย่างแผนการลงทุนในพลังงานทางเลือกของ SCG ที่วางแผนจะลดการใช้พลังงานฟอสซิลในโรงปูนให้เหลือ 0% ในอีก 7-8 ปีข้างหน้า และให้ 80-90% ของพลังงานเหล่านั้นเป็นพลังงานสะอาดทั้งหมด ซึ่งนอกจากจะช่วยด้านสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังช่วยเรื่องค่าใช้จ่ายเพราะปัจจุบันพลังงานฟอสซิลราคาแพงมาก
นอกจากนี้ อีกความท้าทายหนึ่งที่สำคัญคือการลงมือปฏิบัติให้ได้เหมือนที่พูดประกาศไว้ เพราะการประกาศเป้าหมาย หรือประกาศแผนนั้นง่าย แต่การจะลงมือกระทำให้ได้ผลจริงในระยะเวลาที่กำหนดนั้นยาก ซับซ้อน และต้องการความร่วมมือจากหลายๆ ฝ่าย แต่วิธีที่ช่วยให้ SCG วางแผนปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพคือการตั้ง ‘เป้าหมายระยะสั้น’ และตั้งระบบติดตามผล เช่น SCG ที่ตั้งเป้าว่าจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 20%
จากปริมาณการบ่อยคาร์บอนปี 2020 ภายในปี 2030 และเมื่อมีเป้าหมายระยะสั้นแล้วบริษัทต่างๆ ก็จะสามารถวางแผนปฏิบัติงานที่ชัดเจนและทำได้จริงได้ ซึ่งจะทำให้ความพยายามในการลดก๊าซเรือนกระจกนั้นบรรลุผลได้ภายในกรอบระยะเวลาที่กำหนด
นอกจากนี เขายังกล่าวอีกด้วยว่า การเปลี่ยนแปลงให้บริษัทมีความยั่งยืนนั้นไม่ได้ทำได้ด้วยการลงทุนในโครงการใหญ่ๆ เพียงอย่างเดียว เพราะธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางคงไม่มีเงินทุนพอจะลงทุนกับเทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืนเหมือนบริษัทใหญ่ๆ ได้
แต่สิ่งที่บริษัทขนาดเล็กและขนาดกลางทำได้ก็คือ การตอบสนองความต้องการของลูกค้าในเรื่องของความยั่งยืน หาคำตอบว่า pain point ที่ทำให้ลูกค้ายังไม่สามารถบริโภคอย่างยั่งยืนได้คืออะไร ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของตัวสินค้า การใช้งาน การรีไซเคิล และหานวัตกรรมที่มีอยู่นำมาใช้ช่วยแก้ pain point ของลูกค้าตรงนี้
เขาเชื่อว่าหากบริษัทเล็กๆ สามารถปรับเปลี่ยนจนเกิดเคสความสำเร็จที่สามารถนำไปแลกเปลี่ยนได้แล้ว การเปลี่ยนแปลงในบริษัทเล็กๆ เหล่านี้ก็จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวงกว้าง และทำให้การประกอบธุรกิจอย่างยั่งยืนเป็นเรื่องที่ ‘ถึงจะทำยาก’ แต่ ‘ทำได้’
ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC ได้ผสานเรื่องความยั่งยืนเข้าเป็น 1 ใน 3 กลยุทธ์หลักขององค์กร ควบคู่ไปกับความสามารถในการแข่งกัน โดย GC ดำเนินธุรกิจภายใต้แนวคิดที่ว่า ‘Chemistry for Better Living’
การเป็นอยู่ที่ดีนี้ อาจหมายถึง ชีวิตดีขึ้น สะดวกสบายขึ้น สุขภาพดีขึ้น แต่คุณภาพชีวิตดีไม่พอ ต้องหมายรวมถึงกระบวนการที่ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ด้วย ที่จะต้องใช้ทรัพยากรน้อย ดีต่อโลก เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
นอกจากนี้ การดำเนินธุรกิจยังต้องมีธรรมาภิบาลที่ดี เพื่อให้สอดคล้องกับคอนเซปต์ของความยั่งยืน สร้างสมดุลทั้ง ‘เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม’
การสร้างความยั่งยืนไม่ควรสำเร็จเพียงแค่กับองค์กรใหญ่เท่านั้น แต่ต้องสามารถขยายความเข้าใจ ขยายความช่วยเหลือไปยังองค์กรที่เล็กกว่า และสนับสนุนให้ชุมชนใกล้เคียงมีส่วนร่วมด้วย โดยอาจเริ่มต้นได้ง่ายๆ จากการสอนเด็กเล็กๆ ให้ตระหนักรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะและรีไซเคิล โดยสื่อสารอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้พวกเขาเป็นกำลังสำคัญที่จะทำสิ่งที่ใหญ่ขึ้นต่อไป
ติดตามข้อมูล ด้านเศรษฐกิจ ธุรกิจการเงิน ของ #Spotlight เพิ่มเติมได้ที่
เว็บไซต์ https://www.amarintv.com/spotlight
ยูทูป : https://bit.ly/31rtDUM
อินสตาแกรม : https://www.instagram.com/spotlight_biz
โฆษณา