17 พ.ย. 2022 เวลา 05:00 • ปรัชญา
ต่อจากข้อ 6 ในโพสต์ก่อนอีกนิด
1
"ถ้ายังต้องอวดคนด้วยสิ่งของ แสดงว่ามีปมด้อย"
3
สมัยผมเป็นวัยรุ่น ได้ยินเรื่องที่กำลังจะเล่านี้เสมอ :
คุณนายคนหนึ่งเดินเข้าไปที่ร้านอะไรสักร้าน หรือธนาคาร หรือแม้แต่สถานีตำรวจ นางแกว่งกุญแจรถในมือ พวงกุญแจรถติดป้ายยี่ห้อ ไม่เบนซ์ ก็บีเอ็ม เมื่อไปถึงก็วางกุญแจรถบนเคาน์เตอร์ให้ทุกคนเห็น ใครเห็นก็ยกมือไหว้
สมัยนั้นพวงกุญแจรถใช้สื่อสถานะทางสังคม
ขับรถแพงแสดงว่ารวย
รวยแสดงว่าเป็น 'somebody'
การอวดสถานะทางสังคมด้วยกุญแจรถดำรงอยู่นานปี ภายหลังไม่เห็นแล้ว คงเพราะรถยนต์เป็นสิ่งธรรมดา หรือเพราะคนรวยในประเทศมีมากขึ้น หรือเพราะมีอย่างอื่น เช่นกระเป๋าแบรนด์เนม สมาร์ทโฟนรุ่นล่าสุด เป็นต้น
สมัยที่โทรศัพท์เคลื่อนที่เพิ่งเข้ามาในประเทศ ขนาดใหญ่พอกับกะละมัง ก็มีคนแบกโทรศัพท์ไปไหนมาไหนเพื่อโชว์ให้โลกรู้
มีปัญญาซื้อโทรศัพท์เคลื่อนที่แสดงว่าเป็น 'somebody'
เรามักหาของมาอวดเสมอ
ส่วนการอวดตนด้วยประโยคยอดฮิต "มึงรู้มั้ยกูลูกใคร" นี่มีมานานแล้ว ยังไม่เลิก
การอวดตนด้วยสิ่งของเป็นเรื่องง่ายที่สุด เพราะใครมีเงินซื้อหามาได้ก็อวด โกงเงินเขามาก็อวดได้
1
หากสังคมใดวัดคุณค่าของคนด้วยสิ่งของ ก็แสดงว่าสังคมนั้นมีปัญหาแน่ๆ
อย่างไรก็ตาม คนชอบอวดอาจจะใช่หรือไม่ใช่พวกวัตถุนิยม (materialistic) ก็ได้ เพราะมนุษย์วัตถุนิยมหลายคนแค่สนใจให้ค่ากับวัตถุสิ่งของ แต่ไม่ได้ต้องการอวด บางคนซื้อของแพงไม่ใช่เพราะชอบ แต่เพื่อใช้เป็นเครื่องพิสูจน์ความสำเร็จ
3
ส่วนพวกสุดท้ายก็คือคนที่อวดรถเพื่อ dak-done ความยากจนของตัวเอง ก็คือคนที่ชอบพูดถึงรถเบนท์ลีย์บ่อยๆ คนนั้นน่ะ เฮ้อ! รถที่มีก็เก๊า-เก่า ไปไหนมาไหนด้วยวินมอเตอร์ไซค์ตลอด
1
โฆษณา