30 พ.ย. 2022 เวลา 08:34 • ความคิดเห็น
ผมมองว่า
1) ชีวิตคนเราเต็มไปด้วย “ความแปรปรวนและความผันผวน อันทุกสิ่งนั้นไม่เที่ยงแท้แน่นอน”
-บางครั้งเราพบเจอในสิ่งที่เราอยากจะพบเจอ
-บางครั้งเราไม่ได้พบเจอในสิ่งที่เราอยากจะพบเจอ
เมื่อพิจารณาสมการนี้
O = S + A
O: Outcome หรือ “ผล”
S: Situation หรือ “สถานการณ์ที่พบเจอ”
A: Action หรือ “การกระทำ / กรรม”
เราจะเห็นได้ว่า “ชีวิต” เปรียบได้กับการเป็น “นักบิน” ที่นำเครื่องบินขึ้นสู่ท้องฟ้า
เราไม่สามารถ “ควบคุม” ตัวแปรต่างๆ เช่น “ทิศทางของกระแสลม, อัตราเร็วของกระแสลม, สภาพอากาศ, ฝน, หิมะ, อุณหภูมิ, ความชื้น, ฯลฯ” ได้ทั้งหมด
ซึ่ง “สิ่งที่เราควบคุมไม่ได้” เหล่านี้ ก็คือ
“Situation” หรือ “สถานการณ์” ต่างๆในชีวิตนั่นเอง และแน่นอนว่า สิ่งเหล่านี้จะส่งผลไปทำให้เราเกิด “อารมณ์ยินดียินร้าย” กับมัน!
แต่เมื่อใดที่เรามี “สติ” และ “ปัญญา” ในการมองไปที่ “ผล” หรือ “Outcome”
เราก็สามารถที่จะ “แก้เกมส์” ด้วยการปรับเปลี่ยน “Action” หรือ “การลงมือทำ” เพื่อแก้ไข “สถานการณ์” หรือ Situation ด้วยสติและปัญญาที่เรามี เพื่อให้ได้มาซึ่ง “ผล” หรือ Outcome ที่เราต้องการในที่สุด
อนึ่ง “อารมณ์แห่งทุกข์” ที่ต้องประสบเนื่องจากการที่ต้องพบเจอกับ “สถานการณ์” ที่ไม่พึงประสงค์นั้น มักทำให้เรา “ละทิ้ง” สิทธิในการ “แก้ไขสถานการณ์” ซึ่งก็คือ “Action” นั่นเอง!โดยแทนที่เราจะเป็นฝ่าย “Action” ด้วย “สติและปัญญา”
เรากลับ “เสวยอารมณ์แห่งทุกข์” จากการที่เราต้องพบเจอกับ “Situation” ที่ไม่พึงปรารถนา จนกลายเป็นฝ่าย “React” แทนที่จะเป็นฝ่าย “Act” นั่นเอง!
2) ด้วยเหตุนี้ “การฝึกสติ” เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพในการ “Take Action” จึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญยิ่ง เพื่อใช้รับมือกับ “ทุกสถานการณ์” ซึ่งเปรียบได้กับ
“นักบินที่ฝึกบินในสภาวการณ์ต่างๆ โดยใช้เครื่อง Flight Simulators”
ที่สามารถ “จำลองสถานการณ์” ต่างๆที่นักบินจะต้องพบเจอได้แทบจะทุกรูปแบบ!
“จิตประภัสสร”
“สติ” ที่ฝึกดีแล้ว จะเปรียบเหมือนผิวใบบัวที่ถูกเคลือบด้วยสารธรรมชาติช่วยป้องกันจิตไม่ให้ “แปดเปื้อน โลภ โกรธ หลง” ที่ถาโถมเข้ามาสู่จิต คล้าย น้ำโคลนตมที่มาแปดเปื้อนใบบัว
เมื่อเป็นเช่นนี้ จิตจะเกิด “ความว่าง” และ “ผ่องใส” ด้วย “สติรู้” นำไปสู่ การเห็นวัฏจักรของความไม่เที่ยงแห่งจิตที่ถูก โลภ โกรธ หลง เข้ามาทำจิตให้มัวหมอง
จนเมื่อใดที่จิต เห็นการ “เกิดดับ” บ่อยๆเข้า จิตนั้นก็จะเป็นจิตของ “ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน”
3) “เส้นทางสู่สติ”
“สติปัฏฐานสี่” หรือ “ฐานแห่งสติทั้งสี่”
คือหนทางสู่สติที่จะนำพามาซึ่งปัญญาอันเปรียบเป็น “อาวุธ” ที่ใช้ “แก้ไขสถานการณ์” ได้
4) เมื่อสตินำปัญญามาสู่คุณ
คุณก็สามารถจัดการกับ “Situation” ได้ดีขึ้น
หรือคุณอาจ “วางเฉย” เพื่อให้สถานการณ์ “คลี่คลายตัวมันเอง” ถ้าปัญญาบอกคุณว่า
“นั่นเป็นวิธีที่คุ้มค่ากว่า!”
ซึ่งเป็น “Outcome” ที่คุณต้องการ!
โฆษณา