4 ธ.ค. 2022 เวลา 10:30 • ความคิดเห็น
ฝึกทักษะด้านเหตุและผล ด้วยการร่วมแสดงความคิดเห็นสาธารณะ
สวัสดีค่ะทุกคน วันนี้ทางเพจผู้สังเกตการณ์ขออนุญาตนำบทความที่ได้มาจากการอ่านหนังสือที่มีชื่อว่า "วิถีผู้ชนะ ฉบับคนเก่งแบบเป็ด"
เขียนโดย Pat Flynn
แปลโดย ปฏิภาณ กุลวพันธ์
เก่งแบบเป็ด หมายถึง เก่งกว้าง
หนังสือเล่มนี้มีเป้าหมายว่า
"เป้าหมายของหนังสือเล่มนี้คือสอนให้เป็ดอย่างคุณ ทำหลาย ๆ สิ่งได้เก่งกว่าคนส่วนใหญ่ แม้คุณจะไม่มีทักษะใดเลยที่เชี่ยวชาญสุด ๆ ก็ตาม"
ซึ่งวันนี้ขอยกบทที่คิดน่าจะเหมาะกับชาวบล็อกดิต รวมถึงตัวแอดมินด้วยมากล่าวถึงกันนะคะ
2
เป็นเรื่องของการแสดงความคิดเห็นสาธารณะ
เช่นในเว็บไซต์บนโลกออนไลน์อย่างเช่นทุกวันนี้ ที่ใคร ๆ ก็สามารถออกความคิดเห็นได้อย่างอิสระ
2
แต่เราอาจลืมคิดไปว่า การแสดงความคิดเห็นนั้นก็มีเทคนิค และวิธีการที่ดี
ซึ่งควรนำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์กับตนเอง และคนที่เข้ามาตั้งคำถาม หรือคนที่เข้ามาอ่านความคิดเห็นได้ด้วยเช่นกัน
ทางเพจเคยลงบทความหนึ่งที่ว่าด้วยการตอบคำถามของท่านศาสตราจารย์ จอแดน บี ปีเตอร์สัน เจ้าของหนังสือเรื่อง "12 กฎที่ใช้ได้ตลอดชีวิต"
1
จุดเริ่มต้นของหนังสือเล่มนั้น เกิดจากการที่ท่านเสียสละเวลาส่วนตัวมาตอบคำถามในเว็บบอร์ดแห่งหนึ่ง และคำตอบของท่านเป็นประโยชน์กับผู้คนจำนวนมาก จนมีคนติดต่อมาขอให้ท่านเขียนหนังสือขึ้นมาเพื่อเป็นตำราในการใช้ชีวิต เพื่อเป็นแนวทาง แนวคิด ปฏิบัติที่ดีที่ถูกต้องให้กับผู้คน
2
และในบล็อกดิตก็มีการตั้งคำถาม และตอบคำถามเช่นกัน ถ้าอย่างนั้นเราดูกันเลยว่า การแสดงความคิดเห็นนั้นดียังไง
✅ ฝึกทักษะด้านเหตุและผล🎉
เหตุและผลช่วยจัดระเบียบความคิดของคนเรา มันคือการคิดอย่างดีและถูกต้อง
สิ่งนี้จะช่วยยับยั้งไม่ให้เราซื้อของไร้สาระ คอยเตือนสติไม่ให้เลือกนักการเมืองที่ไม่ดี และดึงสติไม่ให้เราเอานิ้วแหย่เข้าไปในรูปลั๊กไฟ
3
เหตุและผลจะช่วยให้คนเราไม่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพที่จะมาหลอกลวงเอาผลประโยชน์
1
ผู้คนส่วนใหญ่เคยศึกษาทักษะเหตุและผล แต่ตอนนี้แทบไม่มีใครศึกษามันเลย
ผมเห็นผลกระทบของมันชัดเจน แถมยังเลวร้ายมาก
2
ผู้คนส่วนใหญ่มักตกเป็นเหยื่อของคนที่พูดจาลื่นไหล และมีสำเนียงน่าฟัง ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องสั้นแฝงโฆษณาตามโทรทัศน์ การชุมนุมทางการเมือง หรือในห้องเรียนซึ่งเรื่องเหล่านี้เป็นสิ่งที่ไม่ดีเลย
1
คนเราชอบคิดว่าการคิดเป็นสิ่งสำคัญ
แต่กลับมีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่ใช้ความคิดได้ดีจริงๆ
เราไม่เคยศึกษาเลยว่าเหตุผลคืออะไร ?
ทำไมมันจึงสำคัญ ?
เราจะใช้มันอย่างไร ?
หรือเราจะรู้ได้อย่างไรว่าคนอื่น ๆ กำลังใช้เหตุและผลอยู่ ?
ทักษะการใช้เหตุและผลจะส่งผลต่อทุกสิ่งในชีวิตการคิดดีจะช่วยให้พูดดีและเขียนได้ดีขึ้นด้วย
1
การคิดอย่างเป็นระบบช่วยให้เข้าใจโลกและคนอื่นๆได้นี่คือเหตุผลว่าทำไมเหตุและผลจึงเป็นทักษะพื้นฐาน
และเขายังได้แนะนำไว้อีกว่า มีวิธีง่าย ๆ ในการฝึกคิดแบบมีเหตุและผล นั่นก็คือ "การฝึกไขปริศนา"
และวิธีพัฒนาทักษะด้านการคิดที่ดีที่สุดอีกวิธีคือ "การพูดคุย ถกเถียงกับผู้อื่น" เพื่อฝึกแสดงความคิดเห็นจริงๆและแก้ต่างให้กับจุดยืนของตัวเองในหัวข้อนั้น ๆ
แนวทางการฝึกฝนแสดงความคิดเห็น
✍️ เข้าร่วมกลุ่มพูดคุย ถกเถียงในกลุ่ม เพจ หรือเว็บไซต์ต่าง ๆ ร่วมแสดงความคิดเห็นทุกวัน
✍️ จดตรรกะวิบัติจากบทสนทนาอย่างน้อย 1 ข้อต่อวัน
✍️ ร่วมแสดงความคิดเห็นในหัวข้อง่าย ๆ ที่คุณกับเพื่อนและครอบครัวมีความคิดเห็นตรงกันบ่อย ๆ
✍️ เขียนแสดงความคิดเห็นที่มีเหตุผลอย่างดีลงในสื่อออนไลน์สัปดาห์ละครั้ง
แบบฝึกทักษะด้านเหตุและผล
🙋 ตั้งคำถามกับตัวเองก่อนแสดงความคิดเห็นว่า
💃🏾 ฉันมีอคติเกี่ยวกับหัวข้อที่กำลังจะแสดงความคิดเห็นหรือไม่
💃🏾 ฉันเต็มใจยอมรับผลลัพธ์ที่ไม่ชอบหรือไม่
💃🏾 ฉันจะโต้แย้งความคิดเห็นที่มาจากจุดยืนของตัวเองอย่างไร
💃🏾 ฉันเข้าใจจุดยืนของฝ่ายตรงข้ามอย่างดีที่สุดแล้วหรือยัง
และในหนังสือยังได้แนะนำ
ตรรกะวิบัติ 10 ข้อนี้ที่ไม่ควรใช้
👉 ออกทะเล คือการตั้งใจเบี่ยงเบนประเด็น
👉 การสรุปนอกเรื่อง คือการตั้งข้อสรุปที่ไม่เกี่ยวกับเหตุผลที่พูดคุยกัน
👉 เหตุผลวิบัติสืบทอด คือการพยายามหักล้างข้อโต้แย้งโดยการอธิบายจากแหล่งกำเนิดของข้อมูล เช่นปู่ย่า ตายายบอกว่าพระเจ้ามีจริง ดังนั้นพระเจ้าจึงต้องมีจริงแน่นอน
1
👉 การอ้างคนหมู่มาก คือการสรุปเอาเองว่าเรื่องนี้เป็นสิ่งที่ถูกต้องเพราะมีคนเชื่อหลายคน
👉 การเหมารวม คือการสรุปเอาเองว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ถูกต้องทั้งหมดเพราะมีบางส่วนถูกต้อง เช่นทีมฟุตบอลนี้มีผู้เล่นทุกตำแหน่งที่เก่งที่สุด ดังนั้นทีมนี้ต้องชนะเสมอ
👉 การโจมตีที่ตัวบุคคล คือการโจมตีที่ตัวบุคคลโดยการลดความน่าเชื่อถือของคนนั้น แทนที่จะพูดถึงประเด็นที่โต้แย้งกันอยู่
👉 การบังคับเลือก คือการบังคับให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่จริง ๆ แล้วในสถานการณ์นั้นสามารถเลือกได้มากกว่า 2 ข้อ
👉 การให้เหตุผลวนเวียน คือการพูดโดยไม่มีหลักฐานที่แตกต่างจะข้อสรุปของตัวเอง
👉 การอ้างผู้มีอำนาจ คือการอ้างว่าคำพูดของผู้ที่มีอำนาจถูกต้องเสมอ
👉 หุ่นฟาง คือการหยิบยกความคิดเห็นของฝ่ายตรงข้ามมาตีความหมายผิดๆเพื่อให้หาหลักฐานมาหักล้างได้ง่ายขึ้น
การโต้แย้ง หมายถึง การเสนอความคิดเห็นและการถกเถียงประเด็นต่าง ๆ อย่างเหมาะสมตามหลักเหตุและผล ไม่ใช่สิ่งที่ผู้คนมักจะทำตอนเมาหรือตอนใช้อารมณ์
1
ขั้นต่อไปของการฝึกคือการเพิ่มระดับความยาก หรือหาคู่สนทนาที่เก่งขึ้น
1
ยังมีอีกหลายเรื่องราวที่น่าสนใจจากหนังสือเล่มนี้ ที่มีชื่อว่า "วิถีผู้ชนะ ฉบับคนเก่งแบบเป็ด" How to be better at (almost) everything
เขียนโดย Pat Flynn
แปลโดย ปฏิภาณ กุลวพันธ์
สำนักพิมพ์ Bingo
ราคา 230 บาท
2
ในบทสุดท้ายของหนังสือเล่มนี้ยังมีประวัติของบุคคลที่มีชื่อเสียงโด่งดัง ที่พวกเขาเหล่านั้นก็ได้ชื่อว่า "เก่งแบบเป็ด"
1
"เพราะชีวิตนี้ สั้นเกินกว่า
จะเก่งแค่ด้านเดียว"
Pat Flynn
1
เพื่อน ๆ ที่อ่านแล้วแนะนำเพิ่มเติมได้นะคะ
ขอบคุณค่ะ
โฆษณา