25 พ.ย. 2022 เวลา 05:21 • สุขภาพ
"ภาวะทุพโภชนาการ" ในผู้สูงอายุคืออะไร
ภาวะทุพโภชนาการ อธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ การที่ คนเรา ทานอาหาร หรือได้รับสารอาหารที่ไม่เหมาะสม ไม่ว่าจะในเชิงปริมาณหรือความครบถ้วนของสารอาหาร ที่บอกว่าไม่เหมาะสม นั้นหมายถึง น้อยหรือมากกว่าความต้องการของร่างกาย จึงทำให้ร่างกายเกิดภาวะผิดปกติขึ้นได้
หลายคนอาจจะเข้าใจผิดว่า ภาวะทุพโภชนาการ คือ การขาดสารอาหาร หรือการที่เราทานอาหารได้น้อย หรือทานอาหารไม่เพียงพอ แต่ที่จริง คนอ้วน ก็ เกิดภาวะทุพโภชนาการได้นะคะ หรือ ทางการแพทย์เรียกว่า ภาวะโภชนาการเกิน (Overnutrition) ซึ่งก็คือ การที่ร่างกายที่ได้รับสารอาหารมากเกินความต้องการของร่างกายในแต่ละมื้อ หรือแต่ละวัน ซึ่งร่างกายก็จะสะสมไว้ ตามส่วนต่างๆ ที่เห็นชัดๆ ก็ตามชั้นไขมันที่พุงเรานี่แหละค่ะ ทำให้เกิดโรคตามมา ที่เรารู้จักกันดีก็คือ โรคอ้วน
ผู้สูงอายุที่มีภาวะโภชนาการต่ำ สังเกตุได้จากมีน้ำหนักตัวลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ มีความอยากอาหารลดลง ผมร่วง ซีด ใจสั่น เวียนศีรษะ อ่อนแรง รู้สึกเพลียตลอดเวลา และอาจเป็นลมหมดสติ เจ็บป่วยง่ายและหายช้ากว่าปกติ มีปัญหาในระบบย่อยอาหาร และการหายใจ เป้นเหน็บชาหรือชาที่ข้อต่อ ขาดสมาธิ สับสน เคลื่อนไหวช้าลง หงุดหงิดง่าย หรือมีอาการวิตกกังวลผิดปกติ ซึมเศร้า หดหู่
ผู้สูงอายุที่มีภาวะโภชนาการเกิน ส่วนใหญ่จะเป็นโรคอ้วน คือ มีน้ำหนักตัวมากกว่าเกณฑ์ มีไขมันส่วนเกินสะสมอยู่ในร่างกายปริมาณมาก หายใจติดขัด หายใจไม่คล่อง นอนกรน เหนื่อยง่าย ขี้ร้อน เหงื่อออกมาก เคลื่อนไหวร่างกายช้าหรือลำบาก
ในครอบครัวของเราที่มีผู้สูงอายุในบ้าน หรือแม้แต่เราเป็นผู้สูงอายุเอง เราจะรู้ได้อย่างไรค่ะว่า เราหรือผู้สูงอายุ มีภาวะทุพโภชนาการรึเปล่า
มีวิธีการสังเกตง่ายๆอยู่ 3 วิธีค่ะ
วิธีแรกคือ การชั่งน้ำหนักผู้สูงอายุอย่างสม่ำเสมอค่ะ ถ้าพบว่า ผู้สูงอายุมีน้ำหนักตัวลดลงจากเดิม หรือเพิ่มขึ้นจากเดิม เกิน ร้อยละ 5 ของน้ำหนักปกติ ในช่วง 6 เดือน ก็นับว่าผิดปกติ ยกเว้นในกรณีที่ผู้สูงอายุ อาจเจ็บป่วย หรือเข้าผ่าตัด หรือมีปัญหาสุขภาพอื่นในช่วงเวลานั้น
วิธีที่ 2 คือการวัดความเข้มข้นของเลือดคะ ซึ่งอาจจะพาผู้สูงอายุไปตรวจร่างกายประจำปี หรือทุก 6 เดือน และให้คุณหมออ่านค่าผลเลือดค่ะ ซึ่งผลเลือดสามารถระบุได้ค่ะว่าผู้สูงอายุทานอาหารได้ครบถ้วนเพียงพอ หรือมากเกินพอดี
วิธีที่ 3 คือการวัดดัชนีมวลกาย หรือที่เรียกกันว่า ค่า BMI ซึ่งย่อมาจาก (ฺBody Mass Index) ซึ่งเป็นการคำนวณด้วยน้ำหนักตัวค่ะ ซึ่งเขาจะมีการทำตารางเปรียบเทียบมาให้ว่า ผู้หญิง ผู้ชายในวัยไหน ควรมีค่า BMI เท่าไร
นอกเหนือจาก 3 วิธีที่บอกไปแล้วนะคะ วิธีสังเกตุที่ง่ายที่สุดก็คือ ดูจากปริมาณอาหารที่ผู้สูงอายุรับประทานแต่ละมื้อค่ะ หากเราเตรียมอาหารในแต่ละมื้อในประมาณที่ใกล้เคียงกัน แล้วผู้สูงอายุทานหมดทุกมื้อ ก็ไม่ต้องห่วงค่ะ แต่ถ้าเมื่อไรที่ผู้สูงอายุทานข้าวในแต่ละมื้อไม่หมด เหลืออาหารในจานบ่อยครั้ง ติดต่อกัน ก็คงต้องดูแลใกล้ชิด เพื่อหาสาเหตุค่ะว่าที่ทานอาหารได้น้อยเป็นเพราะอะไร
หรือในทางกลับกัน หากสังเกตว่า ผู้สูงอายุทานข้าวได้มากขึ้นกว่าปกติ ประมาณว่า Enjoy Eating มากในช่วงนี้ ก็ต้องคอยระวังและสังเกตดูความผิดปกติด้วยค่ะ ไม่ใช่ว่า บางที เห็น คุณพ่อ คุณแม่ทานข้าวได้มากขึ้น ก็ดีใจ เตรียมอาหารมากขึ้นกว่าเดิม เป็นอาหารประเภทแป้ง ไขมัน จนในที่สุด คุณพ่อ คุณแม่ หรือผู้สูงอายุ เกิดโรคอ้วน เบาหวาน หรือ ไขมันในเลือดสูงไปเลย
ติดตามสาระความรู้ดีๆ เกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุ และผู้ป่วยสมองเสื่อม ได้ทาง Line @absoluteliving หรือ https://lin.ee/GHHvhPK
โฆษณา