12 พ.ย. 2022 เวลา 16:03 • ธุรกิจ
“Think Again” ปลดล็อค ความคิดในอดีต สู่มุมมองใหม่ ของ HR
เริ่มตั้งคำถาม สงสัยว่าทำไมมีแต่คนแนะนำให้อ่าน ผมเก็บหนังสือเล่มนี้ไว้นานพอสมควร หาเวลาอ่านเพื่อจะรีวิว เป็นการทบทวนตัวเองในจุดที่น่าสนใจและสามารถนำมาต่อยอดเพื่อพัฒนาความคิดของตัวเอง
ผู้เขียนชื่อ ADAM GRANT ชื่อหนังสือ แปลง่าย ๆ คือ “คิดแล้ว คิดอีก”
ผมขอสรุปเป็นประเด็นเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันนะครับ
1) เปลี่ยนความคิด (Re Think) หรือทิ้งความคิดแบบเดิม (Unlearn)
โลกปัจจุบันก้าวหน้าไปมาก แต่หลายเรื่องเรายังยึดติดหรือฝังใจกับความเชื่อเดิม ๆ
บางทีเพราะเราสบายใจกับเรื่องที่เราเคยเชื่อ มากกว่าเรื่องที่จะเลือกคิดแบบตั้งคำถามก่อนแล้วค่อยเชื่อ ทำให้เหมือนความคิดมันวน ๆ ไม่ออกมาจากกรอบซักที
2) เรายึดติดกับบทบาท เดิม ๆ มากไปหรือเปล่า เลยสกัดความคิดตัวเอง
หนังสือพูดถึง 3 บทบาท ที่เรามักยึดติด:
2.1 บทบาท "นักเทศน์" เมื่อความเชื่อของเราถูกคนท้าทายว่าไม่ดี ไม่ได้เรื่อง เราจะหาเหตุผล คำสอนเท่ ๆ มาปกป้องตัวเอง
2.2 บทบาท "นักอัยการ" เมื่อเราเห็นว่า ความเชื่อคนอื่นไม่ได้เรื่อง เราจะใช้เหตุผลของเราที่คิดว่าดีกว่า มาข่มจนเราชนะ
2.3 บทบาท "นักการเมือง" เมื่อเราเชื่อคนเดียวไม่พอ เราจะหาเสียงคนรอบตัวมาเชื่อด้วย
3) อยากคิดเก่ง ต้องคิดบทบาทใหม่
ผู้เขียนให้คำแนะนำว่า เราควรคิดแบบ บทบาท "นักวิทยาศาสตร์" คือ ต้องตั้งข้อสงสัย อยากรู้ หาข้อมูลมาประกอบ แล้วค่อยเชื่อ จึงจะเปลี่ยนความคิดเรา
4) คนฉลาดที่เก่ง ๆ มักจะตกหลุมพลางความคิด เพราะ "อคติ" คือ คิด ตัดสินใจไปแล้วตั้งแต่เริ่ม ยังไม่ได้ฟังข้อมูลให้ครบถ้วนเลย
1
5) หุบเขาแห่งความโง่ (Stupid Mount)
ผมเคยเขียนเจาะลึกเรื่องนี้ไปครั้งหนึ่งแล้ว สรุปง่าย ๆ คือ
5.1 เริ่มต้น ถ้าเราไม่รู้เรื่องนั้น ๆ เรามักจะไม่มีความมั่นใจอะไรเลย
5.2 พอเริ่มรู้ ความเชื่อมั่นมาเลย พุ่งเป็นยอดเขาเลย ใครพูดอะไรไม่ฟัง
5.3 สักพักเริ่มหยุดพัฒนา เพราะคิดว่าตัวเองเก่งแล้ว
5.4 เมื่อเวลาผ่านไป พบว่าสิ่งที่ตัวเองรู้มา คนอื่นมีประสบการณ์ เก่งกว่าเรามากมาย คราวนี้ชีวิตเริ่มเสียความมั่นใจ
5.5 ถ้าเรายอมรับ ค่อย ๆ หาประสบการณ์ อีกครั้ง แบบ Think Again เราจะเก่งขึ้นอย่างมั่นใจ
1
6) ฝึกพัฒนาตัวเองด้วยการได้สนทนากับคนที่คิดต่าง
บางครั้งทำให้เราได้มุมองใหม่ ๆ ที่ออกจากกรอบเดิม ๆ การโต้เถียงมีได้ แต่ต้องยึดบนหลัก จะแก้อย่างไร (How) ไม่ใช่มาโทษอดีตที่คนเก่า ๆ ทำไว้ มันจะไม่จบ
7) เทคนิคการรับมือคนที่คิดต่างมาก
มองหาจุดร่วม เพื่อสร้างบรรยากาศที่ดี เลื่อกเหตุผลหลัก ๆ แค่ 2-3 ข้อ ถ้าไม่ใช่ก็จบไป หรือไม่ก็ลองตั้งคำถามที่ชวนช่วยกันคิด
8) การรับฟัง คือเทคนิคการโน้มน้าวที่ดี
ถ้าเราจะให้คนอื่นเปิดใจอย่างไร ต้องฟังเค้ามาก ๆ เมื่อฟังกัน ความไว้ใจจะตามมา ดีกว่าการพยายาม "พูด" เพื่ออธิบาย แต่ไม่ฟังกัน
9) คิดทบทวนตัวเองจากอดีต
เราอาจเครียดเกินไป เพราะเป้าหมายในชีวิตมันไม่สำเร็จ ไม่เป็นไร ลองทบทวนใหม่ ความสุขในระหว่างทางที่จะเดินไปถึงเป้าหมายอาจสำคัญกว่า
10) บทสรุป
หนังสือเล่มนี้ สามารถนำไปพัฒนาตัวเอง เรื่องการยึดติดความรู้เดิม ๆ หรือติดกรอบ เพราะอคติ อยากเอาชนะ หรือความเชื่อมั่นตัวเองมากไป ลองปรับใช้กับโลกยุคใหม่ กับพนักงาน Gen ใหม่ ๆ แล้วค่อยทบทวนเปลี่ยนความเชื่อดู น่าจะดีขึ้นครับ
หนังสือมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกเยอะ ผมสรุป มาสัก 30% ลองไปหาอ่านกันดูนะครับ อ่านเพลิน ๆๆ จุดประกายความคิดแบบใหม่หลุดกรอบแบบเดิม ๆ
โฆษณา