11 พ.ย. 2022 เวลา 07:47 • การตลาด
🍝 อาหารยุคใหม่ โปรตีนที่ทำจากอากาศ🍝
เครดิตภาพ : www.freepik.com
ประเทศสิงคโปร์เป็นประเทศแรกที่จะทดลอง นวัตกรรมอาหารยุคใหม่ (Novel Food) ที่ใช้โปรตีนจากจุลินทรีย์สีเหลือง หรือเรียกอีกชื่อว่า "Solein" สร้างโดยบริษัทสตาร์ทอัพของประเทศฟินแลนด์ Solar Foods
บริษัทได้ให้ข้อมูลว่า นวัตกรรมนี้ เกิดจากการใช้สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว (Single-Celled Organisms) ที่สามารถรับประทานและหาได้จากสภาพแวดล้อมต่างๆ เช่น ดิน โคลน และพื้นตามป่า มาเพาะเลี้ยงด้วยก๊าซที่มาจาก อากาศ เช่น ไฮโดรเจน ไนโตรเจน คาร์บอนไดออกไซด์ รวมถึงไฟฟ้าภายใต้กระบวนการ Electrolysis เพื่อสร้างกรดอะมิโน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และวิตามินที่เป็นสารอาหารสำหรับมนุษย์
ประเทศสิงคโปร์ถือเป็นประเทศที่มีการวางยุทธศาสตร์ที่ดีในหลายด้าน หนึ่งด้านที่เด่นชัดคือด้านความมั่นคงทางอาหาร ผ่านนโยบาย 3 Food Baskets ประกอบด้วย กระจายแหล่งนำเข้าอาหาร การเพิ่มผลผลิตอาหารในประเทศผ่านนโยบาย 30x30 และผลักดันธุรกิจจากสิงคโปร์ให้ไปผลิตอาหารในต่างประเทศและส่งกลับมายังสิงคโปร์
ล่าสุดประเทศสิงคโปร์ได้มีแนวคิดริเริ่มในการส่งเสริมอุตสาหกรรมอาหารและเกษตรใหม่ๆ หลายด้าน เช่น การพัฒนาฟาร์มไข่แห่งที่สี่ในสิงคโปร์ โครงการนำร่องขายผลผลิตจากฟาร์มผักใบในสิงคโปร์ รวมไปถึงการพิจารณาแหล่งโปรตีนทางเลือกต่างๆ
Pasi Vainikka ผู้บริหารบริษัท Solar Foods ได้ให้สัมภาษณ์ว่า สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวเหล่านี้ทำหน้าที่เองเกือบทั้งหมด เราเพียงดูแลให้เกิดการเจริญพันธุ์ และการเจริญเติบโต สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวเหล่านี้จะเติบโตและทำปฏิกิริยากับก๊าซในถังปฏิกรณ์ชีวภาพ (Bioreactor) เพื่อสร้าง "Solein" เมื่อหมักจนได้ที่ "Solein" จะแห้งและกลายเป็นผงที่อุดมไปด้วยโปรตีน
1
อาหารจากผง Solein เครดิตภาพ : solarfoods.com
ผง "Solein" จะประกอบด้วยโปรตีน 65–70% กรดอะมิโนจำเป็นทั้งหมด 9 ชนิด อาทิเช่น ไฟเบอร์ ไขมัน และสารอาหารอื่น ๆ นอกจากนี้ ผง "Solein" ยังให้รสชาติที่อร่อยกลมกล่อม และ "Solein" สามารถเป็นแหล่งโปรตีนสำหรับผลิตภัณฑ์นมและเนื้อสัตว์ทดแทน ช่วยเพิ่มปริมาณโปรตีนในขนมขบเคี้ยว เครื่องดื่ม ขนมปัง และครีมทาขนมปังได้อีกด้วย
Koh Poh Koon รัฐมนตรีอาวุโสเพื่อความยั่งยืนและสิ่งแวดล้อมได้แถลงในงานสัมมนาและปฐมนิเทศเชิงวิทยาศาสตร์เรื่องอาหารและการเกษตรระดับโลก ว่า "Solein" ถูกผลิตขึ้นผ่านกระบวนการของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวผ่านการใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และพลังงานหมุนเวียน ทำให้สภาพอากาศต่างๆ ไม่มีผลต่อการผลิต โดยนาย Vainikka กล่าวเสริมว่า "Solein" สามารถถูกผลิตได้ทุกที่
แม้กระทั่งในสภาวะอากาศรุนแรง เช่น ทะเลทราย หรืออาจจะเป็นอาหารสำหรับนักบินอวกาศในอนาคต
ผง "Solein" เครดิตภาพ : solarfoods.com
นาง Grace Fu รัฐมนตรีว่าการกระทรวงความยั่งยืนและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า
ความมั่นคงทางอาหารเป็นปัญหาที่หลายประเทศต้องเผชิญ ประกอบกับความท้าทายต่างๆ ที่เกิดขึ้น เช่น ความตึงเครียดทางการเมือง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศล้วนแต่ก่อให้เกิดการหยุดชะงักของอาหารทั่วโลก ซึ่งประเทศสิงคโปร์มีความเสี่ยงเป็นพิเศษ เนื่องจากประเทศสิงคโปร์นำเข้าอาหารมากกว่า 90% ]การ
กระจายแหล่งนำเข้าอาหาร รวมถึงการเติบโตของแหล่งอาหารในประเทศจะช่วยลดผลกระทบของการหยุดชะงักนี้ได้
ประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิตอาหาร โดยมีการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เข้ามาสร้างจุดแข็งและขับเคลื่อนเศรษฐกิจผ่านโมเดล BCG (Bio Circular Green Economy) รวมทั้งไทยยังมีข้อได้เปรียบในด้านวัตถุดิบจากการมีผลผลิตทางการเกษตรที่อุดมสมบูรณ์ และความคิดสร้างสรรค์ในการคิดค้นรสชาติอาหารที่หลากหลาย
กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ที่มีภารกิจในการส่งเสริมสินค้าไทยให้ขยายตลาดในต่างประเทศ ได้เดินหน้าผลักดันการส่งออกสินค้าที่เป็นเมกะเทรนด์โลก ทั้งอาหารแห่งอนาคต (Future Food) ซึ่งถือว่าเป็นโอกาสใหม่ที่น่าสนใจของ SMEs ทั่วโลกผ่านการจัดกิจกรรมต่างอย่างต่อเนื่อง
ล่าสุดกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศได้จัดกิจกรรม เจรจาการค้าออนไลน์คู่ขนานการประชุมกรอบความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างไทย และสิงคโปร์ (Singapore-Thailand Enhanced Economic Relationship : STEER) ครั้งที่ 6 โดยมีการจัดเจรจาธุรกิจสินค้า BCG และคาดว่าจะมีมูลค่าเจรจาการค้ารวมทั้งสิ้น 30 ล้านบาท
📍Novel Food คืออะไร ?📍
Novel Food โดยทั่วไปหมายถึงอาหารที่ถูกผลิตขึ้นจากวัตถุดิบชนิดใหม่ นอกเหนือจากพืชและสัตว์ที่มีการบริโภคกันอยู่ทั่วไป หรืออาหารที่ผลิตด้วยกรรมวิธี เทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่ๆ และอาจครอบคลุมถึงอาหารที่ยังไม่เป็นที่รู้จัก
แพร่หลาย หรือเป็นอาหารที่เดิมการบริโภคจำกัดอยู่เพียงในบางพื้นที่
Novel Food ได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากผู้ผลิตสินค้าอาหาร โดยเฉพาะใน EU ซึ่งได้ผ่อนคลายกฎระเบียบ Novel Food เพื่อให้ทันกับพัฒนาการด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีของอาหาร และผู้ประกอบการนำสินค้าอาหารชนิดใหม่ๆ เข้าสู่ตลาดได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น ทำให้ในช่วงปี 2561-2563 มีผู้ยื่นขอขึ้นทะเบียนผลิตและจำหน่ายอาหารชนิดใหม่ๆ ใน EU มากถึง 156 รายการ หรือเฉลี่ยปีละ 52 รายการ เทียบกับในช่วงปี 2540-2560 ที่มีผู้ยื่นขอขึ้นทะเบียนเฉลี่ยเพียงปีละ 6.4 รายการ
Reference
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงสิงคโปร์
โฆษณา