14 พ.ย. 2022 เวลา 02:30 • สุขภาพ
#วันเบาหวานโลก ชวนตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน
14 - 20 พฤศจิกายน 2565 ปรึกษาเกี่ยวกับโรคเบาหวาน ผ่านแอปฯ หมอดี #ลดค่าปรึกษาหมอทันที 150 บาท
เพียงทำนัดคุณหมอในแผนก อายุรกรรม แล้วกรอกโค้ด “DBETDF” ในขั้นตอนชำระเงิน
📲 ดาวน์โหลดแอปฯ หมอดี คลิก >> https://mordee.app.link/mordee
ด่วน! จำกัด 50 สิทธิ์ตลอดแคมเปญ (จำกัดการใช้ 1 ครั้ง/บัญชี)
.
.
ทำไมต้องตรวจคัดกรองเบาหวาน?
โรคเบาหวานชนิดที่พบบ่อยที่สุดประมาณ 95% ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมดคือ เบาหวานชนิดที่ 2 มักพบในผู้ที่อายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป ผู้ที่น้ำหนักตัวเกิน ขาดการออกกำลังกาย มีความดันโลหิตสูง ระดับไขมันในเลือดสูง ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นเบาหวาน หรือผู้ที่เคยเป็นเบาหวานระหว่างการตั้งครรภ์ เป็นต้น หากอยู่ในกลุ่มเสี่ยง ควรตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน
เป็นเบาหวานแล้วอันตรายอย่างไร?
ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงเกินไปจะค่อย ๆ ทำให้เส้นเลือดพังทั่วร่างกาย ก่อให้เกิดปัญหาที่อวัยวะต่าง ๆ ตามมา เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวานในจอประสาทตา โรคไตวายเรื้อรังจากเบาหวาน ซึ่งนอกจากจะนำไปสู่การสูญเสียอวัยวะและความพิการแล้ว ยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตอีกด้วย
จะทราบได้อย่างไรว่าเป็นเบาหวาน?
ปกติแล้วไตของเรามี่หน้าที่ดูดกลับน้ำตาลจากเลือดไปใช้เป็นพลังงาน ไม่ปล่อยออกมาทิ้งในปัสสาวะ แต่เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงมาก (>180 มก/ดล.) จนไตดูดกลับไม่ไหว น้ำตาลจะถูกปล่อยออกมาพร้อมปัสสาวะ (จึงเป็นที่มาของชื่อโรคว่า “เบาหวาน—คือปัสสาวะมีน้ำตาลนั่นเอง”)
คนที่มีน้ำตาลในเลือดสูงมากจะรู้สึกหิวน้ำบ่อยและปัสสาวะบ่อยเพื่อขับน้ำตาลออกมาทางปัสสาวะ และน้ำหนักลดเพราะไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้สร้างพลังงานได้ แต่ที่แย่คือ ถ้าใครมีอาการเหล่านี้แปลว่าน้ำตาลสูงมากจนต้องรีบรักษาด้วยการใช้ยาฉีดอินซูลินลดระดับน้ำตาลในเลือดอย่างรวดเร็วแล้ว
แม้ไม่มีอาการอะไรเลยก็เป็นเบาหวานได้?
ในระยะเริ่มต้นของเบาหวานชนิดที่ 2 หรือในคนที่ระดับน้ำตาลยังไม่สูงเกินขีดความสามารถดูดกลับของไต มักยังไม่มีอาการ และส่วนใหญ่ตรวจพบความผิดปกติเมื่อมาตรวจระดับน้ำตาลเลือดเท่านั้น
ไม่มีอาการอะไรทำไมต้องรักษา?
ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยเร็วตั้งแต่ระดับน้ำตาลยังไม่สูงมาก ยังไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน สามารถรักษาระดับน้ำตาลได้อยู่ในระดับที่ดีได้ยาวนานกว่า ซึ่งก็จะลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนทั้งหลาย รวมถึงบางรายสามารถหายขาดจากเบาหวานได้ด้วย
ตรวจคัดกรองเบาหวานอย่างไร?
มี 3 วิธีหลักๆ คือ
1) ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหลังงดน้ำและอาหาร (Fasting blood sugar)
2) การตรวจน้ำตาลสะสม (HbA1C)
3) การกลืนน้ำตาลวัดความทนต่อน้ำตาล (มักใช้ในผู้ป่วยเบาหวานขณะตั้งครรภ์หรือหลังคลอด)
ใครเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ควรตรวจคัดกรองเบาหวาน?
ระดับความเสี่ยงคำนวนจาก อายุ เพศ และ ประวัติด้านสุขภาพ เช่น น้ำหนักเกิน มีญาติสายตรงเป็นเบาหวาน มีโรคความดันโลหิตสูง มีระดับไขมันในเลือดผิดปกติ มีโรคหัวใจหรือโรคหลอดเลือด เป็นโรคกลุ่มอาการถุงน้ำในรังไข่ เป็นต้น
📍เนื่องในโอกาสวันเบาหวานโลก 14 พ.ย. เรามาลองตรวจเช็กความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานด้วยแบบทดสอบนี้ https://www.dmthai.org/new/index.php/sara-khwam-ru/sahrab-bukhkhl-thawpi/evaluation-form แล้วตรวจคัดกรองเบาหวานกันนะคะ (เเบบประเมินความเสี่ยงจากสมาคมโรคเบาหวานเเห่งประเทศไทย)
บทความสุขภาพจาก พญ.นิษฐา ปรุงวิทยา
อายุรแพทย์ต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสม(เบาหวานและฮอร์โมน)
.
.
#MorDee #หมอดี #หมอประจำบ้านในมือคุณ #TrueHEALTH
โฆษณา