23 พ.ย. 2022 เวลา 19:49
ผงาด! ผู้หญิงคนแรกใน Board ของ Hyundai #GenderDiversity #ESG
นับว่าเป็นอะไรที่ช้อคอิฉันในแว่ปแรกมากๆที่ได้เห็นบริษัทในประเทศที่หลายคนเม้าว่ากดขี่ผู้หญิงมากที่สุดประเทศนึง อย่างเกาหลีใต้ ได้ออกมาเปิดรับผู้หญิงอย่างคุณ Lee เข้ามานั่งในคณะกรรมบริหารสูงสุดของบริษัทรถชื่อดัง Hyundai
พออ่านไปอ่านมา เลยทำให้รู้ว่าเกาหลีใต้นางเพิ่งมีออกกฎหมายมาว่า บริษัทที่มีสินทรัพย์มากกว่า 1.5พันล้านดอลล่าห้ามมีบอร์ดบริหารแค่เพศใดเพศนึงนะ(ส่วนมากก็ผู้ชายแหละ) แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าคุณ Lee เข้ามาได้เพราะโควต้าแล้วไม่มีความสามารถนะคะ แต่จากประวัตินางก็คือสุดปังจริงๆ
1
นางจบ ดร.จาก Stanford รับรางวัลจากจากสมาคมการบินจากเมกา จากที่นางร่วมทำโปรเจคพัฒนา Satellite navigation และตอนนี้นางก็ช่วย Hyundai ในการทำโปรเจค Advanced air mobility (อารมณ์โดรนอ่ะ) ซึ่งโปรเจคนี้ บริษัทเองก็คาดว่าจะปังในอนาคตแน่ๆ โดยเฉพาะตลาดในอินโด (เพราะนางมีแต่เกาะเต็มไปหมด)
เจ๊ Lee เอง พอได้ตำแหน่งก็ออกมาย้ำถึงความสำคัญของ Diversity และพร้อมจะผลักดันผู้หญิงที่พร้อมเข้ามาร่วมทำงาน ความมุ่งมั่นของเจ๊ Lee สอดคล้องกับงานวิจัยที่ว่า ความหลากหลายทางเพศในองค์กรจะสามารถช่วยให้ผลประกอบการดีขึ้นได้ โดยเฉพาะบริษัทที่ต้องการไอเดีย, innovation หรือความสร้างสรรค์
จริงๆประเด็นเรื่อง Gender diversity ในเกาหลีใต้ พอยิ่งไปสืบอ่านต่อ ก็ยังงงๆในเรื่อง Movement นะ เพราะตอนแรกนึกว่าจะเริ่มจริงจังมากขึ้นเพราะมีออกกฎหมายนี้ออกมา แต่ปรากฎนางเพิ่งยุบกระทรวงความเท่าเทียมกันทางเพศไป ซึ่งก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่กระตุกเรื่อง movement ตรงนี้ลง
1
ของไทยเอง การพูดเรื่องนี้และการให้ความสำคัญมีมากขึ้น ขอยกตัวอย่างบริษัทแสนสิริที่เอาเรื่อง Gender diversity มาเป็นส่วนสำคัญของกลยุทธ์องค์กร จนสามารถสร้างกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ ได้อย่างงดงาม
กระนั้นก็เหอะ ถึงแม้ว่าไทยเองจะมีผู้หญิงในระดับผู้บริหารเยอะ แต่ตัวเลขที่ระดับแค่20-30% ก็น่าตั้งคำถามเหมือนกันนะว่า มันพอแล้วหรอ
แอดเองเคยได้มีโอกาสเม้ามอยกับผู้บริหารระดับสูงในไทยบางท่าน ก็สัมผัสได้เหมือนกันว่าแต่ละคนมีความกีดกันทางเพศแบบไม่รู้ตัวเองอยู่เหมือนกัน เช่น "ถ้ารับผู้หญิงมา อาจจะชอบเหวี่ยงไหม", "เข้ามาตำแหน่งสูงแบบนี้ ต้องตัดสินใจเด็ดขาด ผู้หญิงอาจจะไม่เหมาะงานลักษณะนี้" คำพูดต่างๆ ล้วนเป็นประโยคที่เราได้ยินกันบ่อยครั้ง แต่มันแฝงไปด้วยความกีดกันทางเพศ ความเหมารวม ที่ฝังลึกจนคนพูดออกมาก็ไม่รู้ตัวเอง แอดขอเรียกว่าการกีดกันแบบหลบในละกัน
พอเห็นแบบนี้แอดเองมานึกๆถึงประโยคที่หลายๆคนชอบพูดว่าก็ให้ความสามารถตัดสินสิ ไม่เห็นต้องมีโควต้าหรือกำหนดปริมาณผู้หญิงเลย เก่งจริงก็ไต่เต้ามาสิ
แอดมองว่าต่อให้ผู้หญิงเก่งแค่ไหน พอมาเจอการกีดกันแบบหลบในก็ไม่รอดหรอก ดูเกาหลีใต้สิ ไม่คิดหรอว่าจะไม่เคยมีผู้หญิงที่เก่งๆแบบนี้มาก่อนหน้านี้ แต่ไม่ได้รับเลือกเข้าทำงาน ก็เพราะอะไรละ......
เพราะงั้นแอดก็เห็นว่านโยบายแบบโควต้าก็น่าสนมากๆ กำหนดไปเลยว่าต้องมีผู้หญิง 30-50% ใครทำไม่ได้ก็อธิบายมาว่าเพราะอะไร ไม่ได้มีบทลงโทษใดๆ เพราะถ้าไม่กำหนดนะ เราก็จะเจอการกีดกันทางเพศแบบหลบในตลอดๆ อีกอย่าง งานวิจัยก้อออกมาแล้วว่ายิ่งเพศหลากหลาย มันยิ่งสร้างไอ้เดีย ความคิดต่างๆเด้อ
อ้าว ตลาดหลักทรัพย์รอไร ออกกฎมาเลยคร่าาาาาา
โฆษณา