17 พ.ย. 2022 เวลา 04:30 • ธุรกิจ
แพลน บีสร้างกำไรโดนเด่นที่ 184 ล้านบาท สะท้อนการเติบโตธุรกิจ สื่อโฆษณานอกที่อยู่อาศัยและธุรกิจการตลาดแบบมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่อง
1
เศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาส 3/2565 ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน สนับสนุนจากภาคบริการที่ฟื้นตัวต่อเนื่องตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้นหลังจากการเปิดประเทศเต็มรูปแบบในช่วงที่ผ่านมา
ประกอบกับแรงสนับสนุนจากโครงการเราเที่ยวด้วยกันเฟส 4 ส่วนต่อขยายและวันหยุดยาวหลายช่วงที่ช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศ อีกทั้งการ ฟื้นตัวของการผลิตภาคอุตสาหกรรมจากสถานการณ์การขาดแคลนชิ้นส่วนการผลิตที่คลี่คลายลง ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายน 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมาอยู่ที่ระดับ 45.5,46.3 และ 46.4 ตามลำดับ
เมื่อเปรียบเทียบกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือนมิถุนายน 2565 ที่อยู่ที่ระดับ 44.3 นอกจากนี้ราคาน้ำมันที่ลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสก่อนยังคงเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจมากขึ้นด้วยเช่นกัน อีกทั้งอัตราเงินเฟ้อมีการปรับตัวลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสก่อน ที่ระดับร้อยละ 7.6,7.9 และ 6.4 ในเดือนกรกฎาคม-กันยายน 2565 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามภาวะเศรษฐกิจยังคงถูกกดดันจากความผันผวนของเศรษฐกิจไทย และอัตราการแลกเปลี่ยนของเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐที่เพิ่มสูงขึ้น
จากการที่ภาครัฐผ่อนคลายการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ส่งผลให้มูลค่าเม็ดเงินสื่อโฆษณาในไตรมาส 3/2565 อยู่ที่ 30,113 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.5 เมื่อเปรียบเทียบกับมูลค่าสื่อโฆษณาในช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเติบโตไปในทิศทางเดียวกับเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวตามสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 ที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ในไตรมาส 3/2565 บริษัทรายงานรายได้จากการดำเนินงานอยู่ที่1,734 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 57.9 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สนับสนุนจากรายได้รวมสื่อโฆษณานอกที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 1,391 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ซึ่งเติบโตตามการเติบโตของมูลค่าเม็ดเงินโฆษณาดังที่กล่าวไว้ข้างต้น ในขณะที่รายได้รายได้รวมธุรกิจ การตลาดแบบมีส่วนร่วมในไรมาส 3/2565 ลดลงมาอยู่ที่ 343 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 25.6 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
เนื่องจากในไตรมาส 3/2564 มีการบันทึกรายได้จากการบริหารสิทธิทางการตลาดสำหรับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก อยู่ที่ 154 ล้านบาท และการบันทึกรายได้จากการบริหารสิทธิประโยชน์ของสมาคมกีฬาฟุตบอลฯ อยู่ที่ 160 ล้านบาท ในขณะที่ในไตรมาส 3/2565 ไม่มีการบันทึกรายได้ดังกล่าวอย่างไรก็ตาม รายการกีฬาและกิจกรรมด้านอาร์ทติส เมเนจเมนท์ทยอยกลับมาดำเนินกิจกรรมเพิ่มมากขึ้นหลังจากการคลายมาตรการล็อกดาวน์ในช่วงที่ผ่านมา
ทั้งนี้จากรายได้จากการดำเนินงานของธุรกิจสื่อโฆษณานอกที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ การเพิ่มขึ้นของอัตรากำไรขั้นต้นตามการฟื้นตัวของอุตสาหกรรม รวมถึงความสามารถในการควบคุมค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้บริษัท
รายงานกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นบริษัทในไตรมาส 3/2565 เท่ากับ 184 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 238 ล้านบาท
เมื่อเปรียบเทียบกับขาดทุนสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นบริษัทที่ 54 ล้านบาท ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน นอกจากนี้จากกลยุทธ์การลงทุนที่หลากหลายและสมดุลทางธุรกิจ ส่งผลให้บริษัทสามารถสร้างก าไรก่อนดอกเบี้ย ภาษีค่าเสื่อมและค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) ไม่รวมผลกระทบจากการปรับมาตรฐานบัญชี TFRS16 ได้อย่างต่อเนื่อง
ภาพรวมงวดเก้าเดือนปี2565 บริษัทรายงานกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นบริษัทอยู่ที่ 462 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 549 ล้านบาท พลิกจากขาดทุนสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นบริษัทที่ 87 ล้านบาท ในงวดเก้าเดือนปี2564 สนับสนุนจากการเพิ่มขึ้นของรายได้จากการขายและการให้บริการ อยู่ที่ 4,570 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 42 เมื่อเปรียบเทียบกับงวดเก้าเดือนปี2564
มาจากการเพิ่มขึ้นของรายได้ธุรกิจสื่อโฆษณานอกที่อยู่อาศัย อยู่ที่3,695 ล้านบาท เติบโตที่ร้อยละ69.3เมื่อเปรียบเทียบกับงวดเก้าเดือนปี 2564 ดังสาเหตุที่กล่าวไว้ข้างต้น อย่างไรก็ตาม รายได้ของธุรกิจการตลาดแบบมีส่วนร่วมอยู่ที่ 875 ล้านบาท ลดลงที่ร้อยละ 15.6 เมื่อเปรียบเทียบกับงวดเก้าเดือนปี 2564
เนื่องจากงวดเก้าเดือนปี 2564 มีการบันทึกรายได้จากการบริหารสิทธิทางการตลาดสำหรับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก อยู่ที่ 500 ล้านบาท และการบันทึกรายได้จากการบริหารสิทธิประโยชน์ของสมาคมกีฬาฟุตบอลฯ อยู่ที่ 160 ล้านบาท ในขณะที่งวดเก้าเดือนปี 2565ไม่มีการบันทึกรายได้ดังกล่าว
บริษัทยังคงให้ความสำคัญกับการรักษากระแสเงินสด รักษาสภาพคล่อง และลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จ าเป็นเป็นลำดับแรก เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทจะยังคงสามารถรักษาสภาพคล่องเพียงพอต่อการดำเนินธุรกิจในอนาคตอย่างยั่งยืน
แนวโน้มเศรษฐกิจไทยไตรมาส 4/2565 ธนาคารแห่งประเทศไทยคาดว่าจะขยายตัวเมื่อเทียบกับไตรมาส 4/2564 และไตรมาส 3/2565 ตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว และกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้นจากความกังวลต่อการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ลดลง อย่างไรก็ตาม ภาพรวมเศรษฐกิจยังคงได้รับแรงกดดันจาก
(1) กำลังซื้อของผู้บริโภคที่ยังคงอ่อนแอจากทั้งค่าครองชีพที่อยู่ในระดับสูงและผลกระทบจากอุทกภัยในช่วงปลายเดือนกันยายน 2565
(2) แนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่มีแนวโน้มชะลอตัว
(3)ความผันผวนของราคาวัตถุดิบและพลังงาน
(4) แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้น หลังจากที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากร้อยละ 0.75 ต่อปีเป็นร้อยละ 1.00 ต่อปีตั้งแต่วันที่28 กันยายน 2565 ที่ผ่านมา
(5) ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน โดยในช่วงเดือนกันยายน 2565ธนาคารกลางสหรัฐฯ ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายและส่งสัญญาณการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดกว่าที่ตลาดคาดการณ์และในเดือนตุลาคม 2565
นักลงทุนมีความกังวลว่าอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ จะเร่งสูงกว่าคาดทำให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ ต้องเร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างรวดเร็วจนทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีโอกาสที่ชะลอรุนแรง
โฆษณา