19 พ.ย. 2022 เวลา 14:09 • ประวัติศาสตร์
หลุยส์ที่ ๑๔ ส่งนายพลฝรั่งเศสพกแผนลับมาสยามอย่างวีรบุรุษ...แต่ต้องกลับไปอย่างโจร! โดย : โรม บุนนาค ที่มา https://mgronline.com
•The French Invaded Phuket 1680s
Marshal Desfarges, also spelled Des Farges (died 1690), was a French general of the 17th century who took an important role in French efforts at establishing a presence in Siam
ในช่วงหนึ่งของประวัติศาสตร์ไทย ชื่อของ นายพลเดอฟารจช์ เป็นที่โดดเด่นอย่างวีรบุรุษ เขาคือผู้ที่พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ แห่งฝรั่งเศสมอบหมายให้นำทหารกองหนึ่งมาสยาม เพื่อช่วยคุ้มครองจากอริราชศัตรู ตามคำขอของสมเด็จพระนารายณ์ผ่านราชทูตโกษาปาน แต่ภารกิจลับที่เขาได้รับจากพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ โดยตรง ก็คือ ให้ยึดเมืองธนบุรีอันเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญของกรุงศรีอยุธยา กับยึดเมืองมะริดที่เป็นเมืองท่าสำคัญ
กองทหารฝรั่งเศสที่เข้ามาในครั้งนั้นมีกำลัง ๖๓๖ คน และท่านนายพลยังได้นำลูกชายวัยหนุ่มมาด้วยอีก ๒ คน ออกเดินทางมาพร้อมกับคณะของโกษาปานเมื่อวันที่ ๑ มีนาคม ๒๒๒๙ แต่เพราะทหารต้องแออัดกันมาตลอดการเดินทาง เมื่อมาถึงปากแม่น้ำเจ้าพระยาในวันที่ ๒๗ กันยายน จึงมีทหารเหลือเพียง ๔๙๒ คน นอกนั้นป่วยตายระหว่างทาง
ในทันทีที่มาถึง นายพลเดอฟารจช์ก็แจ้งกับเจ้าพระยาวิชเยนทร์ สมุหนายก ที่บาทหลวงได้เกริ่นไว้ก่อนแล้ว ให้ทราบถึงภารกิจลับที่พระเจ้าหลุยส์สั่งมา โดยมี ไซมอน เดอ ลาลูแบต์ ราชทูตที่รับนโยบายนี้มาด้วย เร่งให้ลงมือในทันที แต่วิชเยนทร์ว่ายังไม่ควรทำในตอนนี้ ทั้งนายพลเดอฟารจช์ก็ว่าทหารของเขากำลังสะบักสบอม ขืนต้องรบตอนนี้ก็คงถูกทหารไทยฆ่าตายหมด วิชเยนทร์จึงให้ทหารฝรั่งเศสร่วมกับทหารไทยเข้าประจำที่ป้อมบางกอก ซึ่งสร้างใหม่ด้วยวิทยาการตะวันตก และเป็นป้อมทันสมัยที่สุดของไทย
ทหารฝรั่งเศสจำนวนหนึ่งถูกแบ่งขึ้นไปลพบุรี เพื่อเป็นทหารรักษาพระองค์สมเด็จพระนารายณ์ อีก ๓๕ คนถูกส่งไปประจำเรือปราบสลัดในอ่าวไทย และอีกไม่น้อยที่ผิดน้ำผิดอากาศ ถูกยุงกัดนอนซมด้วยพิษไข้ นายพลเดอฟารจช์จึงเหลือทหารประจำการที่ป้อมราว ๒๐๐ คน ขณะที่ป้อมซึ่งสร้างคู่กันทั้งฝั่งธนบุรีและฝั่งตรงข้ามแม่น้ำ ต้องใช้ทหารประจำการไม่ต่ำกว่า ๑,๒๐๐ คน ต่อมาในเดือนมีนาคม ๒๒๓๑ วิชเยนทร์ก็ยอมให้ส่งทหารฝรั่งเศส ๑๒๐ คนไปเมืองมะริด และยกเกาะต่างๆภายในระยะ ๑๐ ไมล์จากเมืองมะริดให้ฝรั่งเศสควบคุม
ความรู้สึกของคนไทยส่วนใหญ่ในยามนั้น ต่างขมขื่นที่เห็นกองทหารต่างชาติมาเบ่งบารมีอยู่ในผืนแผ่นดินไทย ทั้งยังเกรงกันว่าสมเด็จพระนารายณ์จะเปลี่ยนศาสนาไปตามการเกลี้ยกล่อมของฝรั่งเศส จึงพากันเก็บความวิตกและขุ่นเคืองนี้ไว้ในใจ ซึ่งความรู้สึกนี้ตรงกับความคิดของกลุ่มพระเพทราชาและเจ้าพระยาศรีสรศักดิ์ หรือพระเจ้าเสือ
เมื่อสมเด็จพระนารายณ์ประชวรหนักในเดือนเมษายน ๒๒๓๑ ทั้งฝ่ายไทยที่มีพระเพทราชาและเจ้าพระยาศรีสรศักดิ์เป็นผู้นำ กับกลุ่มของวิชเยนทร์จึงเคลื่อนไหวชิงโอกาส
เจ้าพระยาวิชเยนทร์เรียกทหารฝรั่งเศสจากป้อมบางกอกขึ้นไปเมืองลพบุรี นายพลเดอฟารจช์นำทหารเพียง ๗๕ คนขึ้นไปถึงกรุงศรีอยุธยา และแวะไปหาข่าวที่สถานีการค้าของฝรั่งเศสก่อน ม.เวเรต์ หัวหน้าสถานีและสังฆราชฝรั่งเศสก็บอกว่า สมเด็จพระนารายณ์ใกล้สวรรคต กลุ่มพระเพทราชาที่ต่อต้านชาวตะวันตกเข้ายึดเมืองลพบุรีไว้แล้ว นายพลเดอฟารจช์มีทหารเพียงแค่นี้ ขืนขึ้นไปก็ตายเปล่า นายพลเดอฟารจช์จึงนำทหารกลับป้อมบางกอก โดยส่งคนไปแจ้งวิชเยนทร์ว่าป่วย พร้อมกับแนะนำว่าเขาควรจะนำลูกเมียไปอยู่ที่ป้อม เพื่อความปลอดภัยของชีวิต
เมื่อหลอกล่อจนจับเจ้าพระยาวิชเยนทร์ไว้ได้แล้ว พระเพทราชาก็วางแผนจะจัดการกับกองทหารฝรั่งเศส ส่งหนังสือเชิญนายพลเดอฟารจช์กับลูกชายขึ้นไปเมืองลพบุรี ว่าจะให้ลูกชายทำหน้าที่แทนเจ้าพระยาวิชเยนทร์
นายพลเดอฟารจช์หลงเชื่อพาลูกชายทั้ง ๒ คนไป พระเพทราชาอ้างว่าสมเด็จพระนารายณ์กำลังประชวร มีรับสั่งให้นายพลเดอฟารจช์นำทหารไปช่วยทหารไทยปราบกบฏที่ภาคอีสาน และขอให้เรียกทหารที่เมืองมะริดมาด้วย นายพลเดอฟารจช์ก็อ่านแผนออก แต่ไม่มีทางปฏิเสธ จึงเขียนจดหมายเรียกทหารที่เมืองมะริดขึ้นมา แต่เมื่อพระเพทราชาให้เรียกทหารที่ป้อมบางกอกมาด้วย นายพลเดอฟารจช์ก็อ้างว่าถ้าเขาไม่ได้สั่งโดยตรงแล้ว ทหารพวกจะไม่ยอมเคลื่อนกำลัง พระเพทราชาจึงยอมให้นายพลเดฟารจช์ลงไปป้อมบางกอก โดยยึดลูกชาย ๒ คนไว้เป็นตัวประกัน
เมื่อนายพลเดอฟารจช์หารือผู้ใต้บังคับบัญชาที่ป้อมวิชเยนทร์แล้ว ลงมติกันว่าจะรักษาศักดิ์ศรีทหารฝรั่งเศสโดยขอสู้ พระเพทราชาจึงสั่งให้ป้อมที่เมืองสมุทรปราการกับเมืองพระประแดงป้องกันมิให้เรือต้องห้ามเข้าออก นายพลเดอฟารจช์เห็นว่าไม่มีกำลังพอจะรักษาถึง ๒ ป้อม จึงให้ทำลายป้อมฝั่งบางกอกเสีย แล้วถอนกำลังไปรวมกันที่ป้อมวิชเยนทร์ฝั่งธนบุรี
ทหารไทยจึงเข้ายึดป้อมฝั่งบางกอก ซ่อมแซมป้อมขึ้นใหม่ แล้วติดตั้งปืนใหญ่ยิงถล่มไปที่ป้อมวิชเยนทร์ ถึงตอนนี้ฮอลันดาที่ถูกฝรั่งเศสช่วงชิงอิทธิพลย่านนี้ไป ก็เข้าช่วยทหารไทยถล่มฝรั่งเศสด้วย
ทหารไทยล้อมป้อมกรุงธนบุรีอยู่ ๒ เดือน ทำให้ทหารฝรั่งเศสขาดทั้งอาหารและดินปืน ต้องขอเจรจาสงบศึก ฝ่ายไทยต้องการเพียงให้ทหารฝรั่งเศสทั้งหมดรวมทั้งที่เมืองมะริด ออกไปให้พ้นแผ่นดินไทยเพื่อรักษาเอกราชและอธิปไตยไว้ และเพื่อรักษาไมตรีจึงจะคืนลูกชาย ๒ คนให้
ฝ่ายนายพลเดอฟารจช์ขอเช่าเรือ ๒ ลำ ให้บรรทุกทหารไปส่งที่เมืองพอนดิเชอรี่ในอินเดีย กับขอยืมเงิน ๓๐๐ ชั่ง หรือราว ๔๕,๐๐๐ ฟรังก์ เพื่อเอาไปซื้อเรือและเสบียงที่อินเดีย โดยจะใช้คืนให้เมื่อไปถึงเมืองเบงกอล
ส่วนนักเรียนไทย ๕ คนกับข้าราชการไทยอีก ๓ คน ที่กำลังศึกษาอยู่ในฝรั่งเศส สัญญาว่าจะส่งกลับมาโดยสวัสดิภาพ ฝ่ายไทยก็ต้องยอมให้คนฝรั่งเศสมีเสรีภาพที่จะกลับบ้านได้เช่นกัน และให้คณะบาทหลวงมีสิทธิตามที่เคยได้รับในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ สัญญานี้นายพลเดอฟารจช์ได้ขอให้สังฆราช บาทหลวง และคนฝรั่งเศสที่อยู่ในสยาม รับประกันหนี้ที่ยืมไปให้
แม้ตกลงกันแล้ว ทั้งสองฝ่ายก็ยังไม่ไว้วางใจกัน ฝ่ายไทยยอมให้ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ๒ คนเป็นตัวประกันไปกับทหารฝรั่งเศส ส่วนนายพลเดอฟารจช์ก็ให้ลูกชาย ๒ คนเป็นตัวประกันอยู่กับฝ่ายไทย โดยจะไปแลกเปลี่ยนตัวประกันที่ปากอ่าว แต่นายพลเดอฟารจช์ยังไม่หมดพิษสงง่ายๆ เมื่อถึงปากน้ำก็ฉวยจังหวะพาลูกชายทั้งสองคนโดดหนีไปขึ้นเรือฝรั่งเศส แล้วชักใบออกทะเลไปพร้อมกับข้าราชการไทยตัวประกัน ฝ่ายไทยจึงยึดเรือขนเสบียงอาหารที่ตามมา
ส่วนเมืองมะริดที่ถูกทหารฝรั่งเศสยึดอยู่ ชาวเมืองต่างโกรธแค้นที่ถูกทหารฝรั่งเศสเหยียดหยามทำทารุณ พอรู้ข่าวว่าทหารไทยขับไล่ทหารฝรั่งเศสที่เมืองธนบุรีแล้ว จึงรวมตัวกับชาวเมืองตะนาวศรีและเมืองใกล้เคียง เข้าล้อมค่ายทหารฝรั่งเศส ฝรั่งเศสสู้อย่างจนตรอกจนเหลือทหารประมาณ ๓๐ คน เห็นว่าขืนสู้ต่อไปก็ต้องตายหมด จึงหนีลงเรือชักใบไปอินเดีย
ทหารฝรั่งเศสไปสุมหัวกันที่เมืองพอนดิเชอรี ปรึกษากันว่าจะทำอย่างไรต่อไปดี จะยกไปปิดอ่าวไทยเพื่อแก้แค้น หรือจะไปยึดเมืองถลางที่อุดมด้วยแร่ดีบุก แต่เสียงส่วนใหญ่อยากกลับบ้าน แม้นายพลเดอฟารจช์อยากจะกลับเหมือนกัน แต่ก็ไม่รู้จะไปเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ได้อย่างไร ที่ล้มเหลวหมดทุกอย่าง จึงอยากทำความดีความชอบสักอย่างไปถวาย
ให้ทหารส่วนหนึ่งกลับไปก่อน แล้วตัวเองพาทหาร ๓๐๐ คนไปปล้นดีบุกเมืองถลาง โกยดีบุกใส่เรือเต็มลำ แล้วส่งสาส์นมาถึงกรุงศรีอยุธยาว่าจะคืนข้าราชการไทยตัวประกันให้ ขอให้ปล่อยคนฝรั่งเศสที่ถูกจับ พร้อมกับคืนทรัพย์สินทั้งหมด แต่ทางการไทยไม่แยแสข้อเสนอของคนไม่มีราคาอย่างนายพลเดอฟารจช์ พร้อมจะรบด้วยเท่านั้น นายพลเดอฟารจช์เห็นท่าทีของไทยแล้ว จึงยอมปล่อยตัวประกันแล้วชักใบกลับไปกับดีบุกเต็มลำ
ในที่สุด ท่านนายพลที่พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ส่งมาหวังจะยึดเมืองไทย ก็ต้องกลับไปอย่างโจรที่ปล้นไปได้แค่แร่ดีบุก ไม่ได้แผ่นดินไทยแม้แค่ฝ่ามือ และไม่รู้ว่าพระเจ้าของฝรั่งเศสหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของไทยกันแน่ที่ลงโทษ นายพลเดอฟารจช์กลับไปไม่ถึงฝรั่งเศส ถูกพายุอับปางกลางทะเล ตัวเขาและลูกชาย ๒ คนจมน้ำตาย
Marshal Desfarges, also spelled Des Farges (died 1690), was a French general of the 17th century who took an important role in French efforts at establishing a presence in Siam (modern Thailand).
Desfarges led two battalions (636 soldiers)[1] on board five warships, in the second French embassy to Siam. The embassy to King Narai, under the special envoys Simon de la Loubère and Claude Céberet du Boullay, left France for Siam in March 1687.[2] Desfarges had instructions to establish French troops in Mergui and Bangkok, if necessary by force.[1]
The disembarkment of Desfarges troops in Bangkok and the troops of his officer du Bruant in Mergui led to strong nationalistic movements in Siam directed by Phra Petratcha and ultimately resulted in the 1688 Siamese revolution in which King Narai died, Constantine Phaulkon was executed, and Phra Petratcha became king.
Desfarges survived a four-month siege by the Siamese (C) in the French fortress (A) in Bangkok, in 1688.[3]
Desfarges, when he learned of the crisis, started to move his troops to the capital Lopburi at the request of Phaulkon, but then retreated back to Bangkok when he learned of the king's death on July 11, 1688.
Phaulkon was arrested, tortured and executed by the insurgents.[4] In June, the French troops in Mergui had to be evacuated, and in September, Desfarges, besieged in Bangkok, negotiated for his troops to be evacuated to Pondicherry after the four month Siege of Bangkok. He had, however, to leave his two sons and the Roman Catholic Bishops of the country as hostages.[5]
In the latter part of 1689, Desfarges captured the island of Phuket in an attempt to restore French control.[1]
Desfarges finally returned to Pondicherry with his men in February 1690. Part of his troops remained in Pondicherry to strengthen the French presence there.
Desfarges left in March 1690, but died of illness on his way back to France on board the Oriflamme. He was widely attacked for his role in the Siamese debacle. His own version of the events was published anonymously in 1691.
The French commander Abraham Duquesne-Guiton would be involved with Siam in 1691. wikipedia
ข้อมูลเกี่ยวข้อง
โฆษณา