23 พ.ย. 2022 เวลา 23:00 • ข่าว
รำลึกถึงวีรชนผู้กล้า พลเรือน ตำรวจ ทหาร
จากเหตุการณ์ความขัดแย้งในพื้นที่สำคัญ
ของด้ามขวานไทย คือ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส
1
จากซ้ายไปขวา จากบนลงล่าง : ครูจูหลิง ปงกันมูล, ร้อยตำรวจเอก ธรณิศ ศรีสุข, ร้อยตำรวจตรี กฤตติกุล บุญลือ, พันตำรวจเอก สมเพียร เอกสมญา (รูปยืนขวาสุด), ร้อยเอก ชินดนัย แร่ทอง, ร้อยเอก กฤช คัมภีรญาณ
ด้วยสำนึกในหน้าที่ เพื่อการรักษาเอกราช อธิปไตยของแผ่นดินสำคัญที่วีรกรรมของท่านเหล่านี้จะยังคงอยู่ในจารึกไว้ตลอดไป
ขออนุญาตกล่าวถึง 6 ตัวอย่างวีรกรรมความเสียสละ โดยไล่ลำดับตามวันที่ท่าน ได้ “ปฏิบัติหน้าที่เป็นวันสุดท้าย”
1
1. ครูจูหลิง ปงกันมูล : 19 พฤษภาคม 2549
ที่มา https://www.komchadluek.net/news/488698
ผู้เป็นครูด้วยหัวใจโดยมีแนวคิดว่า "อยากช่วยเด็กๆ ที่ใต้เพราะทุกวันนี้พื้นที่ใน 3 จังหวัดภาคใต้หาครูได้ยากเต็มที”
เพราะ วิชาชีพครู เป็นอาชีพในฝันของ “ครูจูหลิง” สาวร่างเล็ก ซึ่งครอบครัวปงกันมูลรู้กันดีว่า เป็นความตั้งใจแรงกล้าที่จะเป็นครู เธอจึงเรียนต่อในหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตเพิ่มอีก 1 ปี สมัครสอบบรรจุครูได้เป็นอันดับหนึ่งและเลือกจะเป็นครูในภาคใต้
1
ด้วยความเคารพต่อการจากไปของ ครูจูหลิง
หากท่านผู้อ่านต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถอ่านต่อได้ที่ https://www.komchadluek.net/news/488698
2. ร้อยตำรวจเอก ธรณิศ ศรีสุข : 29 กันยายน 2550 (ขอใช้ยศ ณ วันที่ท่านปฏิบัติหน้าที่เป็นวันสุดท้าย)
1
ที่มา https://sites.google.com/site/neverdieherothailand/r-t-x-thrnis-srisukh
“ผู้กองแคน” นายตำรวจหนุ่มผู้ใฝ่ฝันว่าอยากจะเป็น ตำรวจตระเวนชายแดน เพื่อรับใช้ชาติในพื้นที่ห่างไกล
“ผู้กองแคน” ดำรงตำแหน่ง รองผู้บังคับกองร้อย รบพิเศษ 1 กองกำกับการ 1 กองบังคับการสนับสนุนทางอากาศ หน่วยบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ค่ายนเรศวร จ.เพชรบุรี เสียชีวิตจากเหตุการปะทะกับกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ ที่บริเวณเนินเนาวรัตน์หรือเนิน 9 ศพ ระหว่างบ้านสายสุราษฏร์ – บ้านภักดี หมู่ที่ 3 ต.เขื่อนบางลาง อ.บันนังสตา จ.ยะลา
1
โดยขณะเกิดเหตุ “ผู้กองแคน” เป็นหัวหน้าชุด นำกำลัง 12 นาย ออกลาดตระเวนดูแลความปลอดภัยตามปกติ เมื่อลาดตระเวนมาถึงที่เกิดเหตุ คนร้ายไม่น้อยกว่า 20 คน ซุ่มอยู่บนเนินสูงใช้อาวุธสงคราม ทั้ง อาก้า เอ็ม 16 และลูกซอง กราดยิงใส่ จนเกิดการปะทะกันดุเดือดนานกว่า 20 นาที และคนร้ายได้อาศัยความชำนาญในพื้นที่และป่าทึบ หลบหนีไป หลังเสียงปืนสงบ เมื่อเข้าตรวจเคลียร์พื้นที่ พบว่า “ผู้กองแคน” ถูกยิงเสียชีวิตแล้ว
1
โคลงกลอนที่เพื่อนๆ ของ “ผู้กองแคน” แต่งไว้เพื่อรำลึกอาลัยต่อการจากไปฯ
"กูนี้เกิดมาเพื่อชาติราชบังลังค์
มึงจงฟังความแน่วแน่ของกูไว้
แม้นกูตายพวกกูอยู่สู้ต่อไป
อย่าได้ให้พวกจัญไรมายึดครอง
3
กูนี้คือสามพราน รุ่นห้าสี่
พวกกูมีเรื่องราวให้เล่าขาน
ชื่อของแคนยังอยู่อีกยาวนาน
เป็นตำนานผู้กล้า..เลือดทาดิน"
1
รายละเอียดเพิ่มเติมอื่นๆ ที่ http://thaiwhoiswho.blogspot.com/2009/08/blog-post_3814.html และ https://www.thairath.co.th/news/crime/1085054
3. ร้อยตำรวจตรี กฤตติกุล บุญลือ : 20 มิถุนายน 2551 (ขอใช้ยศ ณ วันที่ท่านปฏิบัติหน้าที่เป็นวันสุดท้าย)
1
ที่มา https://www.springnews.co.th/news/290418
ก่อนเกิดเหตุ “หมวดตี้” ได้มีการเขียนไดอารี่ผ่านเว็บไซต์หนึ่ง มีเนื้อหาว่า
“วันเกิดเจ้า เกือบคล้าย วันตายแม่ เจ็บท้องแท้ เท่าไร เเม่ไม่บ่น กว่าจะเกิด กว่าจะคลอด รอดเป็นคน เติบโตป่านนี้ นี่เพราะใคร แม่เจ็บเจียน ขาดใจ ในวันนั้น กลับเป็นวัน ลูกฉลอง กันผ่องใส ได้ชีวิต แล้วก็เหลิง ระเริงใจ ลืมผู้ให้ ชีวิต อนิจจา”
2
และ
"เเม่จ๋าวันเกิดลูกไม่ได้ไปฉลองที่ไหนจริงๆ นะเเม่ เเถวนี้ไม่มีที่ให้ฉลองเเค่ลูกรอดกลับมาได้ก็พอใจเเระ เดี๋ยวกลับไปฉลองกับเเม่ที่บ้านเรา ไม่ได้กลับไปหาเเม่นานเเล้วด้วย คิดถึง คิดถึง ว่าจะไปหาเเม่”
แต่ใครจะรู้ล่วงหน้า ว่านี่จะเป็นไดอารี่หน้าสุดท้ายของ ร.ต.ต กฤตติกุล บุญลือ ที่เขียนก่อนเกิดเหตุการณ์ที่เเสดงถึงความรักความกตัญญูที่มีต่อผู้เป็น มารดา ความเสียสละต่อแผ่นดิน
2
รายละเอียดเพิ่มเติมอื่นๆ ที่ https://www.springnews.co.th/news/290418
4. พันตำรวจเอก สมเพียร เอกสมญา : 12 มีนาคม 2553 (ขอใช้ยศ ณ วันที่ท่านปฏิบัติหน้าที่เป็นวันสุดท้าย)
1
ที่มา https://www.sarakadee.com/2010/06/18/%e0%b8%88%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b9%80%e0%b8%9e%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%a3/
ท่านไต่เต้าจากตำรวจชั้นผู้น้อย (ยศพลตำรวจ) ค่อยๆ สั่งสมผลงาน สร้างชื่อเสียงจนโด่งดัง
“จ่าเพียร” เข้ารบปะทะกับผู้ก่อเหตุรุนแรงหลายต่อหลายครั้ง
2
และท่านก็ได้รับบาดเจ็บจากการปะทะหลายครั้ง จนกระทั่งการได้รับบาดเจ็บสาหัสครั้งที่ 4 !!!
เมื่อปี 2525 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เข้าเฝ้าฯ รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี (เหรียญรามมาลาเข็มกล้ากลางสมร) ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง และกระทำพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา ณ อุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2525
2
“จ่าเพียร” จึงได้รับสิทธิพิเศษจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติให้เข้ารับการอบรมเป็น นายตำรวจสัญญาบัตร โดยไม่ต้องสอบคัดเลือก
1
จนกระทั่งอีกประมาณ 28 ปีต่อมา ท่านก็สละชีพอย่างสมเกียรติในฐานะผู้กำกับยอดมือปราบ “จ่าเพียรกระดูกเหล็ก : นักสู้ผู้ยิ่งใหญ่แห่งเทือกเขาบูโด”
2
รายละเอียดเพิ่มเติมอื่นๆ ที่ https://www.sarakadee.com/2010/06/18/%e0%b8%88%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b9%80%e0%b8%9e%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%a3/
5. ร้อยเอก กฤช คัมภีรญาณ : 19 มกราคม 2554 (ขอใช้ยศ ณ วันที่ท่านปฏิบัติหน้าที่เป็นวันสุดท้าย)
1
ที่มา https://www.komchadluek.net/news/86445
ตลอดเวลา 5 ปีที่ในพื้นที่ปลายด้ามขวาน "ผู้กองกฤช" ได้พิสูจน์ให้ทุกคนเห็นแล้วว่าเขามีความตั้งใจจริงที่จะคืนความสงบสุขให้แก่คนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ "ผู้กองกฤช" ไม่เคยคิดจะละทิ้งผืนดินแห่งนี้ไปในช่วงที่สถานการณ์ยังไม่น่าไว้วางใจ และที่สำคัญด้วยความเป็นคนอัธยาศัยดี ทำให้เป็นที่รักของผู้บังคับบัญชาตลอดจนเพื่อนและพี่น้องที่ร่วมอยู่ในชุดปฏิบัติการในพื้นที่
1
จนกระทั่งเกิดเหตุกลุ่มคนร้ายไม่น้อยกว่า 30 คน มีอาวุธครบมือ เข้าปฏิบัติการโจมตีฐานปฏิบัติการทหารที่ท่านดูแลรับผิดชอบ (ร้อย.ร.15121 ฉก.นราธิวาส 38) จนเป็นเหตุให้ท่านเสียชีวิต
1
รายละเอียดเพิ่มเติมอื่นๆ ที่ https://www.komchadluek.net/news/86445
และล่าสุด
6. ร้อยเอก ชินดนัย แร่ทอง :13 พฤศจิกายน 2565 (ขอใช้ยศ ณ วันที่ท่านปฏิบัติหน้าที่เป็นวันสุดท้าย)
1
“ผู้กองชิน” ชายชาติทหารที่มีจิตอาสา เสียสละ มุ่งมั่นมาปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ตั้งแต่ปี 2560 ปฏิบัติหน้าที่ ผู้ช่วยหัวหน้าฝ่ายยุทธการ หน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส
1
หน้าที่สุดท้ายซึ่งทางราชการมอบหมายให้ท่าน ในภารกิจการบังคับใช้กฎหมายเพื่อความสงบสุขและความปลอดภัยของประชาชนในพื้นที่ อ.ระแนะ จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2565
1
รายละเอียดเพิ่มเติมอื่นๆ ที่ https://www.sbpac.go.th/?p=99249 และ https://tna.mcot.net/politics-1058734
ยังมีวีรชนผู้กล้าอีกมากมาย มากจนมิอาจจะกล่าวถึงทุกท่านได้ในคราเดียว
ซึ่งท่านผู้กล้าเหล่านั้น กล้าที่จะยอมเสียเลือด กล้าที่จะสละชีพ
เพื่อชาติพลี เพื่อรักษาผืนปฐพี ในพื้นที่สำคัญของด้ามขวานไทยนี้ไว้
ทั้งท่านที่ยังมีชีวิตอยู่ และท่านที่ลาจากไปอย่างสมเกียรติ
1
ขอสดุดีและไว้อาลัยต่อการจากไปของวีรชนทุกท่าน
ด้วยบทเพลง “แด่ทหารหาญในสมรภูมิ”
บทเพลงที่ถูกเรียบเรียง และประพันธ์ทำนอง
ให้มีเนื้อหาที่ซาบซึ้ง กินใจ โดยมีเนื้อเพลง ดังนี้
2
ดวงดาวสกาวหม่น อัสสุชลซิหลั่งไหล
อาบร่างนักรบไทย ในพนาแสนอาดูร
เจ็บช้ำระกำจิต มิเคยคิดจะสิ้นสูญ
ประวัติศาสตร์จะเทิดทูน วีรกรรมอันอำไพ
2
เพื่อนแก้วผู้แกล้วกล้า ทอดกายา ณ แดนไกล
ต้องเหน็บหนาวร้าวฤทัย อย่างโดดเดี่ยว และเดี่ยวดาย
รอบข้างมีร่างเพื่อน นอนกล่นเกลื่อนชีวาวาย
กอดปืนไว้แนบกาย ที่สาหัสด้วยดัสกร
เพื่อนสู้ด้วยมือเปล่า จู่โจมเข้ารุกราวี
กระสุนหมดแต่ยังมี สติมั่นในดวงมาลย์
2
มิยอมให้ธงชาติใด ปลิวไสวบนทัพฐาน
แม้ร่างจะแหลกราญ แต่ไตรรงค์คงยั่งยืน
ขอเทิดเพื่อนร่วมตาย ด้วยอาลัยสุดจักฝืน
หากช้ำต้องกล้ำกลืน เพื่อหน้าที่อันจีรัง
2
จำไว้ผู้รุกราน จะต่อต้านสุดกำลัง
หากชีพเราคงยัง ขอแลกชีพกับไพรี
หยาดเลือดทุกหยาดหยด ที่หลั่งรดพื้นปัฐพี
จะชดใช้ในครานี้ จะต้องปลาศและพินาศไป
จะหาญสู้กับทรชน ที่คิดปล้นอธิปไตย
ไล่ออกนอกแดนไทย เพื่อวิญญาณทหารเรา
2
ขอเชิญทหารกล้า จงนิทรายังที่เนา
หลับเทิดอย่าหมองเศร้า จะปกป้องผองผไท
1
บทความนี้มีการอ้างอิงข้อมูลบางส่วนจากที่ ILHAIR
เคยเขียนไว้ใน Blockdit เมื่อ 28 ก.พ.65 ตามลิ้งค์ต่อไปนี้ https://www.blockdit.com/posts/621bc1f85960d8b4acdcb5e2
2
สดุดีวีรกรรมผู้กล้า
บทส่งท้าย : ในระหว่างที่ ILHAIR
ทำการรวบรวมข้อมูล เพื่อจัดทำบทความครั้งนี้ ก็ได้โอกาสดีๆ ให้ได้พบกับ Facebook ที่รวบรวมข้อมูล วีรชนผู้กล้าท่านต่างๆ ไว้
1
ด้วย Concept ของเพจ Facebook ที่ว่า
“เพราะ ไม่อยากให้เป็น วีรบุรุษเพียงแค่ 7 วัน แล้วคนไทยก็ลืม”
1
(ซึ่ง Facebook และ Google Site นี้ **ไม่ใช่** ของ ILHAIR นะครับ)
1
โฆษณา