26 ต.ค. 2022 เวลา 12:19 • หุ้น & เศรษฐกิจ
อัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ ความเสี่ยงหลักเศรษฐกิจญี่ปุ่น
ญี่ปุ่นต้องเผชิญกับค่าเงินเยนที่อ่อนลง เงินทุนไหลออกนอกประเทศ
และการขาดดุลทางการค้า ทำให้ ทางการญี่ปุ่นต้องเข้าแทรกแซงค่าเงินอยู่เป็นระยะ
โดยในการแทรกแซงรอบล่าสุด ญี่ปุ่นได้ใช้เงินไปกว่า 1.1 ล้านล้านบาท เพื่อพยุงค่าเงินเอาไว้
อย่างไรก็ตาม ไม่กี่ชั่วโมงถัดมา ค่าเงินญี่ปุ่นก็อ่อนลงอีกครั้ง
ซึ่งทำให้การแทรกแซงค่าเงินในครั้งนั้น แทบจะไม่มีประโยชน์อะไรเลย
และหากทางการญี่ปุ่นยังคงกดอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้ต่ำลงเรื่อย ๆ ก็อาจจะทำให้ประเทศเดินหน้าเข้าสู่วิกฤติได้
📌 ทำไมญี่ปุ่นยังคงอัตราดอกเบี้ยต่ำ
ในขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่องเพื่อจัดการกับปัญหาเงินเฟ้อ
กดดันให้ธนาคารกลางของประเทศอื่น ๆ ต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตาม
ค่าเงินเยนของญี่ปุ่นได้อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง
ในขณะเดียวกันอัตราเงินเฟ้อก็เพิ่มขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์
ซึ่งหนทางที่จะแก้ไขปัญหานี้ได้ ก็คือ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
แต่ธนาคารกลางของญี่ปุ่น กลับไม่เลือกใช้เส้นทางนี้ในการแก้ไขปัญหา
และยังคงให้คำมั่นสัญญาว่าจะยังคงให้ประเทศอยู่ในสภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำต่อไป
โดยทางการญี่ปุ่นให้เหตุผลว่า ญี่ปุ่นต้องการให้เงินเฟ้อภายในประเทศมาจากปัจจัยด้านการจับจ่ายใช้สอยของประชาชน
แต่สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ คือ อัตราเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นจากปัจจัยภายนอก ทั้งจากเงินดอลลาร์ที่แข็งค่า การขาดแคลนอุปทานและ สงคราม
ดังนั้นหากขึ้นดอกเบี้ย จะทำให้อุปสงค์ในประเทศอ่อนแอลง และ ทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศจากการแพร่ระบาดของโควิดนั้นช้าไปกว่าเดิม
ซึ่งปัญหาที่ตามมาก็คือ ความแตกต่างระหว่างนโยบายระหว่างสหรัฐอเมริกา และ ญี่ปุ่น
สิ่งนี้เองที่เป็นช่องโหว่ให้เกิดเงินทุนไหลออกจากญี่ปุ่น ไปยังประเทศที่ที่ให้อัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่า เช่น สหรัฐอเมริกา
📌 สหรัฐฯ ขึ้นดอกเบี้ย ความเสี่ยงหลักต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่น
เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาฟื้นตัวได้ค่อนข้างดี หลักจากกการระบาดของโควิด 19
ในขณะที่ภาคการจ้างงานก็ยังคงแข็งแกร่ง ทำให้ธนาคารกลางนั้น สามารถขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อรับมือกับเงินเฟ้อ และ ลากเงินเฟ้อให้กลับลงมาสู่เป้าหมายให้ได้
ถึงแม้ว่าการกระทำในลักษณะนี้ อาจผลักดันให้เศรษฐกิจสหรัฐเข้าสู่ recession ได้
ในขณะที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นยังไม่ได้ฟื้นตัวกลับมาดีก่อนที่จะเกิดการระบาดของโรคโควิด 19
และค่าจ้างแรงงานก็ยังไม่ได้ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ถึงแม้ว่าภาคการจ้างงานจะตึงตัวแล้ว
นอกจากนี้ แรงกดดันเงินเฟ้อของญี่ปุ่นในปัจจุบันส่วนใหญ่มาจากค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่า
และปัญหาอุปทานที่ส่งผลกระทบต่อการนำเข้า
ซึ่งเป็นปัจจัยที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของประเทศและธนาคารกลางของญี่ปุ่น
ภายใต้สถานการณ์เหล่านั้น ธนาคารอาจมองว่า การขึ้นอัตราดอกเบี้ยไม่ได้ช่วยลดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อเหล่านั้น แต่เป็นเพียงการผลักดันต้นทุนทางธุรกิจให้สูงขึ้น
ซึ่งจะไปกระทบต่อผู้บริโภค ซึ่งในขณะนี้ อุปสงค์ภายในประเทศก็ยังไม่ได้ฟื้นตัวดีเท่าไรนัก
โดยในปีถัดไป ความเสี่ยงหลักของเศรษฐกิจญี่ปุ่น คือ การที่สหรัฐอเมริกาจะยังคงใช้นโนยายการเงินแบบเข้มงวดต่อไป
ซึ่งการที่ธนาคารสหรัฐจะยังคงขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป
จะไปส่งผลกระทบโดยตรงต่อเงินทุนไหลออก และค่าเงินเยนญี่ปุ่นอ่อนสุดในรอบ 32 ปี
โดยการที่เงินเยนอ่อนค่าในครั้งนี้ อาจสร้างผลกระทบที่หนักหนาที่สุดต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่น
นอกจากนี้ การขึ้นดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องอาจทำให้เศรษฐกิจของสหรัฐเข้าสู่ recession
ซึ่งจะไปกระทบต่อการส่งออกของญี่ปุ่นในเวลาต่อมา
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ ก็ถือได้ว่าเป็นเรื่องยากต่อการตัดสินใจของธนาคารกลางญี่ปุ่น
โดยหากปล่อยให้อัตราดอกเบี้ยต่ำต่อไปเรื่อย ๆ อาจเป็นการกดดันให้ค่าเงินเยนอ่อนลง
และใช้เงินทุนสำรองที่มีอยู่เข้าไปพยุงค่าเงินเอาไว้
อาจจะไม่ใช่วิธีการที่มีประสิทธิภาพมากเท่าไรนัก
ผู้เขียน : ณิศรา วาดี Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
▶️ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Line OA : @Bnomics https://bit.ly/3eYkTJC
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
References:
โฆษณา