3 พ.ย. 2022 เวลา 07:12 • ประวัติศาสตร์
ที่พักสุดท้ายของอัลเบิร์ต เบอรลีและอัลเบิร์ต ยุคเกอร์ - ชายผู้วางรากฐานบริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)
หลุมศพของอัลเบิร์ต เบอร์ลี และ อัลเบิร์ต ยุคเกอร์
เรารู้จักบริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) ในฐานะบริษัทขนาดใหญ่ที่ผลิตสินค้าครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ
เราทราบกันดีว่า เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ เป็นบริษัทไทยที่มีวิวัฒนาการจากห้างสรรพสินค้าของชาวต่างชาติที่เข้ามาเปิดกิจการในกรุงเทพมหานคร
แต่เราหลายคนยังไม่ทราบกันว่า ที่พักแห่งสุดท้ายของ 2 ผู้ก่อตั้งเบอร์ลี่-ยุคเกอร์ จะอยู่แห่งเดียวกับดร.แบรดลีย์ (หมอบรัดเล), นายเฮนรี อลาบาศเตอร์ และยอร์จ แมคฟาร์แลนด์ อยู่ในสุสานโปรแตสแตนท์ ซอยเจริญกรุง 72/5
[จากลูกจ้างสู่นายห้าง]
อัลเบิร์ต ยุคเกอร์ เกิดวันที่ 20 สิงหาคม ค.ศ.1844 ณ เมืองวินเทอร์ทัวร์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เข้ามาในสยามเมื่ออายุ 22 ปีในฐานะลูกจ้างของบริษัทมัลแฮร์เบ แอนด์ ยูเลียน ของฝรั่งเศส ยุคเกอร์เติบโตในหน้าที่การงานจนกลายเป็นผู้จัดการในปี ค.ศ.1872 และได้ชักชวนเฮนรี่ ซิกก์ ซึ่งเป็นญาติเข้ามาทำงานในปีถัดมา
อัลเบิร์ต ยุคเกอร์
เมื่อบริษัทมัลแฮร์เบ แอนด์ ยูเลียนขายหุ้นทั้งหมดให้กับยุคเกอร์ ทั้งยุคเกอร์และซิกก์ได้เปลี่ยนชื่อบริษัท เป็น “ยุกเกอร์ แอนด์ ซิกก์” ขึ้นมาในปี ค.ศ.1882 โดยเป็นบริษัทเดินเรือสินค้าให้กับทางอังกฤษ, ฝรั่งเศส และอิตาลี รวมไปถึงเป็นนายหน้าประกัน, นายธนาคาร, ส่งออกไม้สัก และประกอบธุรกิจโรงสีข้าว มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กุฎีจีน
ด้วยความที่สนิทสนมและทำงานร่วมกับคนอิตาลี ทำให้ยุคเกอร์ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาลอิตาลีภายใต้การปกครองของพระเจ้าอุมแบร์โต้ที่ 1 ให้เป็นกงสุลกิตติมศักดิ์อิตาลีประจำสยาม พร้อมทั้งแต่งตั้งให้เป็นอัศวินชั้น “Cavaliere”
พระเจ้าอุมแบร์โต้ที่ 1 กษัตริย์แห่งราชอาณาจักรอิตาลี
ด้านชีวิตครอบครัว ยุคเกอร์แต่งงานกับเปาลา ดา ครูซ หญิงไทยเชื้อสายโปรตุเกสจากย่านกุฎีจีนตั้งแต่ปี ค.ศ. 1868 มีบุตร-ธิดา รวมกัน 5 คน ได้แก่ แมรี่, เฮนรี่, อัลเบิร์ต, เอ็ดเวิร์ด และเอลิส
เปาลา ยุคเกอร์ (ดา ครูซ) พร้อมบุตร-ธิดา (จากซ้ายไปขวา) เฮนรี, เอ็ดเวิร์ด, อัลเบิร์ต, เอลิส และ แมรี่
[ยุครุ่งโรจน์อันแสนสั้นจนให้เขยจัดการ]
ชีวิตอุ่นรุ่งโรจน์ของยุคเกอร์จบลงในวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1885 เมื่อเขาได้ถึงแก่กรรมลงด้วยอหิวาตกโรค เมื่อมีอายุได้ 41 ปี ร่างของเขาฝังอยู่ที่สุสานโปรแตสแตนท์ ถนนเจริญกรุง พร้อมตราประจำแผ่นดินของราชอาณาจักรอิตาลีในสมัยนั้น
หลุมฝังศพอัลเบิร์ต ยุคเกอร์ ณ สุสานโปรแตสแตนท์
เมื่อยุคเกอร์เสียชีวิตลง เปาลาจึงได้พาลูกทั้ง 5 คนเดินทางไปศึกษาต่อที่สวิตเซอร์แลนด์ และเมื่อลูกๆโตขึ้น เปาลาจึงเดินทางกลับมาพำนักที่ประเทศไทย ณ บ้านพักถนนสุรวงศ์ จนถึงแก่กรรมในปี ค.ศ. 1934
หลังจากที่ยุคเกอร์ถึงแก่กรรม ซิกก์ได้ล้มป่วยและกลับไปเสียชีวิตที่สวิตเซอร์แลนด์ในปี ค.ศ.1890 ทำให้บริษัทยุคเกอร์ แอนด์ ซิกก์ต้องล้มละลายในปีต่อมา
หลังจากที่ยุคเกอร์ถึงแก่กรรม ซิกก์ได้ล้มป่วยและกลับไปเสียชีวิตที่สวิตเซอร์แลนด์ในปี ค.ศ.1890 ทำให้บริษัทยุคเกอร์ แอนด์ ซิกก์ต้องล้มละลายในปีต่อมา
อัลเบิร์ต เบอร์ลี(คศ.1867-1949) เป็นนักธุรกิจจากซูริก อดีตลูกจ้างบริษัทยุคเกอร์ แอนด์ ซิกก์ที่เข้ามาทำงานในสยามตั้งแต่ปี ค.ศ. 1888 หลังจากบริษัทล้มละลาย เบอร์ลีก่อตั้ง ”บริษัท เบอร์ลี แอนด์ โค” ทำหน้าที่ส่งออกสินค้าประเภทข้าว, ไม้สัก, ยางพารา รวมไปถึงนำเข้านมกระป๋องสวิส, โกโก้ดัทช์, สีย้อมผ้าจากสวิส, เครื่องจักรและเสื้อผ้าจากเยอรมนี รวมไปถึงกระดาษทิชชูจากอเมริกา
ต่อมาบริษัทได้ทำการเทคโอเวอร์กิจการบริษัทยุกเกอร์ แอนด์ซิกก์จากธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ในปี ค.ศ. 1896 และย้ายสำนักงานใหญ่ของบริษัทจากกุฎีจีนมาอยู่ที่ถนนราชวงศ์ในปี ค.ศ. 1905
สำนักงานใหญ่ เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ ณ ถนนราชวงศ์
ในปี ค.ศ. 1910 เบอร์ลี ได้แต่งงานกับแมรี่ ลูกสาวของอัลเบิร์ต และเปาลา ยุคเกอร์ บนเรือโดยสารที่สิงคโปร์ มีลูกสาว 1 คนชื่อ เนลลี่ และลูกชาย 2 คน ได้แก่ เฮอร์เบิร์ต และ จอร์จ
ครอบครัวอัลเบิร์ต เบอร์ลี ประกอบด้วย อัลเบิร์ต (ซ่าย) เนลลี ลูกสาว (กลาง) และแมรี่ ภรรยา (ขวา)
ธุรกิจของเบอร์ลีได้เปลี่ยนชื่อเป็น “เบอร์ลี ยุคเกอร์ แอนด์ โค” ในปี ค.ศ. 1924 และสามารถดำเนินการได้จนถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ต้องย้ายสำนักงานไปอยู่ที่ฉะเชิงเทราชั่วคราว จึงเกิดความเปลี่ยนแปลงอีกครั้งหนึ่ง
[คืนสู่ยุคเกอร์]
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดในปี ค.ศ. 1945 เบอร์ลีทราบว่าตัวเองไม่สามารถดำเนินธุรกิจต่อได้ แมรี่จึงให้เอ็ดเวิร์ด น้องชายของตน เข้ามาบริหารแทน พร้อมย้ายที่ทำการบริษัทจากราชวงศ์มาอยู่ที่ถนนเจริญกรุง ใกล้กับไปรษณีย์กลาง ส่วนเบอร์ลีเสียชีวิตในวันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1949 ศพของเขาฝังอยู่ที่สุสานโปรแตสแตนท์ ในบริเวณใกล้กับอัลเบิร์ต ยุคเกอร์
หลุมผังศพของอัลเบิร์ต เบอร์ลี ณ สุสานโปรแตสแตนท์
หลังจากที่เบอร์ลีเสียชีวิต เอ็ดเวิร์ด ยุคเกอร์ได้ดึงวอลเตอร์ เมเยอร์ อีกหนึ่งนักธุรกิจชาวสวิส เข้ามาช่วยงานบริษัทในปี ค.ศ. 1957
[จากสวิสเป็นไทย]
เมเยอร์เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น “เบอร์ลี ยุคเกอร์” ในปี ค.ศ.1965 และได้รับตราครุฑพระราชทานจากในหลวงรัชกาลที่ 9 อีก 2 ปีต่อมา
[จากสวิสเป็นไทย]
เมเยอร์เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น “เบอร์ลี ยุคเกอร์” ในปี ค.ศ.1965 และได้รับตราครุฑพระราชทานจากในหลวงรัชกาลที่ 9 อีก 2 ปีต่อมา
ในปี ค.ศ. 1975 เมเยอร์ได้ขายหุ้นบางส่วนให้นักธุรกิจชาวไทย และกลายเป็น 1 ใน 7 บริษัทแห่งแรกเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมเยอร์ได้วางมือจากธุรกิจในปี ค.ศ.1980 และได้กลายเป็นบริษัทมหาชนในปี ค.ศ. 1993 จนในที่สุด เบอร์ลี ยุคเกอร์ ได้กลายเป็นบริษัทไทยอย่างเต็มตัว เมื่อกลุ่มไทยเจริญคอร์ปอเรชัน หรือ TCC กลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทในปี ค.ศ. 2001

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา