6 ธ.ค. 2022 เวลา 13:15 • หุ้น & เศรษฐกิจ
โควิด19 ทำให้การใช้ชีวิตต้องเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว ทุกคนต่างตระหนักถึงการเตรียมตัวให้พร้อมรับมือกับอนาคตที่ไม่แน่นอน โดยเฉพาะการเลือกอาชีพและรูปแบบการทำงาน
😢 ส่งผลให้การหาคนทำงานยากขึ้นกว่าเดิม หากองค์กรไม่ปรับเปลี่ยนนโยบายให้สอดคล้องกับสถานการณ์ อาจทำให้การหาคนเกิดความล่าช้า กระทบต่อการทำงานภายในหลายอย่าง หรือยิ่งกว่านั้น อาจหาคนไม่ได้เลย !!
แล้วองค์กรต้องปรับเปลี่ยนอะไรบ้าง ?
👉 เรามาสรุปสถานการณ์ที่เกิดขึ้นและเทรนด์คนทำงานปี 2023 กันก่อนเลยค่ะ
🧐 1 จากสถานการณ์ช่วงต้นปี 2020 คนทำงานกระจัดกระจายกลับไปอยู่บ้านต่างจังหวัดแบบไม่ทันตั้งตัว บางส่วนหางานทำที่บ้านแบบถาวร เพราะกังวลกับสถานการณ์เลิกจ้างที่อาจเกิดขึ้นอย่างกะทันหัน
🧐 2 คนที่ยังทำงานประจำมองว่า การมีรายได้ทางเดียว ทำให้ชีวิตไม่มั่นคง หากทำงานประจำก็ต้องทำงานนอกด้วย
🧐 3 หลายคนหันมาสนใจและเริ่มทำงานรูปแบบ Freelancer (การรับจ้างทำงานเป็น Project ทั้งแบบระยะยาวหรือสั้น), Gig Worker (เป็นแรงงานอิสระที่ทำงานในระยะสั้นๆ ตามความต้องการของตนเอง), ขายของออนไลน์ เนื่องจากต้องการอิสระในการใช้ชีวิตมากกว่าการทำงานแบบไปเช้าเย็นกลับ
🧐 4 เรซูเม่ในเว็บไซต์ประกาศงานมีจำนวนน้อยลงเรื่อย ๆ เนื่องจากคนทำงานหันไปอยู่ในช่องทางหางานอิสระมากขึ้น หรือเลือกทำธุรกิจส่วนตัว
👉 จากเหตุการณ์ทั้ง 4 ข้อนี้ HR Buddy มีสรุป 3 เรื่องหลักที่องค์กรจำเป็นต้องปรับเปลี่ยน เพื่อเพิ่มโอกาสในการหาคนทำงานได้ง่ายขึ้น
📌 1 การทบทวนนโยบายในการจ้างงาน เช่น
1.1ไม่ปิดกั้นเรื่องการรับงานนอกของคนทำงานประจำ แต่อาจมีเงื่อนไขว่าต้องไม่กระทบกับงานหลักที่รับผิดชอบ
1.2 ปรับนโยบายการว่าจ้างตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป เช่น การจ้างในรูปแบบ Freelancer หรือ Gig Worker เพิ่มเข้ามา (สำหรับลักษณะงานที่เหมาะสม)
1.3 ปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานเป็น Work From Home หรือ Hybrid (สำหรับตำแหน่งที่เหมาะสม) เพื่อดึงดูดให้คนสนใจสมัครงานมากขึ้น และรักษาคนเก่าได้นานขึ้นด้วย
1.4 ใช้บริการ Outsourcing บ้างในบางตำแหน่ง ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนด้านแรงงานในระยะยาว
📌 2 เงินเดือนไม่ควรต่ำกว่าตลาดมาก หมั่นสำรวจว่า องค์กรอื่นๆ ที่ประกาศรับสมัครงานตำแหน่งเดียวกับที่เรากำลังจะลงประกาศหรือคล้ายกัน เขาจ้างที่เท่าไร ถ้าองค์กรเราจ้างต่ำกว่า ต้องปรับเพิ่มหรือไม่ หรืออาจต้องเพิ่มสวัสดิการพิเศษมาสร้างจุดเด่นและลบล้างข้อด้อยนี้ค่ะ
📌 3 การเพิ่มสวัสดิการพิเศษด้านสุขภาพ เนื่องจากคนเกิดความตระหนักว่า เรามีโอกาสเจ็บป่วยง่ายกว่าเดิมมาก โดยเฉพาะโรคติดต่อ และไม่สามารถวินิจฉัยได้ง่าย เพราะอาการที่ปรากฏคล้ายคลึงกัน คนทำงานจึงหันมาให้ความสำคัญกับสุขภาพมากขึ้น องค์กรไหนมีบริการด้านสุขภาพที่พิเศษกว่าหรือมากกว่า ก็ดึงดูดให้คนสนใจร่วมงานได้มาก แต่อย่าลืม PR เรื่องนี้ให้ภายนอกรับรู้ด้วยนะคะ
ตัวอย่างโครงการ เช่น ระบบการปรึกษาคุณหมอออนไลน์ (สำหรับพนักงานเท่านั้น), การเพิ่มโปรแกรมการตรวจสุขภาพที่ละเอียดหลากหลายมากขึ้น จาก 1 ครั้งต่อปี อาจปรับให้ถี่ขึ้น หรือการให้สวัสดิการไปถึงครอบครัวของพนักงานด้วยก็ยิ่งดีเลยค่ะ
อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมคนทำงานโดยสรุปคือ ต้องการความยืดหยุ่นในเรื่องเวลาส่วนตัวและสถานที่ทำงานมากขึ้น เรื่องนี้คือกุญแจหลักที่องค์กรต้องนำไปปรับใช้เลยค่ะ หลายองค์กรต่างนำส่วนนี้มาแข่งขันกัน ใครมีน้อยกว่าย่อมเสียเปรียบ แต่ถ้าไม่มีก็จะลำบากในการแข่งขันสำหรับยุคนี้ไปเลยค่ะ
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สอบถามได้เลยนะคะ 😍❤
🙏 ขอบคุณข้อมูล : อาจารย์ พรเทพ พงษ์สง่างาน ที่ปรึกษาอาวุโสด้าน HR และกรรมการ บริษัท เซ็นเมนทอร์ จำกัด ,กรรมการบริหาร APK Management Center
⭐ Website : www.senmentor.com
⭐ Line : wisebrown
📱 Tel : 081-820-9271
📱 สอบถามเพิ่มเติมสำหรับ HR : 02-514-7474 ต่อ 3
👉 อีเมล : crm@jobbkk.com
👉 Line : @jobbkkvip (อย่าลืมใส่ @)
#jobbkk #job #jobseeker #เว็บไซต์หางาน #งาน #จ๊อบบีเคเค #หางาน #สมัครงาน #สมัครงานบริษัท #จ๊อบแฟร์ออนไลน์ #jobfaironline #จัดหางาน #รับสมัครงาน #รับสมัครงานพนักงานทั่วไป #ประกาศรับสมัครงาน #งานด่วนทั่วไทยbyJOBBKK #HR #เทรนด์การทำงานปี2023 #HumanReสอด #HRBuddy
โฆษณา