27 พ.ย. 2022 เวลา 08:58 • การตลาด
เกิดอะไรขึ้นกับมนุษย์เงินเดือนที่เข้าทำงานไม่นานก็ลาออก ทั้งที่คนตกงานก็เยอะและทางออกคืออะไร
ที่มา: th.jobsdb.com
บริษัท คิว เจน คอนซัลแทนท์ จำกัด (QGEN) และบริษัท คิว อิลิท จำกัด (QElitez) เจ้าชอง Facebook Page: HR The NextGen ได้ขึ้นกล่าวในงาน THAILAND HR TECH 2022 ที่จัดโดยสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย หรือ PMAT ภายใต้หัวข้อ Dose the Great Resignation will be Occurred? and How HR TECH Engage Talent? ในวันที่ 22 พฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมา
โดยเผยผลการสำรวจที่ทำขึ้นเมื่อเมื่อเดือนสิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา ซึ่งใช้ระยะเวลาการสำรวจ 2 สัปดาห์กับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,000 คน โดยผลการสำรวจสรุปได้ดังนี้
1. พนักงาน 40% อยู่กับองค์กรไม่เกิน 2 ปี
2. พนักงานใหม่ 32% มีแนวโน้มลาออกภายใน 1 ปี
3. คนที่ทำงานมาประมาณ 4-5 ปี จำนวน 43% จะลาออกภายใน 2 ปี ส่วนเหลือประมาณ 60% จะอยู่ต่อ ผลสำรวจที่น่าสนใจก็คือคนที่ไม่ลาออกมีแนวโน้มว่าจะเป็นคนที่อยู่ไปวันวัน ไม่ได้สร้างให้เกิดประสิทธิผลให้องค์กรได้อย่างที่ควรจะเป็น
ผลสำรวจนี้ชี้ให้เห็นหลายอย่างว่าภาคการผลิตของไทยโดยเฉพาะองค์กรที่ก่อตั้งมาสักระยะหนึ่งแล้ว มีแนวโน้มว่าจะมีประสิทธิภาพลดลง ส่งผลให้การแข่งขันในตลาดอาจจะไม่สามารถสู้กับคู่แข่งที่เป็นบริษัทข้ามชาติได้ หรือบริษัทที่มุ่งเน้นในการใช้ระบบมากกว่าใช้คน
1
QGEN - HR Practice Provider
นอกจากนี้แล้วในองค์กรก็จะประกอบไปด้วยคนทำงาน(น้อย)มากกว่าพูด หรือกลุ่มแก๊งในองค์กรที่เป็นกลุ่มผู้มีอิทธิพลต่อการทำงาน จนทำให้คนที่ตั้งใจเข้ามาทำงานอย่างเต็มที่ไม่สามารถทำงานได้ คนกลุ่มใหญ่กลุ่มนี้เป็นกลุ่มคนที่ไม่รู้ว่าจะไปไหนและก็รู้ตัวว่าไปก็ไม่รอด การปกป้องตัวเองโยนความผิดให้ผู้อื่นจึงเป็นสิ่งที่เขาเลือกทำ
กลุ่มแก๊งเหล่านี้นอกจากจะไม่สร้างให้เกิดประสิทธิภาพการทำงานแล้ว ยังพบว่าเขาจะคอยขัดขวางคนที่จะแสดงผลงานที่โดดเด่นด้วย ทั้งเป็นคนเดิมที่ทำงานอยู่และคนใหม่ที่เพิ่งเข้ามาทำงาน จนทำให้คนที่ตั้งใจทำงานหมดกำลังใจ ในที่สุดก็ต้องลาออกตามข้อมูลที่ทำการสำรวจ
ที่สุดแล้วองค์กรเหล่านี้ก็จะไม่สามารถดำรงอยู่ได้ เพราะไหนจะมีระบบการเมืองภายในองค์กรที่ยากจะทำงานให้ดีได้ การทำงานยังไม่มีการพัฒนาให้ดีขึ้น ซ้ำรายกว่านั้นยังทำให้ประสิทธิภาพลดลงด้วยซ้ำ
1
ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายๆเลยที่จะจัดการกับเรื่องเหล่านี้ ยิ่งคนที่จัดการอยู่ในสิ่งแวดล้อมนี้ยิ่งจะทำให้ถูกกลืนกลายเป็นคนในแบบเดียวกัน ผู้บริหารไม่ได้มองความสำคัญของบุคลากรมาในอันดับต้นๆยิ่งไปกันใหญ่ เพราะเขาจะไม่สนใจในการสร้างแรงจูงใจเพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพและคนอยากอยู่ต่อ แต่จะมาสร้างกฎเกณฑ์ออกมาบังคับ ส่งผลทำให้พนักงานอึดอัดมากยิ่งขึ้น
1
ผลสำรวจของ QGEN ยังพบว่าทมี 5 ปัจจัยที่ทำให้คนอยากอยู่กับองค์กรต่อดังนี้
1. ค่าตอบแทนที่แข่งขันได้ (competitive compensation)
2. เพื่อนร่วมงาน (colleague) โดยเฉพาะผู้จัดการหรือหัวหน้ามีอิทธิพลค่อนข้างมาก
3. สามารถจัดเวลาทำงานได้เอง (hybrid workplace with self-manage)
4. องค์กรต้องยอมรับความแตกต่างที่หลากหลาย (diversity policy) ทั้งความแตกต่างทางเพศ ความเชื่อแตกต่างกัน
5. ความยุติธรรม (fairness) ไม่เอนเองเข้าใดข้างหนึ่ง
สิ่งที่ต้องทำนอกจาก 5 ปัจจัยข้างต้นแล้ว คือการสร้างให้เกิดความผูกพันกับองค์กร (employee engagement) โดยการสร้างประบการร่วม ทำให้พนักงานมั่นใจว่าพื้นที่นี้คือพื้นที่ที่ปลอดภัย
Source: Forbes
หากไม่สามารถทำได้ก็ไม่สามารถลดการลาออกได้ เพราะทุกการลาออกคือต้นทุนที่องค์กรต้องจ่าย ทั้งต้องฝึกคนใหม่ที่ต้องใช้เวลากว่าจะสามารถทำงานได้ ทั้งเรื่องของค่าจ้างที่อาจจะต้องจ่ายแพงขึ้นเพื่อดึงคนเข้ามา
ทางฝั่งพนักงานหากยังคงมีปัญหาแบบนี้เกิดขึ้นต่อเนื่อง องค์กรที่ทำงานอยู่อาจจะไม่สามารถดำรงอยู่ได้ หากจะดำรงอยู่คงต้องปฏิวัติโดยการลดจำนวนพนักงานเพิ่มเครื่องจักร นำระบบปฏิบัติงานอัตโนมัติมาใช้ แม้ว่าจะลงทุนสูงแต่ก็คุ้มค่าในระยะยาว
โฆษณา