12 ต.ค. 2022 เวลา 11:23 • ธุรกิจ
Ethics of Gamification
เราทุกท่านก็คงทราบกันดีแล้วนะครับว่าเกมมิฟิเคชันคือการจูงใจคนด้วยกลไกเกม
เราสามารถใช้เทคนิคเกม ทำให้งานที่เคยน่าเบื่อนั้นสนุกขึ้น ไม่ว่าจะกับนักเรียน พนักงาน หรือ ลูกค้า
.
แต่ทีนี้ถ้าเราใช้เทคนิคเกมมิฟิเคชันไป “หลอกล่อ” ให้คนทำในสิ่งที่เขาไม่อยากทำขนาดนั้น ยกตัวอย่างแบบง่าย ๆ คือ ทำให้เขารู้สึกสนุกกับการทำงาน จนทำงานหนักเกินจำเป็นล่ะ
ประมาณว่าอยากเอาชนะ อยากจะได้รางวัล จนทำงานหามรุ่งหามค่ำ … แบบนี้ก็ไม่ค่อยโอเคละ
แต่ถามว่าผิดมากหรือเปล่า? มันก็เป็นเส้นบาง ๆ ครับ ว่าแบบไหนเรียกว่าจูงใจ แบบไหนเรียกว่าหลอกล่อ (คือผมก็ไม่รู้จะใช้คำว่าอะไรดีนะ ขออนุญาตใช้คำว่าหลอกล่อไปก่อนละกันนะครับ ภาษาอังกฤษเขาใช้คำว่า Manipulate)
.
ผมรู้จักน้องคนหนึ่ง ที่ว่าง ๆ ก็ไปขับรถให้กับ App หนึ่ง ซึ่งน้องก็เล่าว่า ขับเพลินมากเลยเพราะใน App จะมีเป้าหมาย มี notification มีหลายอย่างจูงใจให้น้องเค้ารู้สึกอยากขับรถไปเรื่อย ๆ ซึ่งสุดท้ายขับแทบทั้งวันจนล้าไปหมด ตอนท้ายน้องเค้าก็ต้องตัดใจบอกว่า กำหนดให้ตัวเองขับแค่นี้ล่ะ ไม่ไปมากกว่านี้ละ
.
อย่างตัวผมเอง วันก่อนผมก็ไปจองโรงแรมเพื่อไปเที่ยวกับที่บ้าน พอกดไปดูห้องก็เจอว่ามันกำลังลดราคา แล้วแอปก็ขึ้นว่าราคาที่กำลังดูอยู่นี้จะหมดเมื่อไหร่ แล้วห้องที่ผมอยากได้เนี่ยเหลือไม่กี่ห้องแล้วนะ แบบว่าโดน Scarcity effect เข้าไป
มันก็กลายเป็นว่าจากที่อยากจะดูเพลิน ๆ กลายเป็นต้องรีบตัดสินใจ และห้องนี้ก็ดูน่าสนใจขึ้นมาซะงั้น 555
.
มันเป็นเส้นบาง ๆ ครับ ไม่มีถูกผิดที่ตัดสินได้ชัดเจน
แล้วเส้นบาง ๆ ของเกมมิฟิเคชันนี้อยู่ตรงไหน จริง ๆ ก็มีการถกเถียงกันเยอะนะ แต่ก็ไม่มีจุดตัดที่ชัดเจน แต่เอาเป็นว่า ถ้าเราจูงใจผู้เล่นให้ทำจนเกินความจำเป็น หรือ จูงใจให้เขาอยากทำในสิ่งที่ไม่อยากทำ ก็ชักจะไม่ค่อยดีแล้ว
เกมมิฟิเคชันก็เป็นเหมือนอุปกรณ์อย่างหนึ่งครับ จะเอาไปใช้ในทางดี หรือ ทางร้ายก็ได้
.
แต่ละท่านมีประสบการณ์ประมาณนี้บ้างมั้ยครับ ที่รู้สึกถูกจูงใจจนอยากทำ หรือ อยากได้อะไรบางอย่างขึ้นมา ทั้งที่ตอนแรกไม่ได้อยากได้เลย ^ ^”
#gamification ตอนที่ 63
.
อ่านบทความย้อนหลังทั้งหมด
โฆษณา