18 พ.ย. 2022 เวลา 00:00 • ปรัชญา
เมื่อวานนี้พูดเรื่องคิดง่ายๆ ก็ทำให้ต้องต่อด้วยเรื่องคิดยากๆ
1
คนจำนวนมากชอบ "คิดยากไป" ทำให้เรื่องซับซ้อนโดยไม่จำเป็น
1
ยกตัวอย่าง เช่น เพื่อนชวนไปเที่ยว แต่ไม่อยากไป ก็พยายามคิดหาเหตุผลร้อยแปดที่จะไม่ไป เพราะกลัวเพื่อนเสียน้ำใจ
2
แต่การบ่ายเบี่ยงอาจทำให้เพื่อนหงุดหงิดและเสียน้ำใจได้เหมือนกัน นี่ก็คือคิดยากไป ก็แค่บอกตรงๆ ว่าไม่อยากไป ก็จบ หลังจากนั้นเพื่อนก็จะรู้ว่าเราเป็นคนคิดตรงตอบตรง
2
ในชีวิตการทำงานในสำนักงานหลายสิบปี ผมเห็นแทบทุกคนที่ไปถึงที่ทำงานสาย มาพร้อมข้อแก้ตัวร้อยแปด รถติด น้ำท่วมซอย ฯลฯ
1
แต่มีคนคนหนึ่งที่ตอบตรงๆ ว่า "ขี้เกียจ ไม่อยากตื่น"
3
ผลก็คือเจ้านายหัวเราะ ใช่ ใครๆ ก็ย่อมมีวันที่ขี้เกียจ ไม่อยากตื่น เข้าใจกันได้ และรู้ว่าพนักงานคนนี้ไม่ bullshit
3
เรามักเห็นคนทำงานผิดพลาด พยายามหาเรื่องโยนความผิดให้คนอื่น หรือระบบ คนนั้นผิด แผนกโน้นไม่ร่วมมือ ฯลฯ
2
คิดยากไปหรือเปล่า? แค่บอกตรงๆ ว่า "ขอโทษ" คำเดียวก็จบ
2
หรือจะใช้สำนวนนิยายกำลังภายในก็ได้ "ข้าน้อยสมควรตายหมื่นครั้ง"
3
เพราะยิ่งแก้ตัวเรื่องยิ่งไม่จบ
2
อีกสถานการณ์หนึ่งที่เราหลายคนเคยเจอ เพื่อนจะขายประกัน ไม่อยากซื้อ แต่ไม่อยากทำร้ายจิตใจเพื่อน ก็คิดหาข้ออ้างต่างๆ นานา เงินไม่พอบ้าง ต้องส่งเสียลูกบ้าง ฯลฯ บางคนคิดทั้งคืน
1
คิดยากไปหรือเปล่า? แค่บอกตรงๆ ว่าไม่อยากซื้อ ก็จบ เขาก็จะไม่มาเซ้าซี้อีก
ไม่ต้องให้เหตุผลอะไร เราไม่ได้เป็นหนี้ใครที่ต้องอธิบายเหตุผลว่าทำไมไม่อยากทำ
3
นี่คือสิ่งที่ผมเรียนรู้มานานปี ผมเองเป็นพวกขี้เกรงใจคน ผลก็คือเกิดความทุกข์จากการปฏิเสธคนโดยไม่จำเป็น
2
สมัยก่อนผมเคยได้รับเชิญไปพูด เล็กเชอร์ ปาฐกถาบ่อยๆ จนเกิดความเบื่อ ต่อมาเมื่อมีคนเชิญ ก็คิดหาเหตุผลที่จะไม่ไป จนถึงจุดจุดหนึ่งผมก็บอกตัวเองว่า ทำไมเราคิดยากจัง ก็บอกไปตรงๆ ว่าไม่ไป ไม่ต้องให้เหตุผลใดๆ ทั้งสิ้น
1
"Honesty is the best policy." เป็นเรื่องจริง ใช้ได้จริงกับทุกคน
9
ยกเว้นตอนภรรยาเชิญให้ไปซักผ้า
14
โฆษณา