29 พ.ย. 2022 เวลา 12:15 • กีฬา
ถ้าเจอคำถามยากๆ ในฐานะนักฟุตบอลต้องทำอย่างไร นี่คือการแก้ปัญหาของไทเลอร์ อดัมส์ กัปตันทีมชาติสหรัฐอเมริกา
เรื่องเดือดนอกสนามในฟุตบอลโลกเกิดขึ้นอีกครั้ง เหตุการณ์คราวนี้อยู่ที่ห้องเพรส คอนเฟอเรนซ์ ก่อนเกมสหรัฐอเมริกา กับ อิหร่าน
แบ็กกราวน์ของเรื่องนี้ อย่างที่ทุกคนทราบดีว่า สหรัฐฯ กับ อิหร่าน เป็นคู่ปรับกันมาหลายทศวรรษ
เล่าโดยย่อคือ ในปี 1953 อิหร่านมีนายกฯ ที่มาจากการเลือกตั้งชื่อ โมฮัมหมัด มอสซาเด็ก แต่นายกฯ คนนี้มีแผนจะยึดสิทธิ์การผลิตน้ำมันในอิหร่านที่่เป็นของต่างชาติ ให้กลับมาเป็นของรัฐ ทำให้อังกฤษจับมือกับสหรัฐฯ เพื่อให้ท้ายในการรัฐประหาร
2
มอสซาเด็กโดนโค่นอำนาจ ฟากสหรัฐฯ ดันพระเจ้าชาห์ ขึ้นบริหารประเทศแทน
1
พระเจ้าชาห์ปกครองอิหร่าน 25 ปีอำนาจก็เสื่อมถอย มีข้อกล่าวหาว่าทำการทุจริตจนตัวเองร่ำรวย สุดท้ายโดนคนอิหร่าน 2 ล้าน ลงถนนเพื่อขับไล่พระเจ้าชาห์จากตำแหน่ง และทำสำเร็จ ทำให้อยาตอเลาะห์ โคไมนี่ ขึ้นเป็นผู้นำคนใหม่ของอิหร่าน
4
พระเจ้าชาห์ลี้ภัยหนีไปสหรัฐฯ ทางอิหร่านขอสหรัฐฯ ให้ส่งตัวพระเจ้าชาห์มารับโทษ แต่สหรัฐฯ ไม่ส่งคืน นั่นทำให้เกิดการบุกเข้าไปสถานทูตสหรัฐฯ และจับคนอเมริกันเอาไว้ 52 คน นาน 444 วัน ถ้าใครดูภาพยนตร์เรื่อง Argo นี่ก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นช่วงนั้น นั่นเอง
2
จากนั้นในปี 1988 เรือรบสหรัฐฯ ยิงเครื่องบินพลเรือนอิหร่าน ที่ช่องแคบฮอร์มุซ จนมีคนตายทั้งลำ 290 คน สหรัฐฯ ชี้แจงว่าเป็นความผิดพลาด แต่ไม่เคยกล่าวขอโทษในเรื่องนี้แม้แต่ครั้งเดียว
2
ตามด้วยปี 2002 จอร์จ บุช ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าวหาอิหร่านว่าเป็นแกนนำแห่งความชั่วร้าย (Axis of Evil) ร่มกับอิรัก และเกาหลีเหนือ เหตุผลคือแอบลักลอบพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ที่อาจทำให้โลกใบนี้วุ่นวายได้
3
ทั้ง 2 ฝ่ายระหองระแหงกันมาตลอด จนมาถึงเหตุการณ์สำคัญเมื่อปลายปี 2019 ฐานทัพสหรัฐฯ ที่ชายแดนอิรัก โดนขีปนาวุธรุมถล่ม 30 ลูก ทำให้พลเมืองสหรัฐ 1 คนต้องเสียชีวิต
1
การโจมตีครั้งนั้น สหรัฐฯ สรุปว่าเป็นฝีมือของกลุ่มคาตาอิบ ฮิซบอลเลาะห์ ที่อิหร่านให้การสนับสนุน ทำให้สหรัฐฯ ตอบโต้ทันที ด้วยการยิงขีปนาวุธใส่คืน จนกองกำลังของกลุ่มดังกล่าวตายทันที 25 ศพ
3
ตามด้วยวันที่ 3 มีนาคม โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ สั่งสังหารนายพลกาเซ็ม โซเลมานี นายทหารคนสำคัญที่สุดของอิหร่าน ผู้บัญชาการหน่วยรบพิเศษคุดส์จนเสียชีวิต
1
จากเหตุการณ์นั้น ทำให้คนอิหร่านนับล้านทำพิธีไว้อาลัย และสาบานว่าจะเอาคืนสหรัฐฯ ให้ได้ในอนาคต
เราจะเห็นว่าความสัมพันธ์ของสองประเทศนั้นง่อนแง่นมานานมาก พร้อมจะระเบิดกันได้ทุกเมื่อ ดังนั้นในเกมฟุตบอลโลกนัดสุดท้าย ในกลุ่มบี ระหว่างสหรัฐฯ กับ อิหร่าน จึงไม่แปลกเลยที่จะเกิดการแซะการแขวะกันตลอดเวลา
ดราม่าในฟุตบอลโลกคร้้งนี้ เริ่มจากทีมโซเชียลมีเดียของทีมชาติสหรัฐฯ ตัดสินใจ ลงรูปธงชาติอิหร่านแต่เอาสัญลักษณ์ "สาธารณรัฐอิสลาม" ตรงกลางธงออก แล้วโพสต์แซะว่า "เราสนับสนุนให้ผู้หญิงชาวอิหร่านลุกขึ้นต่อสู้เพื่อสิทธิขั้นพื้นฐานของพวกเธอ"
1
แม้ตอนนี้รูปจะลบไปแล้ว แต่สมาคมฟุตบอลอิหร่านแค้นมาก และได้แจ้งฟีฟ่าให้แบนสหรัฐฯ 10 เกม โทษฐานหยามเกียรติและศักดิ์ศรีของอิหร่านถึงขั้นตัดต่อธงชาติ
1
นอกจากนั้น กองเชียร์สหรัฐฯ จะใส่เสื้อ "Woman, Life, Freedom" เข้าสู่สนามเพื่อประท้วงอิหร่านที่ไม่ยอมมอบสิทธิมนุษยชนให้ผู้หญิงด้วย ในเกมก่อนที่อิหร่านชนะเวลส์ แต่กาตาร์ผู้จัดการแข่งขัน ไม่ยอมให้เข้าสนามจนกว่าจะเปลี่ยนเสื้อ เพราะไม่อยากให้ดราม่าการเมืองเป็นจุดสนใจในสนามแข่ง
3
เรื่องการเมืองก็ใส่กันสุดอยู่แล้ว และยิ่งเกมนี้มีการเข้ารอบของสองชาติเป็นเดิมพันด้วย ทำให้บรรยากาศตึงเครียดมาก สองทีมนี้ ใครชนะเกมนี้เข้ารอบสองทันที
ในห้องเพรส คอนเฟอเรนซ์ ก่อนเกม สหรัฐฯ ส่งกัปตันไทเลอร์ อดัมส์ ผู้เล่นจากลีดส์ ยูไนเต็ด และเฮดโค้ชเกรก เบอร์ฮัลเตอร์ ขึ้นตอบคำถามสื่อมวลชน
1
โค้ชเกรก เบอร์ฮัลเตอร์ กล่าวว่าเสียใจที่โซเชียลมีเดียโพสต์รูปธงแบบนั้น แต่ยืนยันว่าตัวนักเตะไม่รู้เรื่อง อยากให้ทุกคนสนใจที่ฟุตบอลก่อน และขอเป็นกำลังใจให้นักเตะอิหร่านเช่นกัน ขอให้ทีมที่เล่นดีกว่า เป็นฝ่ายชนะในเกมนี้
3
เผินๆ ก็เหมือนจะไม่มีดราม่าอะไร แต่สื่อมวลชนอิหร่าน ได้โยนคำถามยากๆ ใส่ไทเลอร์ อดัมส์ ถ้าเขาตอบไม่ดี มีสิทธิ์จะพังพินาศได้เลย
สื่ออิหร่านถามว่า "ผมชื่อมิลา จาวา มาดี้ มาจากเพรสส์ทีวี (สื่อจากอิหร่าน) ข้อแรก คุณบอกว่าคุณสนับสนุนอิหร่าน แต่คุณกลับอ่านออกเสียงชื่อของประเทศเราผิด ประเทศเราคือ อิ-หร่าน ไม่ใช่ ไอ-ราน ผมอยากจะบอกให้ชัดเจนตรงนี้ก่อนเลย"
2
"และข้อสอง คุณโอเคจริงๆ หรือ ที่เป็นตัวแทนของประเทศที่มีการเหยียดคนผิวดำกันตลอดเวลา เหยียดกันในประเทศเลยด้วยซ้ำ (Note : ไทเลอร์ อดัมส์ เป็นคนผิวดำ) เราเห็น Black Lives Matter Movement ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา คุณโอเคหรอ ที่เป็นตัวแทนของประเทศที่เหยียดคนผิวดำแบบคุณ"
3
นี่เป็นคำถามที่โหดมาก คุณจะบอกว่า มีการเหยียดผิวในประเทศ ก็อาจโดนจี้ถามไปว่าแล้ว Squad ของคุณมีการเหยียดไหม
2
จะบอกว่าไม่มีการเหยียดผิวก็เป็นคำโกหกแน่ๆ นี่เป็นคำถามที่บี้กะให้ตายในห้องแถลงข่าวกันเลย
หรืออาจมีทางเลือก คือ เดินหนีไปเลยไม่ตอบคำถาม แต่แบบนั้นก็แปลว่า นักข่าวอิหร่านชนะ
ไทเลอร์ อดัมส์ ฟังคำถามจนจบโดยไม่ลุกหนีไปไหน แล้วตอบว่า
"ผมต้องขอโทษด้วยกับการอ่านออกเสียงชื่อประเทศของคุณผิดพลาด ส่วนเรื่องการเหยียดผิวนั้น ไม่ว่าคุณจะไปที่ไหนในโลกก็มีการเหยียดเกิดขึ้นเสมอ"
1
"แต่ผมได้เรียนรู้สิ่งหนึ่ง จากการไปอาศัยอยู่ต่างประเทศมาหลายปี นั่นคือเราจำเป็นต้องปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมของคนอื่น พยายามทำความเข้าใจในวัฒนธรรมที่ไม่ใช่ของตัวเอง ที่สหรัฐอเมริกาของเรา เราก็ค่อยๆ เรียนรู้เรื่องนี้มากขึ้นในทุกๆ วัน"
3
"อย่างผมเติบโตมาในครอบครัวของคนผิวขาว แต่ผมเองก็มีสายเลือดของคนแอฟริกัน-อเมริกันในตัว"
1
"ดังนั้นผมจึงมีส่วนผสมของวัฒนธรรมที่แตกต่างรูปแบบกัน มันเป็นการง่ายสำหรับผม ที่จะเรียนรู้วัฒนธรรมที่แตกต่าง แต่ไม่ใช่กับทุกคน ที่จะปรับตัวได้ง่ายแบบนี้ มันจำเป็นต้องใช้เวลาที่จะทำความเข้าใจ ผ่านการศึกษา สำหรับผมการให้ความรู้เป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ"
6
"เหมือนอย่างที่คุณเพิ่งให้ความรู้ผมเมื่อสักครู่ เรื่องการอ่านออกเสียงชื่อประเทศของคุณไง ดังน้้น ใช่ การทำให้ไม่มีการเหยียดผิวเกิดขึ้นอีกเลย มันก็ต้องใช้เวลา เพราะมันก็มีกระบวนการของมัน แต่ตราบใดก็ตามที่คุณยังเห็นพัฒนาการทีละนิด ผมว่ามันก็โอเคมากแล้ว"
9
นี่เป็นคำตอบที่สมบูรณ์แบบมาก จนนักข่าวอิหร่านไปต่อไม่ได้เลย
1
ไทเลอร์ อดัมส์ ไม่ปฏิเสธว่ามีการเหยียดผิวเกิดขึ้นในประเทศ แต่เขายืนยันว่า ทุกอย่างมันจะค่อยๆ เปลี่ยนแปลงช้าๆ ตราบใดที่ให้ความรู้ผู้คนเรื่อยๆ ว่าการเหยียดไม่ใช่สิ่งดี
2
มันไม่ใช่สิ่งที่จะเห็นผลในเร็ววัน แต่มันจะค่อยๆ เห็นผลแน่ๆ ตราบใดที่ยังมีระบบการศึกษา และผู้คนเต็มใจที่จะให้ความรู้อีกฝ่ายหนึ่ง
3
เราดูก็รู้ว่า นักข่าวอิหร่านต้องการยั่วยุนั่นแหละ ให้ไทเลอร์ อดัมส์ หลุดพลาดทางใดทางหนึ่ง แต่เขาไม่หนี และตอบได้อย่างสมบูรณ์มากๆ
เว็บไซต์ อินไซเดอร์ ใช้คำว่า "graciously handled a tough question" หรือที่แปลว่า รับมือคำถามยากๆ ได้อย่างงดงาม
4
ตอนนี้ช่วงตอบคำถามสื่อมวลชนก็จบไปแล้ว คราวนี้ทุกคนจะกลับมาโฟกัสที่ในสนามอีกครั้ง ว่าตี 2 คืนนี้ ใครจะอยู่ ใครจะไป อิหร่าน หรือ สหรัฐฯ
จากเรื่องนี้ เราจะเห็นว่า นักกีฬาในปัจจุบัน แม้จะพยายามหลีกเลี่ยงเรื่องการเมือง แต่คุณไม่สามารถหลีกหนีได้ตลอดไป ถึงจุดหนึ่งก็มีโอกาสต้องโดนคำถามยากๆ เป็นการทดสอบเช่นกัน
ไทเลอร์ อดัมส์ สามารถผ่านไปได้ด้วยไหวพริบที่ยอดเยี่ยม ซึ่งถ้าคุณไม่มีความรู้ ไม่เข้าใจแบ็กกราวน์ของสังคมที่ดีพอ คุณตอบแบบนี้ไม่ได้แน่
นักกีฬายุคนี้ เรื่องฝีมือในสนามก็สำคัญ แต่เรื่องความรู้รอบตัว การวางตัว ไหวพริบในสิ่งต่างๆ นอกสนาม ก็มีคุณค่าไม่แพ้กันเลยทีเดียว
โฆษณา